วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ห้องสมุดมีชีวิต



ห้องสมุดมีชีวิต 
ความหมาย
           ห้องสมุดที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ มีหนังสือที่อยากอ่าน มีกิจกรรมที่อยากทำ ได้เห็นสิ่งที่อยากเห็น และมีบรรยากาศที่เป็นใจ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
องค์ประกอบของห้องสมุดมีชีวิต
  • องค์ความรู้ ( Knowledge ) ประกอบด้วย ข้อมูลสารสนเทศ ทั้งที่เป็นข้อมูลประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย ครบถ้วน ตามความต้องการ
  • สภาพแวดล้อม ( Environment ) พื้นที่ห้องสมุด มีการจัดมุมความรู้ มุมบริการ และมุมกิจกรรมต่าง ๆ สอดคล้องและเหมาะสม ที่นั่งอ่าน บรรยากาศสบาย เป็นกันเอง
  • ระบบเทคโนโลยี ( Technology ) มีระบบจัดการและบริการโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยค้นได้สะดวก รวดเร็ว เช่น การลงทะเบียน การยืม - ส่งหนังสือ การค้นหาหนังสือต่าง ๆ เป็นต้น
  • บรรณารักษ์ / ผู้ให้บริการ ( People ) มีใจรักในการให้บริการ มีอัธยาศัยไมตรี ยิ้มแย้มแจ่มใสและมีความสุขในการทำงาน
  • ระบบ ( System ) มีการจัดระบบองค์ความรู้ให้เป็นระบบและช่องทางในการเข้าถึงบริการและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการอ่าน การจัดกิจกรรมดนตรีในห้องสมุด การจัดมุมดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมต่าง ๆ เป็นสัดส่วนและเอื้ออำนวยแก่ผู้ใช้บริการ
เป้าหมายของการจัดห้องสมุดมีชีวิต
  • มีสารสนเทศ เป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการ
  • ผู้ใช้บริการและผู้บริการ มีความสุข
  • มีความสนุก สะดวก สบาย ในการใช้ห้องสมุด
  • มีความใกล้ชิดกับชุมชน
วิธีทำให้ห้องสมุดมีชีวิต
  • มี นโยบาย แผนงาน / โครงการที่ชัดเจน
  • มีการบริหารจัดการ ในเรื่องของ งบประมาณ / บุคลากร / วัสดุครุภัณฑ์ / ระบบงานและเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างเป็นระบบ
  • มีการจัดบริการ / จัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านที่หลากหลาย เป็นประจำ
  • มีมุมต่าง ๆ เช่น มุมสบาย มุมแนะนำหนังสือใหม่ มุมนิทรรศการ มุมเพลง มุมเกม มุมดูหนัง มุมอินเตอร์เน็ต ฯลฯ
  • มีการประชาสัมพันธ์
บทบาทของสถานศึกษาในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้มีชีวิต
  • กำหนดนโยบายการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้ชัดเจน
  • ดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการ
  • ศึกษา / สำรวจสภาพห้องสมุดโรงเรียนเพื่อพัฒนาให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต
  • จัดทำแผนงาน / โครงการพัฒนาห้องสมุดให้มีชีวิต
  • จัดบุคลากรในการดำเนินงานเต็มเวลา เช่น เจ้าหน้าที่ห้องสมุด บรรณารักษ์ ฯลฯ
  • จัดครูผู้จัดกิจกรรมรักการอ่านประจำวัน (แยกเป็นสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ) หมุนเวียนสลับกันไปจัด ในห้องสมุดโรงเรียน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ฯลฯ
  • ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างสม่ำเสมอ
  • ประเมินผลการดำเนินงาน ภายในสถานศึกษาและร่วมประเมินการดำเนินงานกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน และขยายผลไปยังสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษาต่อไป
สรุป
           ห้องสมุดมีชีวิต ยังคงมีหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์  แต่ต้องทำให้ "ตัวหนังสือ" เป็นเสียง เป็นภาพ ผสมผสานให้ลงตัวรวมทั้ง อาคารสถานที่ควรดูสดใส บรรยากาศที่เอื้อต่อความมีชีวิต

ที่มา : http://www.udompanya.in.th/content.php?content_id=6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น