วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บรรณารักษ์คือใคร?
04ต.ค.07
บรรณารักษ์ทำงานแบบไหน
บรรณารักษ์มีหน้าที่ช่วยให้คนทราบข้อเท็จจริง จัดหาสารสนเทศและค้นทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ทั้งหนังสือ วารสาร เว็บไซต์และสารสนเทศอื่น ๆ พิจารณาหนังสือ นิตยสาร ภาพยนตร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยการจัดซื้อ จัดการหนังสือและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการ ส่วนใหญ่ทำงานเป็นกลุ่มหรือหน้าที่รับผิดชอบจะเกี่ยวข้องกัน เช่น บรรณารักษ์บางคนทำงานเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะสาขา เช่น ศิลปะ งานที่เกี่ยวกับเด็ก การอ่านและการสอนเกี่ยวกับหนังสือ การวิจัย บรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชน ทำงานในโรงพยาบาล ธุรกิจ และสถานที่อื่น ๆ ที่ผู้คนต้องการค้นหาสารสนเทศด้วยความรวดเร็ว ปัจจุบัน ห้องสมุดส่วนใหญ่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้สำหรับการปฏิบัติงาน จนบางครั้งสามารถพัฒนาฐานข้อมูลและเว็บไซต์ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ
บรรณารักษ์บางคนมีบทบาทเป็นผู้จัดการ จัดทำงบประมาณและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเป็นทำหน้าที่แนะนำผู้ใช้ที่ทำงานในห้องสมุด มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งโต๊ะทำงานและใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และใช้เวลาเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ และส่วนใหญ่มักจะชอบงานที่ทำ การทำงานทั้งไม่เต็มเวลาและเต็มเวลา และบางคนสามารถทำงานวันหยุดสุดสัปดาห์และตอนเลิกงานได้ หากเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนทำงานในช่วงที่โรงเรียนเปิดเรียน และมักจะได้หยุดเมื่อปิดภาคการศึกษา

ความพร้อมในการจะเป็นบรรณารักษ์

จะเป็นบรรณารักษ์ได้ก็ต่อเมื่อได้การศึกษาระดับปริญญาตรีด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ใช้เวลาเรียนประมาณ 4 ปีในระดับอุดมศึกษา หากเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมักจะต้องมีรายวิชาหรือเกียรติบัตรด้านการสอนด้วย และคนที่จะเป็นบรรณารักษ์ได้ดีควรจะรักการอ่านและการทำวิจัย และต้องมีทักษะคอมพิวเตอร์ด้วย


อนาคตของอาชีพบรรณารักษ์
โอกาสงานด้านบรรณารักษ์คาดว่าจะไปได้ดีระหว่างปี 2004 และ 2014 เพราะบรรณารักษ์ในปัจจุบันจะเกษียณ จำนวนงานด้านนี้จะเติบโตอย่างช้า ๆ และมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอาชีพอื่น ๆ หลังจากผ่านปี 2014 ไปแล้ว
งานที่คล้ายคลึงกัน
คล้ายกับนักจดหมายเหตุ ภัณฑารักษ์และเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ นักคอมพิวเตอร์ บรรณาธิการ (ผู้ช่วยทำสิ่งพิมพ์) ตัวแทนขายสารสนเทศประเภทต่าง ๆ นักวิเคราะห์ผลการวิจัยดำเนินงาน และผู้จัดการเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูล


ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database administrators)
ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องจัดการกับข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้า สต๊อกสินค้า และโครงการต่าง ๆ ในวงการอุตสาหกรรม สถานที่ทำงานจะเป็นห้องทำงานหรือห้องปฏิบัติการ ส่วนใหญ่ทำงานมากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และส่วนใหญ่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์และมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา หลัง มือและเอว


ผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ (Desktop publishers)
มีการใช้ซอฟต์แวร์ ทำงานระหว่างทรัพยากรฉบับพิมพ์ รูปภาพและแผนภูมิเพื่อเตรียมผลิตสิ่งพิมพ์ให้อยู่ในรูปดิจิตัล รวมทั้งการออกแบบและพัฒนาการนำเสนอเพื่อจัดทำเป็นสิ่งพิมพ์รูปแบบต่าง ๆ มักจะมีหน้าที่ในการแก้ไขและจัดรูปแบบและหน้าสิ่งพิมพ์และออกแบบสิ่งพิมพ์ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำงาน มีชื่อเรียกต่าง ๆ แล้วแต่หน่วยงานใดจะกำหนดขึ้น มักใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันและ 5 วันต่อสัปดาห์หรืออาจต้องทำงานช่วงกลางคืนหรือวันหยุดที่งานเร่งมาก และมักต้องทำงานอยู่ในภาวะกำหนดเวลาสุดท้ายที่ต้องทำให้เสร็จ
นักวิเคราะห์ระบบ (Systems analysts)
เป็นผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ข้อมูลสำหรับการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ทำงานตามความต้องการของลูกค้าและวางแผนโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผล และหลังจากนั้นจะเริ่มวางแผนเป็นขั้นตอนและพิจารณาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการดำเนินงานหรือประมวลผล งานหลักก็จะทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์และเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมักจะทำงานอยู่ในสำนักงานหรือห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอยู่ที่บ้านก็ได้ และมักจะทำงานเป็นทีม
ครู
มีหน้าที่สอนให้เด็กอ่าน เขียน คำนวณ โดยมักจะใช้เกมส์ สื่อการสอน คอมพิวเตอร์สอนนักเรียนรายวิชาต่าง ๆ สอนเนื้อหาต่าง ๆ มักจะต้องเตรียมตัวก่อนสอนเสมอเพื่อให้เด็กเข้าใจง่าย ครุมักจะทำงานที่บ้านและสอนในชั้นเรียน ครูจะต้องมีทักษะเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก ส่วนใหญ่มักจะสอนมากว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่มีช่วงปิดภาคการศึกษาที่ไม่ต้องทำงาน
นักเขียนและบรรณาธิการ
นักเขียนเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจเขียนเป็นหนังสือหรือบทความลงในวารสารหรือหนังสือพิมพ์ วิทยุหรือโทรทัศน์ก็ได้ โดยบรรณาธิการจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าผู้เขียนเขียนได้ดีหรือไม่ ผู้เขียนมักจะได้ข้อมูลจากการมองหาหรือทำการวิจัยที่ห้องสมุด หรืออาจจะเป็นการสัมภาษณ์ นักเขียนเขียนบางสิ่งบางอย่างและ และเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาจนกว่าจะรู้สึกว่าพอใจ บรรณาธิการจะเขียนบอกเล่าความรู้สึกกับสิ่งที่ต้องการถ่ายทอด และช่วยให้คนอื่นมีงานทำ และหากเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของงานต้นฉบับเกี่ยวกับไวยากรณ์ การเว้นระยะหรือการสะกดคำ เพื่อให้แน่ใจว่าหนังสือหรือวารสารนั้นมีเนื้อหาถูกต้องและอ่านง่าย สถานที่ทำงานของนักเขียนหรือบรรณาธิการมักจะทำงานในที่มีความเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน หรือบางคนอาจจะต้องเดินทางท่องเที่ยวเพื่อให้ได้ข้อมูล และติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์หรือไปยังห้องสมุด มักจะทำงาน 35-40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และทำงานช่วงกลางคืนหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย นักเขียนมักต้องทำงานล่วงเวลาหรือต้องทำงานในภาวะกำหนดเวลาสุดท้ายที่ต้องทำให้เสร็จหรือต้องปิดต้นฉบับซึ่งทำให้เกิดความกดดันเสมอ
อ้างอิงจาก http://www.bls.gov/k12/reading04.htm

ที่มา   http://bannarakblog.wordpress.com/2007/10/04/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น