วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการห้องสมุดเชิงรุก

สวัสดีสมาชิกชาวบล๊อกหอสมุดกลางทุกท่าน
มีเรื่องดีๆ ที่จะนำเสนอชาวหอสมุดเช่นเคยคะ เนื้อหาน่าสนใจเกี่ยวกับวงการห้องสมุดกับการบริการเชิงรุก ลองอ่านกันดูคะ^^
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ และเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ จะเห็นได้ว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่ใช้ผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเข้ามามีบทบาทในวงการห้องสมุดอย่างแพร่หลาย
การบริการเชิงรุก (Proactive Service)
การบริการเชิงรุกเป็นการวางแผนการในการให้บริการผู้ใช้ห้องสมุดล่วงหน้า อย่างละเอียดและรอบคอบ มีความรับผิดชอบ  รวม ถึงเป็นการแสดงออกถึงความต้องการและปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้ใช้โดยไม่รีรอ ให้ผู้ใช้ร้องขอ โดยผู้ให้บริการต้องคำนึงถึงความต้องการเฉพาะของผู้ใช้และให้ผู้ใช้ได้รับ ความพึงพอใจสูงสุด   โดยยึดแนวปฏิบัติ 4 ประการในการสร้างบริการเชิงรุก ดังนี้
1. การวางแผน คือ การหาคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า จะทำอะไร ทำไมต้องทำ จะทำอย่างไร จะทำเมื่อใด จะทำที่ไหน จะให้ใครทำ จะต้องใช้ทรัพยากรอะไร
2. การเน้นผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง
3. จิตสำนึกในการบริการ หรือ การบริการด้วยหัวใจ
4. ทักษะ ความรวดเร็ว ความชัดเจน และความทันสมัยในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
จากแนวปฏิบัติการทำงานบริการเชิงรุกทั้ง 4 ด้าน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานทางด้านการบริการห้องสมุดมีความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดเป็นทักษะ  และ ลดปัญหาขณะปฏิบัติงานได้ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างกำลังใจในการปฏิบัติงาน ไม่หลีกหนีปัญหา สามารถรับมือกับปัญหาทางด้านงานบริการได้ และนำมาซึ่งความพึงพอใจของผู้ใช้บริการตลอดไป
แนวโน้มของห้องสมุดอุดมศึกษา
1. ทรัพยากรสารสนเทศ
- ห้องสมุดต้องสร้างคลังเก็บ จาก “Just in Case”  (เก็บไว้เผื่อจะมีการใช้)  ไปยัง “Just in Time” (เก็บเฉพาะที่ใช้ในปัจจุบัน) หมายถึงนำออกบริการ 1 copy ที่เหลือเก็บไว้ที่คลังเก็บที่ใดที่หนึ่ง
- มีศูนย์กลางเก็บหนังสือที่มีการใช้น้อย หรือไม่มีการใช้ (RepositoryLibrary)
- มีระบบการใช้ข้อมูลร่วมกัน (Sharing Resource System) ให้ได้มากที่สุด หรือทุกประเภท ลักษณะเป็นบริการยืม-คืนร่วมกัน
- รวบรวมผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย รวมผลงานที่มีคุณค่าของอาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย และเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย และแปลงเป็นรูปดิจิทัลฉบับเต็มเพื่อการเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว อาทิ แปรสภาพหนังสือ สิ่งพิมพ์ของสถาบันเป็น e-Book
2.งบประมาณ
- แนวโน้มลดลงตลอด
ขอยกตัวอย่าง จากรายงานของ Chronicle of Higher Education (ของสหรัฐอเมริกา) งบประมาณสำหรับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ในปี 2009 ลดลง 18.7 %
- หาทุน (Fund Raising)
บรรณารักษ์ ประสานคณะ หรือหน่วยงาน ภายในหรือภายนอก เพื่อหาทุนมาสนับสนุนกิจกรรม/ อาทิการออกร้านจำหน่ายหนังสือในงานสัปดาห์ห้องสมุด เข้าร่วมประกวดกิจกรรมของสถาบันเพื่อนำรางวัลที่ได้มาสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น กิจกรรม 5 ส การจัดทำการจัดการ   ความรู้(KM) การบริหารความเสี่ยง และการเข้าร่วมข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายนอก ฯลฯโครงการพิเศษในสหรัฐอเมริกา  บรรณารักษ์ในห้องสมุดอุดมศึกษาบางแห่งมีหน้าที่จัดกิจกรรมหาทุนเสริมเพื่อการดำเนินงานห้องสมุด
3. เทคโนโลยี
- เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมากมีผลกระทบต่อการบริการของห้องสมุด
โดยเฉพาะเครื่องใช้ใหม่ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ (Smart Phones), e-Book Readers, IPods อุปกรณ์เหล่านี้เป็นตัวเร่งให้นักศึกษามีความต้องการใช้บริการอุปกรณ์ทันสมัยจากห้องสมุด  จากการสำรวจของ ECAR สำรวจนักศึกษาปริญญาตรี 51.2 %  ของนักศึกษามีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสื่อสารที่ใช้อินเทอร์เน็ตได้ครอบครอง และระบุความต้องการใช้บริการ e-mail ของสถาบัน ติดต่อกับบริการของฝ่ายบริหาร   การ ใช้บริการห้องสมุดโดยผ่านโทรศัพท์มือถือของตน ห้องสมุดจึงมีความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนวิธีการให้บริการที่ทันสมัยเพื่อ ให้ผู้ใช้บริการได้เข้าถึง        โดยเพิ่มกระบวนการให้บริการออนไลน์ อาทิ การใช้ Social Network : Facebook องค์กร ต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุน บรรณารักษ์ต้องมีบทบาทในการนำเสนอการใช้งบประมาณต่อผู้บริหารและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องถึงการใช้งบประมาณออนไลน์ไม่ใช่การใช้งบประมาณโดยไร้ประโยชน์
- บุคลากรห้องสมุดต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันเทคโนโลยี
- โปรแกรมปริญญาบรรณารักษศาสตร์ (Graduate LIS Program) ต้องมีการเปลี่ยน แปลงหลักสูตร มีวิชาใหม่ๆ  และเกี่ยวข้องกับวิชาชีพและเทคโนโลยี เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาคือผู้เรียนจบหลักสูตรแล้วไปทำงานในสาขาที่เกี่ยว ข้องไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากไม่ได้เรียนวิชาชีพทางเทคโนโลยีไม่สามารถ เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้
4.  โครงการ Digitization
ทำให้หนังสือที่ถูกซ่อนอยู่ หรือไม่มีผู้ใช้ (ในสถาบันนั้นๆ)  จะถูกนำมาอยู่บนระบบเครือข่ายที่นักวิจัย นักวิชาการ มีโอกาสใช้กันทั่วไป หรือทั่วโลก  แนวโน้มมีโครงการ digitization ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมากขึ้น  เปิดโอกาสเข้าถึงข้อมูลมีค่ามากขึ้นและทั่วไป
ห้องสมุดส่วนใหญ่จัดแนะนำบางส่วนเท่านั้น อาทิ แนะนำหนังสือใหม่ และ10อันดับยอดนิยม เป็นต้น ห้องสมุดควรประชาสัมพันธ์หน้า Website ให้มีหน้าสารบัญสารสนเทศต่างๆทั้งของใหม่และที่อยู่ในระยะเวลา 5 ปี
5.  ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
- ความร่วมมือกับหลักสูตรการเรียนการสอน
- ความร่วมมือกับหน่วยบริการนักศึกษา
- ความร่วมมือกับบรรณารักษ์สถาบันอื่นๆ  เพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
เพื่อการจัดการ e-resources เพื่อการจัดหาทรัพยากรร่วมกัน  เพื่อการจัดทำ Digitization ร่วมกัน  เพื่อการสร้างศูนย์กลางที่เก็บทรัพยากรที่ใช้น้อยหรือไม่ใช้  เป็นต้น
6. บทบาทของห้องสมุดกับกฎหมายลิขสิทธิ์
- ความพยายามของห้องสมุดที่จะให้ความรู้แก่อาจารย์และนักศึกษาให้รักษาสิทธิของงานเขียนหรืองานสร้างสรรค์อื่นๆ  และขณะเดียวกันก็เคารพสิทธิของงานเขียนและงานสร้างสรรค์ของผู้อื่น
- การคัดเลือกงานเขียนและงานสร้างสรรค์เพื่อเข้าโครงการดิจิทัล บรรณารักษ์ต้องเข้าใจกฎหมายลิขสิทธิ์ เพื่อการสื่อสาร และเจรจากับผู้เป็นเจ้าของ  จึงต้องมีบรรณารักษ์ชำนาญการด้านการสื่อสาร หรือพนักงานลิขสิทธิ์ (Copyright Officer) การให้บริการต่างๆที่เสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธ์ อาทิ บริการถ่ายเอกสารเป็นการส่งเสริมให้ทำซ้ำควรหาแนวทางป้องกัน ในกรณีที่มีบริษัทภายนอกมาดำเนินการโดยระบุในสัญญาให้ชัดเจนว่าหากเกิดข้อ พิพาทบริษัทต้องรับผิดชอบ หรือมีแบบฟอร์มสำหรับผู้ใช้โดยมีข้อความระบุข้อกำหนดให้ผู้ใช้เป็นผู้รับผิด ชอบและการจัดทำแนะนำหน้าสารบัญหนังสือหน้า Website ของหน่วยงานควรมีขนาดเล็กและติดสันพร้อมบาร์โค้ดแสดงความเป็นเจ้าของอย่างถูกต้องแล้ว การทำสำเนาสื่อโสตทัศน์
กรณีมาพร้อมหนังสือทำสำเนาได้ 1 Copy ส่วนด้านบันเทิงทำสำเนาไม่ได้ การทำสำเนาทำได้เฉพาะเพื่อไม่ให้ต้นฉบับศูนย์หายเท่านั้น
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธ์กรณีทั่วไป
การกระทำต่องานลิขสิทธ์จะไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
-ไม่ขัดต่อการแสวงประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์
-ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิ์อันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
1. การศึกษาวิจัย
2. ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยรับรู้การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
3. เสนอรายงานข่าวทางสื่อมวลชนโดยรับรู้การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
7. ห้องสมุดจะกลายเป็น “Hub” สำหรับการบริการพิเศษ
ห้องสมุดอุดมศึกษาหลายแห่งจัดให้มีบริการพิเศษเฉพาะด้านขึ้นในห้องสมุด และแนวโน้มมีเพิ่มมากขึ้น  ห้องสมุดจึงกลายเป็น “Hub” ของบริการเหล่านี้
- ศูนย์การติว (Tutoring Centers)
- ศูนย์การฝึกการเขียน (Writing Centers)
- ห้องศึกษาเป็นกลุ่ม (Group Study Room)
- ห้องการศึกษาทางไกล (Distance Learning Room with access to Video Conferencing Software)
- ห้องบริการกาแฟและอาหารว่าง (Café and Light Dining Venue)
- ห้องพักผ่อนอาจารย์และนักศึกษา (Student and Faculty Lounges)
- แกลเลอรี่แสดงผลงานศิลปะ (Art Galleries)
8. Commons จะกลายเป็น “หัวใจและวิญญาณ” ของห้องสมุดอุดมศึกษา
- Information Commons, Intellectual Commons, an Electronic Commons หรือ an e-Commons
- Commons model เป็นการผสมผสานของการบริการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการบริการข้อมูลห้องสมุดแบบเก่า รวมทั้งเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยแบบเก่า
- Commons ให้บริการเหมือน “Hub” ที่นักศึกษามาพบกัน  รวมกัน  แลกเปลี่ยนความคิดกันร่วมมือกัน  และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จัดไว้ให้บริการ
- ปัจจุบัน Commons ได้ละลาย กฎ ระเบียบต่างๆ ของห้องสมุด  ใน Common area  ใครจะพูดก็พูด  ไม่มีใครห้าม  อาหารและเครื่องดื่มนำไปรับประทานและดื่มได้  สนับสนุนให้ร่วมมือจัดทำกิจกรรมต่างๆ บางห้องสมุดในพื้นที่นี้จะมีตู้เครื่องดื่มและขนมไว้บริการ
9. การออกแบบห้องสมุดอุดมศึกษา
จะมีความเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนการออกแบบห้องสมุดสมัยก่อน เพราะต้องคำนึงถึงพื้นที่สำหรับดิจิทัล พื้นที่สำหรับการบริการพิเศษเฉพาะอย่าง เช่น ศูนย์การติว  ศูนย์ฝึกหัดการเขียน  ห้องเรียนทางไกล  ห้องประชุม  Common Area เป็นต้น
10. คำจำกัดความของห้องสมุดจะเปลี่ยนไป
- สถานที่ต้องจัดเตรียมสำหรับการบริการด้านดิจิทัลมากขึ้น
-  มีการให้บริการถึงแหล่งข้อมูลทางออนไลน์มากขึ้น
- จำนวนหนังสือในห้องสมุดน้อยลง ลดจำนวนวารสาร เพราะฐานข้อมูลวารสารออนไลน์แทนที่
-  หนังสือที่มีการใช้น้อยถูกนำไปเก็บไว้ที่ storage หรือจำหน่ายออก
-  พื้นที่สำหรับนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น
- แต่ความคิดสำหรับ “Library as Place” ก็ยังคงมีความสำคัญสำหรับนักศึกษา  นักวิจัย  คณาจารย์  และผู้ใช้บริการทั่วไปอยู่
นิยามใหม่ของห้องสมุดในยุคปัจจุบัน
เปลี่ยนชื่อ อาทิ   หอสมุดและคลังความรู้   สำนักบรรณสาร   สำนักวิทยบริการ    ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์สนเทศ   สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ   สำนักวิทยทรัพยากร   ห้องสมุด, หอสมุด
ห้องสมุดมีการปรับเปลี่ยนบทบาทภาระหน้าที่
ห้องสมุด, หอสมุด  คลังความรู้ -จัดการความรู้, บริหารจัดการส่วนจดหมายเหตุ, คลังเอกสารสถาบัน
1. ผลิตสื่อเรียนรู้ Online/Offline
2. บริหารจัดการด้านไอซีที
3. บริการ/สนับสนุน/พัฒนางานวิจัยหมายถึง ห้องสมุดสนับสนุนการทำวิจัย ห้องสมุดทำวิจัยและห้องสมุดเป็นฐานการทำวิจัย
4. การ ให้บริการปรับเปลี่ยนเป็นเชิงรุกให้ผู้ใช้เข้าถึงไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนได้ทุก แห่งหน โดยหากลวิธีการให้ใช้ประโยชน์จากสารสนเทศให้มากที่สุด อาทิ ฐานข้อมูลออนไลน์ กับ e-Book ต้องประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง ทำแผ่นพับวิธีการใช้แจกหน้าห้องสมุด แนะนำทาง Website ของห้องสมุด อบรมวิธีการใช้ทั่งทางออนไลน์และห้องปฏิบัติการ และจัดโครงการรณรงค์ส่งเสริมการอ่านมีกิจกรรมการใช้ฐานข้อมูลและe-Book ร่วมด้วย
5. ภาระ งานแต่ละบุคคลในห้องสมุดเพิ่มขึ้นต้องทันสมัยและเรียนรู้เทคโนโลยี โดยมีหน่วยบริการที่เกิดจากสายงานที่เกี่ยวข้องกับนิยามใหม่ขึ้น อาทิ สายงาน KM สายงาน e-Learning และสายงานลิขสิทธิ์
6. ตำแหน่ง งาน โครงสร้างองค์กร ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ แนวทางการพัฒนาบุคลากรปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการ ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกระดับในองค์กรและความร่วมมือร่วมใจกันทุก ฝ่ายและแต่ละบุคคลสามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการห้องสมุดเชิงรุก. 2553. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2554,
เข้าถึงได้จาก : http://janchaiv.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น