วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การใช้เครื่องมือทางสารสนเทศยุคใหม่


          เรื่องการใช้เครื่องมือทางสารสนเทศ ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ให้ความเห็นไว้ในการสัมภาษณ์เรื่อง มุมมองและความคิดการสร้างวัฒนธรรมการอ่านในสังคมไทย ใน 'หนังสือ' วารสารเพื่อส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหนังสือไทย สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 46 ปีที่ 10 พ.ศ.2555 ไว้ตอนหนึ่งถึงประสบการณ์เรื่องการสอนหลานใช้ไอแพดและปลูกฝังการอ่านไปพร้อมกันว่า '...หลานของดิฉันก็คงเหมือนเด็กทั่วไปที่เล่นไอโฟนตั้งแต่อายุ 6-7 เดือน แม้ว่าไม่อยากให้เขาเล่นแต่เขาเห็นเราใช้ก็อยากเข้ามาเล่นพวกโทรศัพท์ทั้งหลายนี่ เพราะฉะนั้นช่วงที่เขาอายุขวบกว่า ๆ เขาจะ ชอบไอแพดมาก ต้องยอมรับว่ามีโปรแกรมที่ตื่นตาตื่นใจ ตอนแรกๆ ก็ชอบโปรแกรมที่มีเสียงร้องของสัตว์ต่างๆ เรียกว่าอะไรก็ทำเสียงได้ก็มีปรากฏในโปรแกรมนี้ทั้งนั้น 'ต่อมาเขาเปลี่ยนไปเรื่อย ดิฉันก็สังเกตว่า การเรียนรู้ผ่านสื่อของเขาในลักษณะนี้ต่างจากการเรียนรู้ผ่านตัวหนังสือ คือเวลาที่เขาเรียนรู้เรื่องเหล่านี้เขาจะตื่นตาตื่นใจ แล้วต้องการให้ไปเร็วๆ เร็วได้เท่าไหร่ยิ่งดี แต่เวลาเขาอ่านหนังสือก็จะไปช้า ๆ ดูรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ หนอนตัวเล็กๆ ดอกไม้ดอกเล็กๆ ตัวเล็กๆ   ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้ทำงานอย่างประณีต ต่อไป...
'ปัจจุบันเขาเกือบ 3 ขวบแล้วเขาก็เล่น ไอแพดน้อยลงไปเยอะมาก ทุกคืนเขาจะขอหนังสืออ่าน ถ้าวันไหนไม่ได้หนังสือ 3 - 4 เล่ม วันนั้นจะไม่ยอมนอน... 'ดิฉันคิดว่าพวกแท็บเล็ตต่างๆ ก็มีประโยชน์ปฏิเสธไม่ได้เช่นกัน เขาสามารถเรียนรู้สัญลักษณ์ต่างๆ ได้เร็วมาก  ทั้งที่เขาเล็กอยู่เขาสามารถค้นพบว่า อยากให้เครื่องมือทำอย่างนั้นต้องกดปุ่มนี้โน้นนั้น  ซึ่งดิฉันก็ไม่ปฏิเสธ แม้ว่าจะเป็นห่วงเรื่องสายตา ท่านั่ง แต่เนื่องจากเขาไม่ได้ติดแบบงอมแงมแล้วก็ยังชอบหนังสือ'

            วันนี้ tablet  ชั้นป.1 รุ่นแรก มาถึงโรงเรียนแล้ว  ซึ่งจะอบรมให้ครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียน ให้สามารถใช้ได้อย่างคุ้มประโยชน์ ในวันที่ 2 ,3 และ 7 กันยายน 2555  นี้  ผู้เขียนขอฝากให้โรงเรียนได้กรุณาใช้กระบวนการเรียนการสอนที่ สอดคล้องกับการวัดประเมินผลความรู้เด็ก  ซึ่งอาจใช้ ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theoryที่หลากหลาย  เพราะการเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน  ตัวย่างเช่น
            การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
                    1.การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
                    2.บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
           ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (Gagne)การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
                   1.การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
                   2.การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
                   3.ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
                  4.ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
                  5.การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
                 6.การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
                 7.การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
          องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จากแนวคิดนักการศึกษา กาเย่ (Gagne) ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้
                1.สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
               2.การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ (Gagne)
               3.เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
               4.ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
               5.บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
               6.กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
              7..เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
              8..การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
              9.การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
             10.การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
              11.การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
              12.การนำไปใช้กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม
                ขอให้โรงเรียน คุณครู ท่านผู้บริหารและนักเรียน จงมีความสุขในการเรียนการสอนและการใช้เครื่องมือทางสารสนเทศยุคใหม่

  
 ที่มา http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=42018282

2 ความคิดเห็น:

  1. ได้มีการแนะนำการใช้เทคโนโลยี และยังบอกถึงทฤษฎีต่างที่น่าสนใจเป้นอย่างยิ่ง

    ตอบลบ