วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บรรณารักษ์คิดบวก

บรรณารักษ์คิดบวก


ในช่วงตอนนี้โลกของเรากำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ คนในทุกวงการไม่เว้นแม้แต่ในวิชาชีพห้องสมุดกำลังปรับตัวอย่างรวดเร็วตามสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน เช่น การทำโครงการที่ประหยัดเงินหรือแทบไม่ต้องใช้เงิน โดยสามารถคิดและทำด้วยตัวเอง
 
…ห้องสมุดหลายแห่งทำกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เพื่อเป็นการมองไปข้างหน้า บรรณารักษ์ถูกคาดหวังว่าจะต้องทำงานให้มากขึ้น พร้อมกับทรัพยากรที่ลดลง เราต้องใช้คอมพิวเตอร์ในช่วงระยะเวลาที่นานขึ้น แล้วก็ต้องคิดถึงบริการในเชิงรุกให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน รวมถึงการทำและบริหารโครงการโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มคน แล้วมันเป็นการเพิ่มภาระงานหรือไม่ คำตอบก็คือใช่แน่นอน หลายคนตระหนักว่าปัจจุบันผู้ที่ปฏิบัติในแถวหน้าจะได้รับการพิจารณาเมื่อผ่านงานที่ยาก ๆ ไปได้ และบริการเพิ่มเติมแบบใดจึงจะสามารถตอบสนองผู้ใช้จำนวนมากขึ้นที่ต้องการความช่วยเหลือล่ะ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว นักศึกษาสาขาบรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์จะทำอย่างไรจึงจะสนองตลาดงานแบบนี้ได้

…ในขณะนี้มีการเปิดสอนวิชา Library 2.0 และเทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายสังคม โดยนักศึกษาจะได้รับการสนับสนุนให้ทดลอง เล่น และคิดเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับการปรับปรุงบริการในโลกที่เปลี่ยนไป คำแนะนำเหล่านี้จะช่วยนักศึกษาในตลาดงานได้ไม่มากก็น้อย

1. ทำปัญหาให้เป็นโอกาส ให้พิจารณาประเด็นที่มีผลกระทบต่อห้องสมุดในขณะนี้ เช่น เศรษฐกิจ อุปกรณ์แปลงผันใหม่ๆ และ digital streaming and download ให้ดูว่านักคิดเชิงนวัตกรรมทำได้อย่างไรโดยไม่เจอกับปัญหา

2. อย่าหยุดยั้งที่จะเรียนรู้ ทีละน้อย ค่อยๆ เรียนรู้ ผ่านการสะดุดและความสำเร็จ วิธีการกำหนดปัญหาและค้นพบวิธีแก้ไขผ่านทางหลักฐานและความคิดของตนเอง หากสามารถเขียนเรื่องราวบน Facebook ได้ จากนี้ก็จะสามารถเขียนลงบนสื่อใด ๆ ก็ได้

3. อยากรู้อยากเห็น เซ็ธ โกดิน (Seth Godin) กูรูด้านการตลาดแนะนำว่า “การอยากรู้อยากเห็นหมายถึงการสำรวจตั้งแต่แรก” ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ๆ ควรเน้นที่ลักษณะแบบนี้ และให้ใส่ไว้ในใบสมัครงาน โดยอาจเขียนว่า “ฉันอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับการที่ห้องสมุดและบรรณารักษ์สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงโลก อย่างน้อยผู้ใช้ห้องสมุดหนึ่งคนก็ได้”

4. มุ่งเน้นที่ใจ ไม่ว่าจะหางานได้หรือไม่ ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ควรจำไว้ว่าต้องมุ่งเน้นที่ตัวมนุษย์ แคเร็น ชไนเดอร์ (Karen Schneider) เตือนเราว่า “ผู้ใช้คือดวงอาทิตย์” หากเราสามารถช่วยเหลือผู้ใช้ให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดได้ ความต้องการสารสนเทศที่พึงใจ หรือช่วยเหลือเรื่องการเชื่อมต่อทางสังคม นั่นก็หมายความว่าเราเข้าถึงใจได้แล้ว
ผู้บริหารห้องสมุดกำลังต้องการจ้างคนที่ไม่ใช่มีแค่ความเข้าใจเชิงปรัชญาที่ดีเกี่ยวกับบทบาทและจุดมุ่งหมายของห้องสมุดเท่านั้น แต่ยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับงานบริการลูกค้าที่ต่อเนื่องด้วย บรรณารักษ์ไม่ใช่แค่อ้างกฎ 5 ข้อ ของแรงกานาธาน (Ranganthan’s five laws) เท่านั้น ยังต้องเข้าใจการบริการลูกค้าและยินดีที่จะทำทุกอย่างที่โถมเข้าหาตัว ไม่ว่าการนำหนังสือขึ้นชั้น การจำหน่ายออก การทำงานเสมียน หรือการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง นั่นก็คือการปรับตัวได้ง่ายและมีความยืดหยุ่น ให้ช่วยเหลือที่คุณจะช่วยได้และสนองความต้องการของผู้ใช้
บรรณารักษ์และผู้บริหารควรมีความจริงใจและเปิดกว้างกับบรรณารักษ์ใหม่ บ่อยครั้งเรามักคล้ายกับพยายามทำทุกอย่าง และทุกอย่างที่ทำก็ประสบความสำเร็จ ซึ่งบางครั้งมันไม่ใช่ เราควรเรียนรู้จากความพยายามเหล่านี้และทำให้ดีขึ้น โดยเฉพาะบรรณารักษ์ใหม่นั้นต้องการการสนับสนุนที่จริงใจ ไม่ใช่เรื่องเล่าเพ้อฝันของอดีตยุคก่อนๆ
 
 

4 ความคิดเห็น:

  1. เหมือนคุณสมบัติของนางงามเลยต้องคิดบวก ชอบค่ะ เพราะบรรณารักษ์เป็นงานบริการต้องใช้ความใจเย็นเเละคิดดี

    ตอบลบ
  2. เหมือนเป็นการสอนให้คิดว่าวิชาชีพบรรณารักษ์เมื่อเรามีความคิดในทางบวกก็ทำให้อาชีพบรรณารักษ์น่าสนใจไม่น้อย อ่านแล้วรู้สึกว่าชอบบทความนี้ค่ะ

    ตอบลบ
  3. อ่านแล้วรู้สึก ชอบบทความนี้ เพราะ การเป็นบรรณารักษ์ต้องคิดในทางบวกอยู่ตลอดเวลา ถึงจะทำให้งานพัฒนาเพิ่มขึ้น

    ตอบลบ