วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กลยุทธ์การตลาด 3.0 เพื่อการบริหารจัดการห้องสมุดในอนาคต

 

กลยุทธ์การตลาด 3.0 เพื่อการบริหารจัดการห้องสมุดในอนาคต

 
การตลาด 3.0 ได้พัฒนามาจากเทคโนโลยี Web 1.0 และ 2.0 ซึ่งเคยเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการห้องสมุดในอดีต และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่เทคโนโลยี Web 3.0 ในอนาคต ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงโลกการตลาด ก่อให้เกิดแนวคิดการตลาด 1.0 ที่มุ่งเน้นสินค้าและบริการ ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการตลาด 2.0 ที่ มุ่งสร้างความสัมพันธ์และประสบการณ์ร่วมที่ดีกับลูกค้า ปัจจุบันในยุคการตลาด 3.0 เกิดจากความต้องการที่แตกต่างและหลากหลาย โดยเฉพาะการเติบโตของสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่ต้องเข้าถึงความคิดจิตใจของผู้บริโภคและมุ่งเน้นความเป็นตัวตน เอกลักษณ์ ความน่าเชื่อถือของสินค้า เพื่อดึงดูดและครองใจผู้บริโภคให้เกิดความประทับใจและความผูกพันต่อสินค้าหรือองค์กรอย่างยั่งยืนตลอดไป

บัญญัติ 10 ประการ ของ Marketing 3.0 (แนวทางเพื่อให้ได้พื้นฐานทางใจของผู้ใช้บริการ)

1. รักในลูกค้า และ เคารพในคู่แข่ง
- ลูกค้าคือพระเจ้า ผู้ใช้บริการก็เช่นกัน คู่แข่งคือกระจกสะท้อนตัวตนของเรา

2. สร้างแบรนด์ที่ชัดเจน (DNA + Positioning)
- ค้นหาเอกลักษณ์ ความเป็นตัวตนของห้องสมุด (อาจมาจากการสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้บริการ) ดึงสิ่งที่ห้องสมุดทำได้ดีที่สุดออกมาเป็นจุดขาย ทำให้ห้องสมุดของเราแตกต่างจากทางเลือกอื่น หรือ ทางเลือกอื่นเป็นอย่างเราไม่ได้

3. ค้นหาลูกค้าที่จะได้รับประโยชน์จากเรามากที่สุด
- ค้นหาผู้ใช้บริการกลุ่มใหญ่ที่สุดให้เจอ ปรับแนวคิดการบริหารจัดการเพื่อสนองตอบความคิด/ความต้องการของกลุ่มนั้น ๆ อย่างเต็มที่

4. ทำให้ลูกค้าค้นหาเราได้ง่าย
- เพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับห้องสมุด

5. ให้ OFFER ที่คุ้มราคา เหนือความคาดหวัง
- สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ในการใช้บริการห้องสมุด เช่น เปิดบริการ 24 ชั่วโมง บริการน้ำชา-กาแฟ คือทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกว่าที่นี่มีพร้อมทุกอย่าง มาแล้วไม่ต้องไปที่อื่นอีก หรือเสียดายที่ไม่ได้เข้าใช้ เป็นการเพิ่มความหลากหลายให้ชีวิต นอกเหนือจากปัญญา

6. เก็บข้อมูลลูกค้าให้ละเอียด
7. เก็บข้อมูลลูกค้าเชิงลึก
8. ทุกธุรกิจคือการบริการ
9. พัฒนากระบวนการให้รวดเร็ว ครบถ้วน แม่นยำ ตรงเวลา
10. พร้อมเปลี่ยนแปลง
การติดตามข้อมูลข่าวสารในโลกยุคใหม่เพื่อการพัฒนาห้องสมุดเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในทางการตลาดถือว่าข้อมูลข่าวสารเป็นสินค้า หรือผลผลิตเชิงเศรษฐกิจที่มีค่าเพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ

ที่มา ; http://km.oas.psu.ac.th/blog/152

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น