วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทความที่ทำให้บรรณารักษ์ ดูมีค่า



           คำถามและข้อสงสัยในเชิงว่าเรียนบรรณารักษ์นี้จบไปแล้วจะไปทำอะไรนั้นเป็นคำถามสุดยอดคลาสสิคมาแต่ไหนแต่ไร ซึ่งหากจะตอบให้คลาสสิคก็ต้องตอบว่า 
         
        “เรียนบรรณฯ ก็ต้องเป็นบรรณารักษ์สิ ถามได้!!”
เหมือนเรียนหมอ ก็ต้องเป็นหมอ วิศวะก็ต้องเป็นวิศวะ พยาบาลก็ต้องเป็นพยาบาล แต่นั่นเป็นการตอบพอให้หายรำคาญผ่านๆไปเท่านั้น แท้ที่จริงแล้ว เรียนบรรณารักษ์ สามารถทำงานได้หลากหลาย กว้างขวางมากมาย เลยทีเดียว
          ในยุคปัจจุบัน ถือกันว่าเป็นยุคแห่งสังคมสารสนเทศ ที่ข้อมูล ข่าวสารมีมากมายหลากหลาย ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งในรูปที่จับต้องได้เช่น หนังสือ วีดีโอ เทปเสียง ภาพถ่าย แผนที่ และที่เป็นดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ท ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เกิดขึ้นทุกวัน วันละมากๆเสียด้วย บางครั้งก็มีคุณภาพ บางทีก็ด้อยคุณภาพ บางครั้งมีระเบียบแบบแผน บางทีก็กระจัดกระจายไม่เป็นระบบ ทั้งๆที่ข้อมูลเหล่านี้มีคุณค่าต่อการตัดสินใจ ในชีวิตประจำวัน ในการดำเนินธุรกิจ

         จุดเด่นของสาขาบรรณารักษ์ฯ ก็คือการสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานลักษณะต่างๆได้อย่างหลากหลายนั่นเองอีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดงานมาก โดยเฉพาะตำแหน่งบรรณารักษ์ฯ เนื่องจากคนสนใจน้อยแต่ความต้องการ และการพัฒนาห้องสมุดมีมากนั่นเอง 

บรรณารักษ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก


ราไปลองดูกันว่า 25 รายชื่อเหล่านี้มีใครบ้าง

1. Ben Franklin หรือ Benjamin Franklin
2. Melvil Dewey (ผู้คิดค้นการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบดิวอี้)
3. Eratosthenes (ผู้ที่คิดค้นละติจูด และลองติจูด)
4. Saint Lawrence
5. Mao Zedong (เหมา เจ๋อตุง – ผู้นำระบบคอมมิวนิสต์ของจีน)
6. Seyd Mohammad Khatami (ประธานาธิบดีคนที่ 5 ของอิหร่าน)
7. Golda Meir (นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของอิสราเอล)
8. J. Edgar Hoover (ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของ FBI)
9. John J. Beckley
10. Giacomo Casanova (เจ้าของตำนานคาสโนว่าแห่งเวนิช)
11. Pope Pius XI, or Achille Ratti
12. David Hume
13. Marcel Duchamp
14. Lewis Carroll (ผู้แต่งนิยายเรื่องหนูน้อยอลิสกับเมืองเวทมนต์)
15. Beverly Cleary
16. Laura Bush (ภรรยาของ George W. Bush)
17. Madeleine L?Engle:
18. Marcel Proust
19. Jorge Luis Borges
20. Joanna Cole (ผู้เขียนเรื่องรถโรงเรียนเวทมนต์)
21. Jacob Grimm (ผู้ที่เขียนตำนานแห่ง grimm, Hansel and Gretel, ซินเดอเรล่า, สโนว์ไวท์)
22. Philip Larkin
23. Stanley Kunitz
24. Jessamyn West (ผู้เขียน librarian.net)
25. Nancy Pearl
บุคคลสำคัญระดับโลกทั้ง 25 คนที่กล่าวมามีการจำแนกถึงประเภทความสำคัญ ดังนี้
คนที่ 1-4 ด้านประวัติศาสตร์ห้องสมุด
คนที่ 5-11 ด้านการเมืองและรัฐศาสตร์
คนที่ 12-13 ด้านศิลปินและนักปรัชญา
คนที่ 14-23 ด้านการศึกษา และนักประพันธ์
คนที่ 24-25 ด้านบรรณารักษ์ในอนาคต
ที่มา  http://www.libraryhub.in.th/2009/05/21/25-librarian-to-change-the-world/

เตรียมตัวเป็นบรรณารักษ์ยุค 2.0 กัน


ผมขอเรียกชุดหลักสูตรนี้ว่า “How to be librarian 2.0″
ตอนนี้ผมได้รวบรวมหลักสูตรต่างๆ ได้ประมาณ 19 เรื่องแล้วครับ ซึ่งทั้ง 19 เรื่องมีดังนี้

Libraryhub Topic1 : มาทำบล็อกให้ห้องสมุดกันเถอะ
Libraryhub Topic2 : ประชาสัมพันธ์ห้องสมุดด้วยการทำ Internet tv
Libraryhub Topic3 : การสร้างแบรนด์ให้ห้องสมุดเป็นที่รู้จัก
Libraryhub Topic4 : ห้องสมุดกับการหา funding
Libraryhub Topic5 : จาก Librarian สู่ Knowledge professional และ Information scienctist
Libraryhub Topic6 : ผู้ใช้ต้องการอะไรจากเว็บไซต์ของห้องสมุด
Libraryhub Topic7 : ประหยัดงบประมาณของห้องสมุดด้วย โปรแกรมโอเพ่นซอร์ส (OSS)
Libraryhub Topic8 : อย่าบ้าทำห้องสมุดที่ตามกระแส
Libraryhub Topic9 : ห้องสมุดกับการใช้ประโยชน์สถิติและตัวเลข
Libraryhub Topic10 : ห้องสมุดมีชีวิต กับ ห้องสมุดสร้างความสุข
Libraryhub Topic11 : ทฤษฎี Long tail กับการประยุกต์ใช้งานในห้องสมุด
Libraryhub Topic12 : สิ่งที่จะบอกว่าห้องสมุด ดีกว่า Google
Libraryhub Topic13 : มองห้องสมุดในต่างประเทศ แล้วหันกลับมามองห้องสมุดไทย
Libraryhub Topic14 : จะลบภาพลักษณ์บรรณารักษ์เดิมได้ยังไง ถ้า?
Libraryhub Topic15 : ในวิกีพีเดียไทยไม่มีใครเขียนถึงคำว่า ?บรรณารักษ์? งั้นทำไงดี
Libraryhub Topic16 : SEO กับเว็บไซต์ห้องสมุดสัมพันธ์กันอย่างไร
Libraryhub Topic17 : การเมืองภายในห้องสมุดกับการพัฒนาห้องสมุด
Libraryhub Topic18 : ลดการใช้คำว่า ?ห้าม? ?ไม่? ในห้องสมุดกันเถอะ
Libraryhub Topic19 : Creative Common กับ Content บนเว็บไซต์ห้องสมุด
19 หัวข้อที่กล่าวมาเป็นยังไงกันบ้างครับ
เห็นหรือยังว่า ห้องสมุดไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่ออีกต่อไปครับ

ที่มา  http://www.libraryhub.in.th/2009/05/20/how-to-be-librarian-20/

เปรียบเทียบข้อดีของหนังสือฉบับกระดาษกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


5 ประเด็นที่บอกว่าหนังสือดีกว่า ebooks
1. Feel หรือ ความรู้สึก – เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดกันมากอยู่แล้วว่าหนังสือแบบกระดาษยังคงให้ความรู้สึกที่ดีต่อการอ่านมากกว่า การได้จับกระดาษ พลิกกระดาษไปทีละหน้าเป็นเรื่องที่ ebooks ยังหาความรู้สึกมาแทนไม่ได้
2. Packaging หรือ รูปลักษณะของตัวเล่มหนังสือ – นอกจากในเรื่องของตัวเล่มแล้วยังรวมถึงสิ่งที่มากับหนังสือ เช่น ภาพประกอบหนังสือด้วย การที่รูปบางรูปไปอยู่ใน ebooks มันทำให้ไม่สะดวกต่อการดูเพราะหน้าจอของ ebooks มันเล็กกว่าหนังสือบางเล่ม แม้ว่า ebooks จะมีฟังค์ชั่นในการขยายรูปภาพ แต่ก็ไม่ชัดเจนเท่ากับการดูภาพฉบับจริง นอกจากนี้ปกหนังสือก็เป็นจุดดึงดูดให้คนสนใจหนังสือมากกว่าด้วย หากปกหนังสือในอีบุ๊คหลายๆ รุ่นยังไม่มีภาพที่เป็นสีเลย ทำให้จุดนี้หนังสือแบบเดิมก็ยังคงดีกว่า ebooks
3. Sharing หรือการแบ่งปัน – ในแง่นี้หมายถึงการให้เพื่อนยืมไปอ่าน การนำหนังสือไปบริจาคต่อให้คนอื่น ถ้าเป็น ebooks มันจะมีการติดสิทธิ์จำพวก DRM ซึ่งทำให้เกิดความไม่สะดวกหรือบางเล่มไม่สามารถนำไปให้คนอื่นอ่านต่อได้ ลิขสิทธิ์ของ ebooks จะมีแค่เจ้าของเพียงคนเดียว แต่หนังสือหากเราอ่านจบแล้วยังส่งต่อให้ใครก็ได้ยืมอ่านต่อ
4. Keeping หรือ การเก็บ – จากเรื่องของ DRM ในข้อเมื่อกี้แล้วสิ่งที่น่าคิดอีก คือ ในอนาคต ebooks อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปมากกว่านี้ สมมุติว่าเราซื้อ ebooks ในปีนี้ เวลาผ่านไปอีก 10 ปีเราอยากจะอ่านเล่มนี้อีก เราอาจจะต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ เปลี่ยนโปรแกรมอ่านใหม่ ซึ่งมันก็ไม่เหมาะเลย (ยกตัวอย่างไฟล์โปรแกรมที่เราเคยเล่นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ลองเอาโปรแกรมนั้นมาลองเล่นดูสิครับ) แต่มุมมองกลับกันถ้าเป็นหนังสือ อีกสิบปีเราอยากอ่านก็หยิบหนังสือเล่มเดิมออกมาไม่ต้องเปลี่ยนปกใหม่เรก็อ่านได้ครับ 5555
5. Second hand book หรือ หนังสือมือสอง -? เรื่องนี้ก็ไม่พ้น DRM เช่นกัน หากเราอ่านหนังสือเล่มเดิมๆ จนเบื่อแล้ว ถ้าเป็นหนังสือเราก็เอาไปขายต่อเป็นหนังสือมือสองได้ แต่ ebooks ไม่สามารถขายได้เนื่องจากมันจะผูกกับสิทธิ์เจ้าของเพียงคนเดียว
เป็นไงบ้างครับ แบบนี้ยืนยันได้แล้วหรือยังว่าหนังสือย่อมดีกว่า ebooks
แต่อย่าเพิ่งตัดสินใจจนกว่าเพื่อนๆ จะอ่านบทความที่สองนี้นะครับ

5 ประเด็นที่บอกว่า ebooks ดีกว่าหนังสือ
1. Social Highlighting หรือ ช่วยกันเน้นข้อความที่น่าสนใจ – ฟังค์ชั่นนี้เป็นจุดเด่นของการอ่านหนังสือบน ebooks ความสามารถในการแบ่งปันหรือการอ่านหนังสือร่วมกัน (แต่ละคนต้องซื้อหนังสือหรือดาวน์โหลดเล่มเดียวกันมาเท่านั้นนะ) เมื่อเจอข้อความเด็ดๆ หรือน่าอ่านเราก็จะเน้นข้อความนั้นเพื่อให้เพื่อนๆ ที่อ่านเล่มเดียวกันได้เห็นทำให้การอ่านสนุกมากยิ่งขึ้น ลองมองภาพนะว่าหากเราไปยืมหนังสือห้องสมุดมาอ่านแล้วเราทำ highlight ลงไป คงโดนด่าแน่นอน
2. Notes หรือ จดบันทึก – ฟังค์ชั่นนี้จะคล้ายๆ กับเมื่อกี้ แต่เน้นการเติมข้อมูลลงไปด้วย บางคนอ่านแล้วก็สรุปใจความสำคัญลงไปใน ebooks เผื่อในอนาคตกลับมาอ่านใหม่จะได้จำได้ นอกจากนี้ยังใช้บันทึกเพื่อเตือนความจำในหนังสือได้
3. Look up of word หรือ ค้นหาคำในหนังสือ – หากหยิบหนังสือแบบเดิมมาอ่านการที่เราจะต้องหาคำที่เราอยากอ่านในหนังสือทำได้โดยการที่เราจะต้องอ่านมันทั้งเล่มแล้วก็จดมันออกมา แต่ใน ebooks มีฟังค์ชั่นในการค้นหาคำซึ่งมันสะดวกมากกว่าการที่เราจะต้องอ่านมันทั้งเล่ม
4. Social network หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ - เมื่อเราเจอประโยคเด็ดๆ ในหนังสือบางทีเราก็อยากจะแชร์สิ่งนั้นไปให้เพื่อนๆ ได้อ่านเหมือนกัน ตอนนี้ ebooks device หลายรุ่นก็ทำฟีเจอร์เพื่อให้เครื่อง ebooks ต่ออินเทอร์เน็ตแล้วส่งข้อความผ่าน twitter หรือ facebook ได้แล้ว เช่น? Kindle 2.5
5. Search หรือ การค้นหา – ฟีเจอร์เพิ่มเติมที่น่าสนใจของการอ่าน ebooks คือเราสามารถนำข้อความใน ebooks ไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน search engine ได้ด้วย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่มากกว่าการอ่านหนังสือได้ด้วย

ที่มา  http://www.libraryhub.in.th/2011/01/29/compare-paper-book-and-ebooks/

บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์



บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

1. Public service librarians

บรรณารักษ์ที่ให้บริการทั่วไปในห้องสมุด เช่น บรรณารักษ์บริเวณจุดยืม คืน
บรรณารักษ์ที่คอยจัดเก็บหนังสือ สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ให้บริการโดยทั่วๆ ไปของห้องสมุด


2. Reference or research librarians

บรรณารักษ์ที่ช่วยการค้นคว้าและอ้างอิง บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะคอยนั่งในจุดบริการสอบถามข้อมูลต่างๆ
รวมถึงช่วยในการสืบค้นข้อมูล และรวบรวมบรรณานุกรม
ให้กับผู้ที่ต้องการทำงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ หรือศึกษาข้อมูลที่ตนเองสนใจ
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ให้คำปรึกษาในเรื่องการสืบค้น และสอบถามข้อมูล


3. Technical service librarians

บรรณารักษ์ที่ให้บริการด้านเทคนิค จริงๆ แล้วผมอยากจะเรียกว่า ?บรรณารักษ์เบื้องหลัง?
เนื่องจากบรรณารักษ์กลุ่มนี้จะทำงานด้านเทคนิดอย่างเดียว
เช่น การจัดหมวดหมู่หนังสือ (Catalog) หรือให้หัวเรื่องหนังสือเล่มต่างๆ
นอกจากนี้ยังรวมถึงการซ่อมแซมหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศที่ชำรุดด้วย
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ด้านงานเทคนิค


4. Collections development librarians

บรรณารักษ์ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หรือเราเรียกง่ายๆ ว่าบรรณารักษ์ฝ่ายจัดหา
มีหน้าที่คัดสรรทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ที่น่าสนใจและตรงกับนโยบายของห้องสมุดเข้าห้องสมุด
บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะรู้จักหนังสือใหม่ๆ มากมาย รวมไปถึงการขอรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศจากที่อื่นด้วย
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่นำหนังสือเข้าห้องสมุด


5. Archivists

นักจดหมายเหตุ เป็นบรรณารักษ์เฉพาะทางมีความรู้ และเข้าใจในเหตุการณ์และเอกสารฉบับเก่าแก่
และเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่หายากของท้องถิ่นนั้นๆ หรือชุมชนนั้นๆ เป็นหลัก
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่คุมเรื่องเอกสารหายากและเก่าแก่


6. Systems Librarians

บรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบ บรรณารักษ์กลุ่มนี้มีหน้าที่ดูแลระบบห้องสมุด
ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลห้องสมุด ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ หรือระบบควบคุมสมาชิก
บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะดูแลเรื่องเครื่องมือไฮเทคของห้องสมุด สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ไอที
7. Electronic Resources Librarians
บรรณารักษ์ที่ควบคุมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะคล้ายๆ กับบรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบ
แต่จะยุ่งกับเรื่องสารสนเทศอย่างเดียว ไม่ยุ่งกับโปรแกรม
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ดูแลข้อมูลในเว็บ หรือในฐานข้อมูล


8. School Librarians, Teacher

บรรณารักษ์ด้านการศึกษา อันนี้แบ่งได้เยอะแยะ
เช่น อาจารย์ด้านบรรณารักษ์ นักวิจัยบรรณารักษ์ ฯลฯ
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่อยู่สายวิชาการ


ที่มา  http://www.libraryhub.in.th/2009/05/24/librarian-roles-and-duties/

บทความเรื่องเทคโนโลยีกับการพัฒนา

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนา
      ในยุคโลกาภิวัฒน์ ข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดนที่ทำให้เกิดการพัฒนา หลากหลายทั้งด้านวิชาการ เทคโนโลยี สื่อสารสนเทศ พร้อมกับการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งไทย มีข้อผูกพันกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น WTO, ASEAN, AFTA, EU, APEC หรือ กลุ่ม เศรษฐกิจ อื่น ๆ เช่น สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ รวมทั้งความรับผิดชอบด้านศรษฐกิจ การค้า การตลาด การคุ้มครองผู้บริโภค การแทรกแซงตลาด ราคาสินค้า จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ จะต้องปรับตัว ปรับทัศนคติ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล วางแผนล่วงหน้า อย่างเป็นระบบพร้อมรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยเลือกใช้สื่อสารสนเทศ IT Internet
      ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจ การเรียนรู้ ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ยังดำเนินต่อไป อย่างไม่หยุดยั้งนี้เอง จึงเป็นความจำเป็นที่เราจะต้องหันมาให้ความสนใจ สร้างความเข้าใจ และหาทางใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ ให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ และสังคมของเราให้มากที่สุด เพื่อที่เราจะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ในเชิงเศรษฐกิจและในขณะเดียวกันก็สามารถดำรงไว้ และยังสามารถให้ชุมชนโลกได้รู้ถึง ซึ่งความมีเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมประเพณีของสังคมไทยที่มีมาช้านานได้
  เทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นเทคโนโลยีเดียวที่มีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ  ดังนั้นจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  เศรษฐกิจ และการเมืองได้อย่างมาก  ปัจจุบันสามารถชมข่าว  ชมรายการทีวี  ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วโลก  เราสามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันทีเราใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกัน และติดต่อกับคนได้ทั่วโลก  จึงเป็นที่แน่ชัดว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มโลกจึงขึ้นกับเทคโนโลยีสารสนเทศ


            ที่มา   http://www.gotoknow.org/posts/43231

การสแกนหนังสือโบราณที่ประเทศพม่า

เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๓ ทางศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. (STKS) ได้มีการจัดการประชุมประจำปี ในบรรยากาศที่ตั้งว่า New Trends in Library and Information Management โดยผมได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอหัวข้อ "Library Management Innovation in 2010" กับทีมงานของ สวทช. จึงอยากจะนำมาเล่าสู่กันฟัง
แนวโน้มของห้องสมุดที่กำลังเปลี่ยนแปลงแน่นอน หากยังมองไม่ไกลมากนักน่าจะมีความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนสี่ด้านในช่วง ๕ ปีข้างหน้า สิ่งต่างๆ เหล่านี้ น่าจะเป็นที่ใฝ่หาของผู้ใช้ห้องสมุด และในเวลาเดียวกัน ก็น่าจะเป็นเหตุผลหลักด้วยว่า ทำไมจึงยังต้องมีห้องสมุดอยู่ในสถาบันต่างๆ เพื่อบริการในสิ่งที่เหนือกว่าการเข้าร้านหนังสือ หรือการทำงานกันอยู่ที่หน้าจออินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว แนวทางที่นำเสนอ ตั้งใจจะสื่อกับบรรณารักษ์ทั้งหลายในประเทศไทยว่า งานของห้องสมุดมีความสำคัญ หากเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ดี ก็จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ใช้ และน่าจะได้งบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานต่อไป
แนวโน้มสี่ด้านที่ผมนำเสนอ คือ
  1. เรื่องการจัดพื้นที่ การทำหน้าตาของห้องสมุดให้เป็นที่น่าสนใจ
  2. บริการออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับห้องสมุด
  3. บริการด้านเอกสารและบริการถ่ายเอกสาร โดยการส่งทางอีเมล
  4. บริการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Digital Archive
ท่านสามารถอ่านรายละเอียดได้จาก NSTDA Blog ที่บันทึกการบรรยายโดยคุณ cha-baa
หากผมมีเวลาเขียนลงใน Thaiview Blog แห่งนี้ ก็จะพยายามนำภาพต่างๆที่พบเห็นมาแสดงว่าแต่ละเรื่อง เปลี่ยนแปลงไปทางไหน ในวันนี้ ขอพูดถึงประเด็นเดียวก่อน คือ สองประเด็นแรก ว่าด้วยการจัดพื้นที่ การทำหน้าตาของห้องสมุดให้เป็นที่น่าสนใจ กับการบริการออนไลน์
สิ่งที่เราจะพบบ่อยๆ คือ คือ ห้องสมุดหลายแห่ง จะทยอยกันยกเลิกพื้นที่วางหิ้งหนังสือในห้องสมุด เปลี่ยนเป็นที่วางคอมพิวเตอร์แก่ผู้ใช้ ด้วยเหตุผลที่ว่า หนังสือยอดนิยม และหนังสือเก่าแก่โบราณมากๆ หากมาทำเป็น eBook ก็จะสามารถใช้งานได้ดีเท่ากัน ประหยัดกระดาษ และไม่ต้องเดินไปหาให้เสียเวลา และที่สำคัญคือ เครื่องคอมพิวเตอร์มันทำงานได้หลายอย่าง (ต่อเน็ตค้นหาข้อมูล อ่านข่าวจากสื่อสาธารณะ เขียนบทความ เขียนหนังสือ ตัดต่อรูปภาพ ดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ) และในช่วงเวลาสองปีที่ผ่านมา เราเริ่มเป็นเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออกวางตลาด เริ่มด้วย Kindle ของ Amazon.com ตามด้วยของ Sony และรายอื่นๆ ล่าสุดคือ Apple iPad ซึ่งเปิดตัวเมื่อมกราคม ๒๕๕๓ และจะวางตลาดในต้นเดือนเมษายนนี้
หนังสือเล่ม จะอยู่คู่กับเราไปอีกเป็นร้อยปี แต่อาจจะมีจำนวนน้อยลง และคนยุคใหม่อาจจะอ่านด้วยวิธีที่ต่างไปจากคนรุ่นเก่าๆ ความเปลี่ยนแปลงนี้ ยังเดาไม่ได้ว่าจะจบอย่างไร ที่แนๆ่ก็คือ มีสิ่งพิมพ์บางชนิด เช่นการอ่านข่าวทาง นสพ. ที่น่าจะถูกแทนที่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ห้องสมุดคลจะลดพื้นที่หิ้งหนังสือ (ไม่ได้ยกเลิก) แต่มีบางแห่ง ที่กล้าที่จะทำถึงระดับยกเลิก และได้รับการต่อต้านจากผู้ที่ชอบหนังสือเล่มอย่างมาก ดังตัวอย่างข้างล่างนี้

Welcome to the library. Say goodbye to the books.

Voice from Boston เพื่อนของเราคนหนึ่ง เขียนลงใน NSTDA Blog เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมขอคัดย่อมาเล่าให้อ่านกันดังนี้
James Tracy ครูใหญ่โรงเรียน Cushing Academy ซึ่งอยู่ที่เมือง Ashburnham มลรัฐ Massachusetts สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เขาตั้งใจจะเปลี่ยนห้องสมุดคู่บุญของโรงเรียน อายุกว่าหนึ่งร้อยปีแห่งนี้ให้เป็นห้องสมุดไร้หนังสือ (เล่ม) ด้วยเขาเห็นปัญหาความล้าสมัยที่เกี่ยวโยงกับหนังสือ(เล่ม)เหล่านั้น นอกจากนี้หนังสือที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้พื้นที่ใช้สอยลดลงตามไปด้วย โรงเรียนนี้จึงมีนโยบายที่จะเปลี่ยน ห้องสมุด(Library) ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ (Learning center) ด้วยงบประมาณห้าแสนเหรียญ (ประมาณ ๑๗.๕ ล้านบาท) ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่าย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่นทีวีจอแบน แล็พท็อป และเครื่องอ่านหนังสือดิจิทัล กับการจัดหาหนังสือดิจิทัลกว่าล้านเล่ม
When I look at books, I see an outdated technology, like scrolls before books, said headmaster James Tracy. (Mark Wilson for The Boston Globe)
โครงการนี้สร้างความกังวลให้กับหลายๆ คนที่ยังคงรักการสัมผัสเล่มของหนังสือ.. กังวลว่านักเรียนจะขาดช่วงเวลาที่ได้เรียนรู้และคิดไปกับไอเดียของผู้เขียน … เสียสายตา .. นักเรียนอาจไม่มีสมาธิในการอ่านหนังสือผ่านหน้าจอนานเท่ากับอ่านหนังสือเล่ม ฯลฯ แม้จะมีผู้คัดค้านอย่างมาก นักเรียนหลายคนตั้งตาคอยกับปรากฎการณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นกับโรงเรียนของตนเอง
อ่านรายละเอียดได้ที่ Abel, David. “Welcome to the library. Say goodbye to the books.” The Boston Globe 276, 66 (Sep. 4, 2009).

การบริการออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับห้องสมุด

ในประเด็นที่สอง ว่าด้วยการบริการออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับห้องสมุด – ประเด็นนี้คงจะต้องขยายความว่า จะมุ่งเห็นบริการโดยไม่ทราบว่าต้องทำอะไรบ้างก่อนหน้านั้นคงจะไม่ได้ บริการออนไลน์กว่าจะเกิดขึ้นได้ ต้องทำบุญล่วงหน้ากันหลายปี นั่นก็คือ การวางแผนให้มี digital contents กันในภาพรวมก่อนครับ หน่้วยงานใดมาพูดเรื่องบริการออนไลน์แบบเอาความโก้เป็นหลัก หน่วยงานนั้นต้องบอกว่า "กลวงโบ๋" เพราะจะจบด้วยการซื้อเครื่องมือ ซื้อโปรแกรม และซื้อเนื้อหาที่เป็น digital content จนกระทั่งเอาตัวไม่รอดแน่นอน
แท้ที่จริงแล้ว หากจะมีบริการออนไลน์ที่ดี เราจะต้องวางแผนสร้าง digital contents ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ และดำเนินการไปอย่างสม่ำเสมอจนเป็นวัฒนธรรม ในประเทศไทย เราใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยเรียงพิมพ์กันกว่า ๓๐ ปีแล้ว แต่การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐานก็เพิ่งจะเริ่มขึ้นเป็นส่วนน้อย ยังคงมีภารกิจที่จะต้องจัดระเบียบให้หนังสือที่อยู่ในช่วงอายุไม่เกิน ๓๐ ปีได้มีโอกาสออกตัวเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บ้าง
สำหรับหนังสือที่เก่าแก่เกิน ๕๐ ปี มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็น eBook ได้ดี เพราะในบรรดาหนังสือเหล่านั้น ลิขสิทธิ์ที่ตกเป็นของทายาทผู้เขียนที่เสียชีวิตไปแล้วก็ทะยอยหมดไป การนำกลับมาถ่ายด้วยเครื่องสแกนภาพหรือกล้องดิจิทัลสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว
ท่านที่สนใจเรื่องพวกนี้ สามารถเข้าไปชมที่โครงการ หนังสือเก่าชาวสยาม ที่ริเริ่มโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ร่วมกับ สวทช. ว่าเราเข้าอ่านหนังสือเก่าๆ ของไทยได้อย่างไร
เมื่อเร็วๆ นี้เอง ทาง สวทช. เอง (โดยศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเนคเทค) ก็ได้มีโอกาสทำงานสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสแกนหนังสือเก่าที่นักอนุรักษ์หนังสือชาวพม่าท่านหนึ่ง (คุณ U Moe Myint) จะทูลเกล้าฯ ถวาย เราจึงเกิดเป็นโครงการความร่วมมือนำระบบสแกนหนังสือจากประเทศไทยที่พัฒนาโดยบริษัท ATIZ สองเครื่อง และระบบของเนคเทคหนึ่งเครื่อง ยกไปทำกันที่เมืองย่างกุ้ง อีกไม่นาน ก็จะมีชุดหนังสือเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วรรณคดี ศิลปะ และมานุษยวิทยากว่าสี่ร้อยเล่ม เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งผมทราบมาว่า ชุดหนังสือดิจิทัลนี้ สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ มีพระราชประสงค์จะพระราชทานให้กับคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ตัวเล่มหนังสือจริงๆ ซึ่งมีค่ามากก็ยังอยู่กับเจ้าของต่อไป แต่เราคนไทย จะเข้าถึงฉบับดิจิทัลได้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
ท่านทราบไหมครับ ว่า ATIZ เป็นบริษัทของคนไทย บริษัทนี้มีนวัตกรรม สามารถออกแบบและสร้างเครื่องสแกนหนังสือออกมาดีที่สุดในโลก และส่งออกไปยังต่างประเทศจำนวนมาก ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่ามีโครงการสแกนหนังสือเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการ Google Book และความร่วมมือระหว่าง Google กับหลายมหาวิทยาลัย ที่ดูแลหนังสือกว่าแห่งละ ๒๐ ล้านเล่ม หากใครอยากทราบว่าที่ไหนสแกนหนังสือกันมาก ก็คงต้องสอบถาม ดร.สารสิน บุพพานนท์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทแห่งนี้
ทางบริษัทก็เข้ามาร่วมทำงานสนองพระราชดำริโดยการให้ทางพม่าได้ยืมใช้เครื่องสแกนหนังสือเพื่อทำงานในโครงการครับ ขอให้ได้บุญมากๆ และขายเครื่องได้เยอะ ทางสวทช.ก็มีสายการผลิต eBook โดยใช้เครื่องของ ATIZ หนึ่งเครื่อง

แนวทางการก้าวสู่การผลิต eBook ขององค์กร

โดยสรุป ผมพอมองเห็นทางว่า เราควรเตรียมการเรื่องการทำ eBook ไว้สามแนว ได้แก่
  1. หนังสือที่อยู่ระหว่างการผลิตในปัจจุบัน เมื่อจะเข้าโรงพิมพ์ ให้กำหนดว่าต้องทำเป็น pdf file (ซึ่งเป็นรูปแบบของ eBook ชนิดหนึ่ง) ด้วย โดย pdf file อาจจะมีสองแบบ คือแบบเล็ก เพื่อเผยแพร่ทางเว็บ และแบบสมบูรณ์ ซึ่งจะมีความชัดเจนของภาพสูงกว่า เพื่อใช้ในการนำเข้าโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์ซ้ำในอนาคต
  2. หนังสือที่อายุไม่เกิน ๑๐ ปี ควรพยายามหาไฟล์ต้นฉบับ นำมาจัดรูปแบบให้เป็น eBook เสียใหม่ เพื่อใช้อ่านแบบออนไลน์
  3. หนังสือที่เก่าเกิน ๑๐ ปี อาจจะทำได้แค่การนำมาถ่ายหรือสแกนเป็นภาพ วิธีนี้ก็จะได้ eBook แบบหนังสือเก่า เหมือนเป็นภาพถ่ายหรือไมโครฟิล์ม สามารถอ่านได้เท่ากับแบบ ๑ หรือ ๒ แต่ไม่สามารถค้นหาคำในหนังสือได้เหมือนสองแบบแรก ที่เราทำ full-text search ได้
ในแนวที่ ๑ และ ๒ ผมอยากเห็นหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือทำกันเอง (ซึ่งมักจะจ้างบริษัทจัดหน้าและจัดพิมพ์) เพราะ eBook ก็สงวนลิขสิทธิ์ได้ หลายแห่งอาจจะไปมากกว่านั้น คือใช้วิธี “สงวนลิขสิทธิ์บ้าง” โดยใช้กลไกการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแบบ Creative Commons แทน Copyright เพื่อช่วยในการเผยแพร่ข่าวสารความรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ตให้กว้างไกลยิ่งขึ้น แต่สงวนไม่ให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของนำไปเผยแพร่ต่อเพื่อเอากำไร
ในการทำ eBook ที่ดี ไม่ใช่แค่ว่าแปลงเป็น pdf แล้วเสร็จ การเตรียมงานที่ดีจะต้องมีการ mark-up ข้อความที่เป็นชื่อบท ชื่อหัวข้อย่อยต่างๆ รวมทั้งคำอธิบายภาพ และแผนผัง ให้ครบถ้วน เพราะข้อมูลที่ใช้ "บรรยายโครงสร้างหนังสือ" ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เครื่องอ่านหนังสือทำงานได้ดี รวมทั้งการแปลงหนังสือข้อความให้กลายเป็นหนังสือเสียงตามมาตรฐานเดซี่ (DAISY) ด้วย เรื่องนี้ไม่ยาก แต่อยากให้บรรณารักษ์ต่างๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้ไปด้วยกัน หากสนใจ ท่านสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช.ได้ตลอดเวลาครับ เพราะเรากำลังปฏิบัติตามแนวทางการสร้าง eBook สามแนวข้างต้นนี้
สำหรับ แนวที่ ๓ เป็นประเด็นการนำหนังสือเก่ามาถ่ายภาพ และจัดรูปแบบเป็น eBook ให้อ่านทางจอคอมพิวเตอร์ได้ งานนี้สนุกมาก พวกเราที่ STKS รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเป็นอย่างมาก ที่ทำให้ได้มีโอกาสเรียนรู้การทำงานเกี่ยวกับหนังสือเก่า ทั้งด้านการอนุรักษ์หนังสือ และการแปลงเป็นดิจิทัล รวมทั้งได้ไปสัมผ้สหนังสือที่เป็นแบบ "เหลือเพียงเล่มเดียวในโลก" ด้วย เรายังได้รับทราบจากผู้เชี่ยวชาญ ว่าเวลาจับหนังสือเก่าๆ ต้องใส่ถุงมือ ไม่เช่นนั้น เหงื่อจากนิ้วมือของเราจะไปทำลายกระดาษเก่าๆ ได้ง่ายมาก
อีกไม่นาน ทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ก็อาจจมีบริการ eBook สำหรับนิสิต นักศึกษาและบุคลากรของสถาบันนั้นๆ รวมถึงการบริการระหว่างสถาบัน และเพิ่มพื้นที่การบริการในห้องสมุดด้วยระบบใหม่ๆแทนทีหนังสือเล่ม

ที่มา
http://thaiview.wordpress.com/2010/03/27/bookless-library/

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์กับห้องสมุดยังมีความสำคัญ


33 เหตุผลที่บรรณารักษ์กับห้องสมุดยังมีความสำคัญ


1. Not everything is available on the internet
- อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีทุกอย่าง

2. Digital libraries are not the internet
- ห้องสมุดดิจิทัลไม่ใช่อินเทอร์เน็ต

3. The internet isn’t free
- หนังสือบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ฟรีอย่างที่คิด

4. The internet complements libraries, but it doesn’t replace them
- อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของห้องสมุดที่ควรจะมี แต่ก็ไม่สามารถแทนที่ได้

5. School Libraries and Librarians Improve Student Test Scores
- ห้องสมุดทางการศึกษาและบรรณารักษ์ที่ทำงานในห้องสมุดทางการศึกษามีส่วนช่วยให้เด็กเรียนดีขึ้น

6. Digitization Doesn’t Mean Destruction
- การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ได้หมายความว่าจะต้องลดภาระงาน

7. In fact, digitization means survival
- ความเป็นจริงแล้วการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลจะเน้นไปในความหมายของการรักษาสารสนเทศให้อยู่ได้นาน

8. Digitization is going to take a while. A long while.
- การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลใช้เวลาปรับนิดเดียวแต่ยาวนาน

9. Libraries aren’t just books
- ห้องสมุดไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสืออย่างเดียว

10. Mobile devices aren’t the end of books, or libraries
- อุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ได้เป็นจุดที่สิ้นสุดของหนังสือ และห้องสมุด

11. The hype might really just be hype
- การผสมผสานมันก็แค่ผสมผสาน

12. Library attendance isn’t falling – it’s just more virtual now
- การเข้าใช้ห้องสมุดไม่ได้มียอดที่ลดลง แต่มีการเข้าใช้ทางเว็บไซต์ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น

13. Like businesses, digital libraries still need human staffing
- เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ ห้องสมุดดิจิทัลก็ยังคงต้องใช้คนในการจัดการและดำเนินงานอยู่ดี

14. We just can’t count on physical libraries disappearing
- เราไม่สามารถนับจำนวนการสูญเสียของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดทางกายภาพได้

15. Google Book Search “don’t work”
- เพราะว่า Google Book Search ทำงานไม่ดีพอ

16. Physical libraries can adapt to cultural change
- ห้องสมุดที่เป็นกายภาพสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้

17. Physical libraries are adapting to cultural change
- ห้องสมุดทางกายภาพต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรม

18. Eliminating libraries would cut short an important process of cultural evolution
- การที่เรากำจัดห้องสมุดถือว่าเป็นการตัดกระบวนการทางสังคมออก

19. The internet isn’t DIY
- อินเทอร์เน็ตไม่ใช่คุณเองก็ทำได้

20. Wisdom of crowds is untrustworthy, because of the tipping point
- ความรอบรู้ของอินเทอร์เน็ตยังไว้ใจไม่ได้ เนื่องจากการแพร่กระจายอาจจะนำมาซึ่งภาวะของข่าวลือ

21. Librarians are the irreplaceable counterparts to web moderators
- บรรณารักษ์ไม่สามารถเปลี่ยนจากคนนั่ง counter เป็น web moderators

22. Unlike moderators, librarians must straddle the line between libraries and the internet
- บรรณารักษ์เป็นคนช่วยประสานช่องหว่างระหว่างห้องสมุดกับอินเทอร์เน็ต

23. The internet is a mess
- อินเทอร์เน็ตคือความยุ่งเหยิง

24. The internet is subject to manipulation
- อินเทอร์เน็ตมีหัวเรื่องที่เกิดจากการผสมผสานหลากหลาย

25. Libraries’ collections employ a well-formulated system of citation
- ห้องสมุดมีระบบการจัดการที่เป็นระบบมากกว่าบนอินเทอร์เน็ต

26. It can be hard to isolate concise information on the internet
- มันยากที่จะแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกจากกันในอินเทอร์เน็ต

27. Libraries can preserve the book experience
- ห้องสมุดสามารถอนุรักษ์หนังสือได้อย่างมีประสบการณ์

28. Libraries are stable while the web is transient
- ห้องสมุดเป็นอะไรที่เก็บข้อมูลได้มั่นคง แต่อินเทอร์เน็ตเก็บอะไรชั่วคราว

29. Libraries can be surprisingly helpful for news collections and archives
- ห้องสมุดสามารถสร้างประโยชน์ในการสร้าง collection ใหม่ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

30. Not everyone has access to the internet
- ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่าง

31. Not everyone can afford books
- ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีหนังสือ

32. Libraries are a stopgap to anti-intellectualism
- ห้องสมุดช่วยหยุดช่องว่างของความไม่มีความรู้

33. Old books are valuable
- หนังสือเก่ายังมีคุณค่า

สมุดโน้ตส่ง SMS ย้อนยุคสำหรับนักเรียน

[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] เช้าๆ วันศุกร์อย่างนี้ ขอเริ่มประเดิมข่าวด้วยเรื่องเบาๆ ก็แล้วกันนะครับ ซึ่งแน่นอนว่า คงหนีไม่พ้นเรื่องของแก็ดเจ็ต (Gadget) สนุกๆ ย้อนกลับไปสมัยที่ยังเรียนอยู่ในชั้นประถม เชื่อว่า คุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip หลายๆ ท่านคงจะจำวิธีการสื่อสารระหว่างเพื่อนๆ ในห้องที่ใช้การส่งข้อความ (Direct Message) ที่เขียน และพับไว้ในแผ่นกระดาษเล็กๆ จนกระทั่งระบบส่งข้อความด้วย Digital SMS เข้ามาแทนที่ ซึ่งให้ความสะดวก ง่ายดาย และรวดเร็ว แต่หากใครคิดถึงวันเก่าๆ อาจจะสนใจระบบส่งข้อความแบบแอนาล็อกของ Moleskin ก็ได้ ว่าแต่มันเป็นยังไง ไปติดตามกันได้เลยครับ

แทนที่จะใช้สมาร์ทโฟนส่ง SMS ถึงเพื่อนในห้อง คุณอาจจะลองมาเปลี่ยนเป็นระบบส่งข้อความที่ใช้กลไกการทำงานง่ายๆ ของ Moleskin โดยประกอบด้วยสมุดโน้ตที่มาพร้อมกับสมุดรวมข้อความสั้น (บอกรัก แซว นัดหมาย ฯลฯ) ที่มีรอยปรุรอบข้อความ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณสามารถฉีกข้อความบนชิ้นกระดาษสี่เหลี่ยมเล็กๆ ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งหลังจากเลือกข้อความที่ต้องการได้แล้ว ให้พับชิ้นกระดาษทบกลับมา แล้วนำมันไปคล้องบนหนังยางที่คาดอยู่บนหน้าปกของสมุดโน้ตที่หันไปยังเป้าหมายปลายทางของเพื่อนที่ต้องการส่งข้อความไปให้ จากนั้นออกแรงดึงกระดาษที่คล้องยางเข้าหาตัว เพื่อยืดหนังยางก่อนที่จะปล่อยมือให้กระดาษที่มีข้อความของคุณพุ่งตรงปยังเพื่อนของคุณ

Moleskin Analog SMS อ้างว่า ระบบการส่งข้อความของมันสามารถส่งข้อความกระดาษของคุณไปได้ไกลสุด 17 ฟุต หรือประมาณ 5.1 เมตร ดังนั้น ระบบการส่งข้อความด้วยรูปแบบนี้จึงมีข้อจำกัดว่า ผู้รับปลายทางต้องอยู่ในสถานที่เดียวกันในรัศมีการส่งไม่เกิน 5.1 เมตร เช่นในห้องเรียน หรือห้องทำงานเดียวกัน อย่างไรก็ตาม บนปกจะมีสเกลระยะการยืดยางที่บอกระยะให้คุณทราบด้วย หากคุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ที่สนใจสามารถสั่งซื้อให้ตัวเอง หรือเป็นของขวัญน่ารักๆ ให้เพื่อนก็ได้ สนนราคาของมันอยู่ที่ 15 เหรียญฯ หรือประมาณ 450 บาท สมุดโน้ตของ Moleskine รุ่นนี้ทำออกมา เพื่อฉลองครบรอบ 20 ปีของการส่งข้อความด้วย SMS (1992 - 2012)  เชื่อว่า ไอเดียนี้ถ้าบรรดาผู้ผลิตหนังสือเล่มที่รวมข้อความสั้นได้รับทราบ เราก็อาจจะได้เห็นไอเดียของแก็ดเจ็ตลักษณะนี้ออกมาในเร็ววันอย่างแน่นอน :D



ที่มา  http://www.arip.co.th/news.php?id=415126

สมุดโน้ตส่ง SMS ย้อนยุคสำหรับนักเรียน

[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] เช้าๆ วันศุกร์อย่างนี้ ขอเริ่มประเดิมข่าวด้วยเรื่องเบาๆ ก็แล้วกันนะครับ ซึ่งแน่นอนว่า คงหนีไม่พ้นเรื่องของแก็ดเจ็ต (Gadget) สนุกๆ ย้อนกลับไปสมัยที่ยังเรียนอยู่ในชั้นประถม เชื่อว่า คุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip หลายๆ ท่านคงจะจำวิธีการสื่อสารระหว่างเพื่อนๆ ในห้องที่ใช้การส่งข้อความ (Direct Message) ที่เขียน และพับไว้ในแผ่นกระดาษเล็กๆ จนกระทั่งระบบส่งข้อความด้วย Digital SMS เข้ามาแทนที่ ซึ่งให้ความสะดวก ง่ายดาย และรวดเร็ว แต่หากใครคิดถึงวันเก่าๆ อาจจะสนใจระบบส่งข้อความแบบแอนาล็อกของ Moleskin ก็ได้ ว่าแต่มันเป็นยังไง ไปติดตามกันได้เลยครับ

แทนที่จะใช้สมาร์ทโฟนส่ง SMS ถึงเพื่อนในห้อง คุณอาจจะลองมาเปลี่ยนเป็นระบบส่งข้อความที่ใช้กลไกการทำงานง่ายๆ ของ Moleskin โดยประกอบด้วยสมุดโน้ตที่มาพร้อมกับสมุดรวมข้อความสั้น (บอกรัก แซว นัดหมาย ฯลฯ) ที่มีรอยปรุรอบข้อความ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณสามารถฉีกข้อความบนชิ้นกระดาษสี่เหลี่ยมเล็กๆ ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งหลังจากเลือกข้อความที่ต้องการได้แล้ว ให้พับชิ้นกระดาษทบกลับมา แล้วนำมันไปคล้องบนหนังยางที่คาดอยู่บนหน้าปกของสมุดโน้ตที่หันไปยังเป้าหมายปลายทางของเพื่อนที่ต้องการส่งข้อความไปให้ จากนั้นออกแรงดึงกระดาษที่คล้องยางเข้าหาตัว เพื่อยืดหนังยางก่อนที่จะปล่อยมือให้กระดาษที่มีข้อความของคุณพุ่งตรงปยังเพื่อนของคุณ

Moleskin Analog SMS อ้างว่า ระบบการส่งข้อความของมันสามารถส่งข้อความกระดาษของคุณไปได้ไกลสุด 17 ฟุต หรือประมาณ 5.1 เมตร ดังนั้น ระบบการส่งข้อความด้วยรูปแบบนี้จึงมีข้อจำกัดว่า ผู้รับปลายทางต้องอยู่ในสถานที่เดียวกันในรัศมีการส่งไม่เกิน 5.1 เมตร เช่นในห้องเรียน หรือห้องทำงานเดียวกัน อย่างไรก็ตาม บนปกจะมีสเกลระยะการยืดยางที่บอกระยะให้คุณทราบด้วย หากคุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ที่สนใจสามารถสั่งซื้อให้ตัวเอง หรือเป็นของขวัญน่ารักๆ ให้เพื่อนก็ได้ สนนราคาของมันอยู่ที่ 15 เหรียญฯ หรือประมาณ 450 บาท สมุดโน้ตของ Moleskine รุ่นนี้ทำออกมา เพื่อฉลองครบรอบ 20 ปีของการส่งข้อความด้วย SMS (1992 - 2012)  เชื่อว่า ไอเดียนี้ถ้าบรรดาผู้ผลิตหนังสือเล่มที่รวมข้อความสั้นได้รับทราบ เราก็อาจจะได้เห็นไอเดียของแก็ดเจ็ตลักษณะนี้ออกมาในเร็ววันอย่างแน่นอน :D



ที่มา  http://www.arip.co.th/news.php?id=415126

มองตลาด "ไอซีที" ไทย ครึ่งปีหลังฟื้นหรือฟุบต่อ


อุทกภัยปลายปีที่ผ่านมาตลาดไอทีไตรมาสแรกปีนี้จึงไม่สู้จะสดใสนัก แต่หลายฝ่ายมองว่าตั้งแต่ไตรมาส 2 ทั้งกำลังซื้อทั้งความสามารถในการผลิตจะฟื้นคืนชีพอีกครั้ง 

"อรรถพล สาธิตคณิตกุล" ผู้จัดการฝ่ายงานวิจัยและที่ปรึกษา ไอดีซี ประเทศไทย กล่าวถึงตลาดไอทีในช่วงต้นปี 2555 ว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคช่วงที่ผ่านมายังทรง ๆ ไม่หวือหวา แต่ก็ไม่ตกลงไปมากเหมือนไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา ขณะที่คอนซูเมอร์เทคโนโลยีในช่วงต้นปีไม่มีอะไรใหม่มาก แค่อัลตร้าบุ๊ก, ไอโฟน 4 เอส และนิวไอแพด แต่ถ้าแอปเปิลยกระดับตลาดประเทศไทยเป็นเซกันด์เทียร์จริงตามที่มีการพูดกันหลังสงกรานต์หรือต้นไตรมาส 2 คงได้เห็นสีสันจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้น 

สำหรับโทรคมนาคมไตรมาสแรก โอเปอเรเตอร์แข่งนำเสนอแพ็กเกจดาต้าเซอร์วิส โดยเฉพาะแพ็กเกจขายพ่วงสมาร์ทโฟนและแท็บเลต มีลดราคา 50% 

"ตลาดไอทีไทยไตรมาส 2 เป็นต้นไปคงแข่งขันแยกกันระหว่างลูกค้าองค์กรและกลุ่มผู้บริโภค โดยในกลุ่มองค์กรมีการลงทุนปรับปรุงระบบและซิสเต็มอินฟราสตรักเจอร์ เช่น ลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ทั้งเรื่องคลาวด์คอมพิวติ้ง และบิสซิเนสคอนตินิวอิตี้กับดิสแอสเตอร์รีคัฟเวอรี่ที่จะโตต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มผู้บริโภคสมาร์ตดีไวซ์อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเลตจะเป็นตัวเอก มีการแข่งขันชัดเจนดุเดือดขึ้นครึ่งปีหลังอาจเห็นสงครามราคา" 

"อรรถพล" กล่าวว่า ภาพรวมตลาดไอทีในปีนี้คงเติบโตเป็นเลขสองหลักต้น ๆ ทั้งเป็นปีที่ท้าทายสำหรับผู้ผลิต ปัญหาซัพพลายฮาร์ดดิสก์คงกลับมาเป็นปกติกลางไตรมาส 2 และกลับมาพอดีกันในไตรมาส 3 เป็นช่วงปีงบประมาณการใช้จ่ายภาครัฐ และการประมูลคลื่น 3 จี 2.1 จิกะเฮิรตซ์ ดังนั้นโอเปอเรเตอร์คงเดินหน้าลงทุนเต็มสูบ ขณะที่บรรดาโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจะกลับมาลงทุนด้านไอทีเต็มที่ 

การประมูลคลื่นความถี่ 3 จี 2.1 GHz ในปีนี้เป็นผลดีเรื่องความเร็วแบนด์วิดท์และการแข่งขันดาต้าเซอร์วิส แต่หากการประมูลงไม่เสร็จปีนี้ ภาครัฐควรประมูลคลื่นความถี่เทคโนโลยีใหม่ เช่น 4 LTE ควบคู่ไปกับ 3 จี เพื่อไม่ให้ไทยช้าไป 

ด้าน ดร.มนสินี กีรติไกรศร ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอสท์ แอนด์ ซัลลิแวน กล่าวว่า เท่าที่คุยกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมพบว่าโครงสร้างพื้นฐานฟื้นตัวจากเหตุการณ์น้ำท่วมเช่นกันกับธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์เริ่มฟื้นในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ 

สิ่งที่น่าสังเกตคือจำนวนผู้สมัครใช้บริการด้านโมบายล์ดาต้าช่วงน้ำท่วมเพิ่มขึ้นมาก คาดว่าไม่ได้มีแค่กลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่ใช้ในบ้านไม่ได้ แต่มีกลุ่มผู้ใช้งานหน้าใหม่ด้วย หลังเหตุการณ์กลับมาเป็นปกติ จำนวนผู้ใช้ก็ไม่ได้ลดลง หมายความว่า ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเงินกับอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เพราะหนึ่งคนใช้อินเทอร์เน็ตจากหลายรูปแบบ 

สำหรับประเด็นเรื่องกำลังซื้อ ดร.มนสินีมองว่า สินค้าที่อยู่ในเทรนด์การเติบโตก็ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เช่น กลุ่มสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแทบไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมปีที่แล้ว เนื่องจากมีเรื่อง

แอปพลิเคชั่น และระบบการใช้งานที่รองรับแบบครบวงจรทำให้ผู้บริโภคอยากซื้อ นอกจากนี้กลุ่มองค์กรมีการใช้อุปกรณ์เหล่านี้มากขึ้น

แต่ในส่วนซัพพลายฮาร์ดดิสก์น่าจะฟื้นตัวกลับมาไม่ถึง 50% คาดว่าจะดีขึ้นได้ไตรมาส 3-4 

ดร.มนสินีให้ข้อมูลว่า ตลาดอุปกรณ์ไอทีในประเทศไทยปีนี้จะโตประมาณ 10% หากไตรมาส 3 และ4 ไม่มีเหตุการณ์อะไร สภาพเศรษฐกิจและโครงการภาครัฐ

เดินหน้าต่อได้ก็น่าจะเติบโตสูงกว่านี้ เนื่องจากตลาดไอทีมารถเติบโตได้ด้วยตนเอง ปัจจัยหลักที่น่าจะเป็นอุปสรรคเป็นเรื่องภัยธรรมชาติ ส่วนภาพรวมโทรคมนาคมในปีนี้

โอเปอเรเตอร์ลงทุนระบบ 3 จี มากทำให้ตลาดตื่นตัว คาดว่าการแข่งขันในธุรกิจโทรศัพท์มือถือจะเริ่มมากขึ้นในปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า 

"ถ้าการประมูล 3 จียังไม่เกิดปีนี้คงส่งผลกระทบในระยะยาว เช่น คนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอาจไม่ถึงเป้าตามที่รัฐบาลตั้งไว้ ตอนนี้เหมือนภาพรวมตลาดจะอยู่ในการเตรียมแผนสองกันแล้ว สังเกตได้จากฝั่งโอเปอเรเตอร์หันมาลงทุน 3 จี คลื่นเดิม หาก 3 จี 2.1 จิกะเฮิรตซ์เกิดขึ้นทันในปีนี้ก็จะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพราะต้องติดตั้ง, ทำโมเดลธุรกิจ และทำตลาดรวมๆ แล้วน่าจะต้องใช้เวลาอีก 1 ปี ถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนในตลาด"


ที่มา  http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1335088031&grpid=&catid=06&subcatid=0600