วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Ontrack EasyRecovery 6 มือโปรแห่งการกู้ไฟล์

Ontrack EasyRecovery 6 มือโปรแห่งการกู้ไฟล์

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 หน้า
ปัญหาไฟล์หาย ไฟล์ถูกลบทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจ หรือโดนพิษสงของไวรัสเข้าให้ ปัญหาเหล่านี้ค่อนข้างเอาเรื่องพอสมควร หลายคนคงจะเคยเจอปัญหาเปล่านี้มาบ้างแล้ว ซึ่งก็น่าเห็นใจนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไฟล์นั้นเป็นไฟล์งาน ก็คงเสียเวลาไม่น้อยกับการสร้างหรือทำขึ้นมาใหม่ หรือถ้ารุนแรงถึงขั้นทำให้วินโดวส์ไม่สามารถทำงานได้ ก็ยิ่งยุ่งเข้าไปใหญ่ ...ลองมาศึกษาตัวเก่งมือโปร อย่าง Ontrack EasyRecovery 6 กันดูมั้ยว่า มีวิธีการช่วยได้อย่างไรบ้าง








ปัญหาไฟล์หาย ไฟล์ถูกลบทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจ หรือโดนพิษสงของไวรัสเข้าให้ ปัญหาเหล่านี้ค่อนข้างเอาเรื่องพอสมควร หลายคนคงจะเคยเจอปัญหาเปล่านี้มาบ้างแล้ว ซึ่งก็น่าเห็นใจนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไฟล์นั้นเป็นไฟล์งาน ก็คงเสียเวลาไม่น้อยกับการสร้างหรือทำขึ้นมาใหม่ หรือถ้ารุนแรงถึงขั้นทำให้วินโดวส์ไม่สามารถทำงานได้ ก็ยิ่งยุ่งเข้าไปใหญ่ ...ลองมาศึกษาตัวเก่งมือโปร อย่าง Ontrack EasyRecovery 6 กันดูมั้ยว่า มีวิธีการช่วยได้อย่างไรบ้าง

คุณคงอยากรู้ว่า EasyRecovery กู้ไฟล์ในกรณีไหนได้บ้าง? ผมจะแจกแจงให้เห็นเป็นข้อๆ อาทิ

  • กู้ไฟล์ที่ถูกลบจากโหมดดอส ตรงจุดนี้ตัววินโดวส์เองไม่ได้คอยตามมาเอาไฟล์ที่ถูกลบไปใส่ไว้ใน Recycle Bin ให้คุณ

  • กู้ไฟล์ที่ถูกลบออกอย่างถาวรจาก Recycle Bin เพราะโดยส่วนใหญ่เมื่อลบไฟล์ในวินโดวส์ ไฟล์นั้นจะถูกย้ายมาประจำการอยู่ที่ Recycle Bin เพื่อรอการเปลี่ยนใจ แต่ถ้าคุณตามมาลบใน Recycle Bin ให้สิ้นซาก หรือสั่งใน Recycle Bin เคลียร์ตัวเองแบบอัตโนมัติ

  • กู้ไฟล์ที่ถูกลบจากแผ่นดิสก์ เพราะตัววินโดวส์ไม่มีความสามารถในการย้ายไฟล์ที่ถูกลบจากแผ่นดิสก์มาใส่ไว้ใน Recycle Bin รอให้คุณได้เปลี่ยนใจ

  • กู้ไฟล์ที่มีปัญหาจากโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Word , Excel , Access , PowerPoint รวมถึงไฟล์บีบขนาดต่างๆ เช่น .ZIP ให้สามารถกลับมาใช้งานได้ อย่างเช่น ไฟล์เอกสาร Word ที่มีปัญหาบ่อยมากที่สุด ถูกเรียกขึ้นมาทำงานไม่ได้ ทั้งๆ ที่มีส่วนเสียเพียงเล็กน้อย เราจะมาลองแก้ปัญหานี้ด้วยกัน โดยใช้ EasyRecovery อาจจะทำให้คุณเสียเวลาเพียงเล็กน้อยโดยไม่ต้องพิมพ์เอกสารใหม่ทั้งหมด

    แต่สำหรับไฟล์ .ZIP นั้น ก่อนอื่นคุณจะต้องแน่ใจก่อนว่า ไฟล์ .ZIP ที่จะทำการกู้คืนนั้น จะต้องเป็นไฟล์ .ZIP ที่เคยสมบูรณ์ แต่เสียไปบ้างส่วน ไม่ใช่เป็นไฟล์ .ZIP ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ตแบบไม่สมบูรณ์ แน่นอนไฟล์นั้นย่อมมีปัญหามาอยู่แล้ว จึงไม่สามารถเปิดได้แน่ อีหรอบนี้ EasyRecovery ก็คงแก้ไขให้ไม่ได้

    เตรียมตัวอย่างไรเมื่อไฟล์หาย

    ก่อนจะไปรู้จักกับวิธีการกู้ไฟล์ คุณควรจะเข้าใจสถานการณ์บางอย่างเสียก่อน เพื่อเป็นการรับประกันว่าการกู้คืนว่าจะได้ผล 100% หรือลดน้อยลงไป

  • สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่คุณจะต้องท่องให้ขึ้นใจไว้เลยก็คือ ห้ามเซฟไฟล์ใดๆ ลงบนฮาร์ดดิสก์ หรือแผ่นดิสก์ที่ต้องการกู้ไฟล์ทันที!!!

  • หลังจากที่ไฟล์ที่หาย ไม่ว่าจะเป็นการลบทิ้ง หรือฟอร์แมต เพราะอะไรหรือครับ? เหตุผลก็มีอยู่ว่า เมื่อคุณสั่งลบไฟล์ หรือโฟลเดอร์นั้นทิ้งไป หลายคนจะเข้าใจว่า ถูกลบทิ้งไปจริงๆ แต่ความจริงก็คือ ตัวโอเอสจะเป็นเพียงแค่มาร์กไว้เฉยๆ ว่า มีพื้นที่ตรงนี้ตรงโน้นว่าง (ที่เกิดจากไฟล์ที่ถูกลบทิ้ง) ถ้าเป็นแบบนี้เมื่อไม่มีการเขียนไฟล์ใหม่อะไรลงไปทับ โอกาสที่จะกู้ไฟล์คืนกลับมาก็พูดได้ว่า 100%

    แต่ถ้าคุณเกิดไปเซฟไฟล์ใหม่ลงไป ทีนี้โอกาสในการกู้ไฟล์ก็มีเปอร์เซ็นต์ลดน้อยถอยลงไป เพราะเราไม่สามารถรับประกันได้ว่า ตำแหน่งที่ถูกมาร์กไว้ว่าว่างในตอนแรก จะถูกแทนด้วยไฟล์ใหม่นั้นหรือไม่ เพราะการจัดเก็บไฟล์ด้วยโอเอสลงบนตำแหน่งต่างๆ ของฮาร์ดดิสก์ หรือแผ่นดิสก์จะเป็นแบบสุ่มลง ตรงไหนว่างก็เก็บไฟล์ไว้ตรงนั้นเลย

    เรียกใช้งาน EasyRecovery ได้อย่างไร

    ก่อนกู้ไฟล์โดยการเรียกใช้จากโปรแกรม EasyRecovery ได้นั้น คุณจะต้องเข้าใจสถานการณ์ของคุณเสียก่อนว่า จะเรียกใช้ EasyRecovery ได้จากตรงไหน เพราะการเรียกใช้โปรแกรมสามารถทำได้จาก 2 ทางคือ

    จากการติดตั้งโปรแกรมลงบนวินโดวส์ ตรงนี้จะเป็นการใช้งานแบบเต็มรูปแบบ คือไม่ใช่มีแค่การกู้ไฟล์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการซ่อมแซมไฟล์ที่มีปัญหา อย่าง Word , Excel และรวมถึงความสามารถในการตรวจสอบความผิดปกติฮาร์ดดิสก์อีกด้วย

    จากแผ่นดิสก์บูตฉุกเฉินที่โปรแกรม EasyRecovery จะมีความสามารถเพียงแค่ใช้สำหรับกู้ไฟล์เท่านั้น ลองมาดูกรณีตัวอย่าง ว่าจะต้องเรียกใช้ EasyRecovery กันอย่างไร

    ถ้าฮาร์ดดิสก์ที่คุณต้องการกู้ข้อมูล มีการแบ่งออกเป็นหลายพาร์ทิชัน เช่น แบ่งออกเป็น 2 พาร์ทิชัน C: เอาไว้เก็บระบบ และโปรแกรมใช้งานต่างๆ ส่วน D: เอาไว้เก็บข้อมูล ทีนี้ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ต้องการกู้ไฟล์จากไดรฟ์ D คุณก็สามารถที่จะนำเอา EasyRecovery มาติดตั้งลงในเครื่องไว้ที่ไดรฟ์ C แล้วเรียกโปรแกรมเพื่อมากู้ไฟล์จากไดรฟ์ D ได้ เพราะไม่มีการเขียนไฟล์ขณะโปรแกรมติดตั้งไปทับไฟล์ที่ต้องการกู้จากไดรฟ์ D

    แต่ถ้ากรณีที่ฮาร์ดดิสก์ของคุณมีการแบ่งเป็นพาร์ทิชันเดียว คือมีแค่ไดรฟ์ C กรณีมีเหตุการณ์เกิดขึ้น คุณจะไม่สามารถนำเอาโปรแกรม EasyRecovery มาติดตั้งลงในวินโดวส์ เพื่อจะได้เรียกโปรแกรมขึ้นมากู้ไฟล์ เพราะขณะติดตั้งโปรแกรม อาจจะมีการเขียนไฟล์ของโปรแกรมไปทับกับตำแหน่งไฟล์ที่ต้องการกู้คืน ดังนั้น การเรียกใช้ EasyRecovery จะต้องเรียกใช้จากแผ่นบูตฉุกเฉินที่เราสร้างจากโปรแกรม EasyRecovery

    กรณีที่ไฟล์สำคัญของวินโดวส์หายไป ทำให้ไม่สามารถบูตได้ ตรงนี้เรื่องใหญ่ครับ คุณจะต้องเรียกใช้จากแผ่นบูตฉุกเฉินของ EasyRecovery แต่เพียงอย่างเดียว เพราะยังไงก็ไม่สามารถเข้าสู่การทำงานของวินโดวส์ได้ แล้วจะไปติดตั้งโปรแกรมได้อย่างไรกันล่ะครับ เอาเป็นว่า ถ้าจะให้ดีที่สุดในสถานการณ์ที่เครื่องของคุณปรกติดีอยู่ ก็ให้ติดตั้ง EasyRecovery ลงในเครื่องให้เรียบร้อยเพื่อพร้อมใช้งาน และก็สำคัญที่สุด!! สร้างแผ่นบูตฉุกเฉินของ EasyRecovery ขึ้นมาด้วย

    สำหรับการใช้งานคำสั่งของ EasyRecovery ที่ติดตั้งในเครื่อง หรือเรียกใช้จากแแผ่นบูตฉุกเฉินนั้น ก็คคล้ายๆ กันนั่นแหละครับ

    สร้างแผ่นบูตฉุกเฉินได้จากตรงไหน

    เห็นพูดถึงการเรียกใช้งาน EasyRecovery จากแผ่นบูตฉุกเฉินบ่อยมาก หลายคนอาจจะสงสัยว่า แผ่นดิสก์บูตฉุกเฉินที่ว่านี่ จะเอามาจากไหน

  • ในขณะติดตั้งโปรแกรม EasyRecovery จะมีขั้นตอนหนึ่งถามว่าต้องการสร้างแผ่น หรือไม่ ก็สามารถสร้างได้ โดยการนำแผ่นดิสก์เปล่า 1 แผ่นที่เตรียมไว้ใส่เข้าไปในไดรฟ์ A
    รูปที่ 1


  • หรือจากคำสั่ง Emergency Diskette (ดังรูปที่ 1)

    วิธีใช้งาน EasyRecovery แบบเต็มรูปแบบ

    ย่างที่บอกไว้แต่ต้นว่า ถ้าคุณติดตั้งโปรแกรม EasyRecovery ลงในเครื่อง โดยใน EasyRecovery เวอร์ชัน 6 ได้นำเอาโปรแกรมซ่อมแซมไฟล์ต่างๆ มารวมอยู่ด้วย โดยก่อนหน้านี้โปรแกรมเหล่านี้จะถูกจับแยกขายออกต่างหาก
    รูปที่ 2

    หมวดแรก Disk Diagnostics

    ในหมวดนี้ เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการตรวจสอบหาความผิดปกติของสื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งในด้านกายภาพของตัวสื่อเก็บข้อมูลจริงๆ กับทางด้านโครงสร้างการจัดเก็บของระบบไฟล์ของสื่อเก็บข้อมูล ถ้าคุณเข้าไปดูในโหมดนี้ จะเห็นว่ามีตัวเลือกให้เลือก 6 หัวข้อเลยทีเดียวครับ (ดังรูปที่ 2)

    Drive Test ใช้สำหรับตรวจสอบหาความผิดปกติของสื่อเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ในระดับกายภาพโดยการทดลองการอ่าน-เขียนระดับเซกเตอร์ (เป็นหน่วยย่อยของการโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูล) เพื่อตรวจสอบหาความผิดปกติที่เกิดขึ้น ว่ามีตำแหน่งของเซ็กเตอร์ไหนบ้าง ที่จะไม่สามารถใช้การได้ เมื่อคุณเลือกรายการนี้แล้ว ให้เลือกการตรวจสอบแบบ Full Diagnostics แต่ก็จะต้องแลกกับการใช้เวลาในการตรวจสอบ

    SmartTests เป็นการตรวจสอบหาความผิดปกติในเรื่องของเทคโนโลยี SMART ที่เป็นเทคโนโลยีของทางฮาร์ดดิสก์ค่าย Seagate เป็นเทคโนโลยีที่ตรวจสอบความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์ล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดความเสียหายเกิดขึ้น

  • Size Manager เป็นการขอดูรายละเอียดว่าในฮาร์ดดิสก์ของเรา มีโฟลเดอร์ไหนบ้าง ไฟล์ไหนที่ใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บกันอย่างละเท่าไหร่

  • JumperViewer เหมือนเป็นคู่มือเพื่อดูวิธีการเซตจัมเปอร์ของฮาร์ดดิสก์แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น ว่ามีการกำหนดตรงไหน โดยเมื่อเลือกหัวข้อนี้แล้ว จะมีการต่ออินเทอร์เน็ตไปยังเว็บไซต์เพื่อหาข้อมูล แต่อาจจะไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่ เพราะฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ๆ จะมีฉลากการเซตจัมเปอร์ติดมาบนตัวฮาร์ดดิสก์ไว้อยู่แล้วครับ

    Partition Tests เป็นการขอตรวจสอบทางด้านโครงสร้างของระบบไฟล์ ว่ามีส่วนไหนผิดปกติหรือไม่ เพราะความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์ นอกจากปัญหาความผิดปกติทางกายภาพที่ใช้หัวข้อ DriveTest ตรวจสอบ แต่หากมีปัญหาเรื่องโครงสร้างระบบไฟล์ ก็จะต้องใช้หัวข้อนี้ตรวจสอบกันครับ

    DataAdvison เป็นการขอสร้างแผ่นดิสก์บูตที่มีเครื่องมือการตรวจสอบความผิดปกติทั้งในระดับกายภาพ และโครงสร้างระบบไฟล์ในรูปแบบของแผ่นดิสก์แทน เผื่อใช้ในกรณีที่ฮาร์ดดิสก์ของเราอ่านจะไม่สามารถทำงานได้ แน่นอนครับว่า คุณคงไม่สามารถเข้าสู่วินโดวส์ได้ ก็ใช้แผ่นดิสก์ DataAdvison ทำงานแทนได้


  • ที่มา: http://www.arip.co.th/articles.php?id=405975

    1 ความคิดเห็น: