วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หัวข้าที่ 10 การบริการออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับห้องสมุด


การบริการออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับห้องสมุด


ในประเด็นที่สอง ว่าด้วยการบริการออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับห้องสมุด  ประเด็นนี้คงจะต้องขยายความว่า จะมุ่งเห็นบริการโดยไม่ทราบว่าต้องทำอะไรบ้างก่อนหน้านั้นคงจะไม่ได้ บริการออนไลน์กว่าจะเกิดขึ้นได้ ต้องทำบุญล่วงหน้ากันหลายปี นั่นก็คือ การวางแผนให้มี digital contents กันในภาพรวมก่อนครับ หน่้วยงานใดมาพูดเรื่องบริการออนไลน์แบบเอาความโก้เป็นหลัก หน่วยงานนั้นต้องบอกว่า "กลวงโบ๋" เพราะจะจบด้วยการซื้อเครื่องมือ ซื้อโปรแกรม และซื้อเนื้อหาที่เป็น digital content จนกระทั่งเอาตัวไม่รอดแน่นอน   แท้ที่จริงแล้ว หากจะมีบริการออนไลน์ที่ดี เราจะต้องวางแผนสร้าง digital contents ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ และดำเนินการไปอย่างสม่ำเสมอจนเป็นวัฒนธรรม ในประเทศไทย เราใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยเรียงพิมพ์กันกว่า ๓๐ ปีแล้ว แต่การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐานก็เพิ่งจะเริ่มขึ้นเป็นส่วนน้อย ยังคงมีภารกิจที่จะต้องจัดระเบียบให้หนังสือที่อยู่ในช่วงอายุไม่เกิน ๓๐ ปีได้มีโอกาสออกตัวเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บ้าง

สำหรับหนังสือที่เก่าแก่เกิน ๕๐ ปี มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็น eBook ได้ดี เพราะในบรรดาหนังสือเหล่านั้น ลิขสิทธิ์ที่ตกเป็นของทายาทผู้เขียนที่เสียชีวิตไปแล้วก็ทะยอยหมดไป การนำกลับมาถ่ายด้วยเครื่องสแกนภาพหรือกล้องดิจิทัลสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว

ท่านที่สนใจเรื่องพวกนี้ สามารถเข้าไปชมที่โครงการ หนังสือเก่าชาวสยาม ที่ริเริ่มโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ร่วมกับ สวทช. ว่าเราเข้าอ่านหนังสือเก่าๆ ของไทยได้อย่างไร

เมื่อเร็วๆ นี้เอง ทาง สวทช. เอง (โดยศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเนคเทค) ก็ได้มีโอกาสทำงานสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสแกนหนังสือเก่าที่นักอนุรักษ์หนังสือชาวพม่าท่านหนึ่ง (คุณ U Moe Myint) จะทูลเกล้าฯ ถวาย เราจึงเกิดเป็นโครงการความร่วมมือนำระบบสแกนหนังสือจากประเทศไทยที่พัฒนาโดยบริษัท ATIZ สองเครื่อง และระบบของเนคเทคหนึ่งเครื่อง ยกไปทำกันที่เมืองย่างกุ้ง อีกไม่นาน ก็จะมีชุดหนังสือเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วรรณคดี ศิลปะ และมานุษยวิทยากว่าสี่ร้อยเล่ม เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งผมทราบมาว่า ชุดหนังสือดิจิทัลนี้ สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ มีพระราชประสงค์จะพระราชทานให้กับคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ตัวเล่มหนังสือจริงๆ ซึ่งมีค่ามากก็ยังอยู่กับเจ้าของต่อไป แต่เราคนไทย จะเข้าถึงฉบับดิจิทัลได้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ




ท่านทราบไหมครับ ว่า ATIZ เป็นบริษัทของคนไทย บริษัทนี้มีนวัตกรรม สามารถออกแบบและสร้างเครื่องสแกนหนังสือออกมาดีที่สุดในโลก และส่งออกไปยังต่างประเทศจำนวนมาก ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่ามีโครงการสแกนหนังสือเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการ Google Book และความร่วมมือระหว่าง Google กับหลายมหาวิทยาลัย ที่ดูแลหนังสือกว่าแห่งละ ๒๐ ล้านเล่ม หากใครอยากทราบว่าที่ไหนสแกนหนังสือกันมาก ก็คงต้องสอบถาม ดร.สารสิน บุพพานนท์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทแห่งนี้

ทางบริษัทก็เข้ามาร่วมทำงานสนองพระราชดำริโดยการให้ทางพม่าได้ยืมใช้เครื่องสแกนหนังสือเพื่อทำงานในโครงการครับ ขอให้ได้บุญมากๆ และขายเครื่องได้เยอะ ทางสวทช.ก็มีสายการผลิต eBook โดยใช้เครื่องของ ATIZ หนึ่งเครื่อง




                                                                                               ที่มา......http://www.blognone.com/news/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น