วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook


“ปัญหาเรื่องพื้นที่จัดเก็บหนังสือ วารสาร ฉบับย้อนหลัง (เนื่องจากห้องสมุดเล็ก)” ผลสรุปมีดังนี้- จำหน่ายวารสารย้อนหลังออก แล้วหันมาใช้ e-journal แทน
- กระจายตู้หนังสือออกไปบริเวณอื่นๆ ในหน่วยงานก็ได้ เช่น มุมตามทางเดินโรงพยาบาล หรือ มหาวิทยาลัย
“คุณอยากให้ ในห้องสมุด มีอะไรพิเศษ?” ผลสรุปมีดังนี้- มีบริการสำหรับคนพิเศษ (ผู้พิการรูปแบบต่างๆ)
- ให้อารมณ์แบบ “บ้าน”
- บรรณารักษ์สวยๆ ^_^
- บรรยากาศแบบห้องนั่งเล่น สบายๆ อยากทำอะไรพร้อมๆ กับอ่านหนังสือก็ทำได้
- สถานที่กว้างๆ มุมสงบ ๆ เงียบ ๆ ที่ไม่แคบๆ เหมือนมุมอ่านหนังสือ ที่มองไปทางไหนก็มีแต่หนังสือ
- โปรโมชั่นพิเศษ เช่น Loan 5 Get 1 Free! ช่วงคริสมาสต์ หรือวันฮาโลวีนปล่อยผี discountค่าปรับ10-20%ถ้าจับสลากพิเศษได้
“จะทำอย่างไรให้คนหันมาเข้าห้องสมุดกันเยอะๆ”  ผลสรุปมีดังนี้- ต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้น่าสนใจและต่อเนื่องด้วย และมีของรางวัลให้ด้วย
- ห้องสมุดออนไลน์ อีบุ๊ค e-Book เทคโนโลยีมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น
- กิจกรรมbook forward : หนังสือดีต้องบอกต่อ
- บริการ Document Delivery Service ซึ่งไม่ต้องเดินมาห้องสมุด
- เพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์ ที่จะรองรับนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ebook
- รักษาฐานเดิมของผู้ใช้ที่มั่นคงกับห้องสมุดไว้ให้ได้ พร้อมๆ กับหาวิธีขยายไปยังกลุ่มที่ไม่ใช้ให้เข้ามา ชอบวิธีการทำกิจกรรมที่ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมค่ะ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง
- ห้องสมุดจะเปิดเพลงเบาๆไปด้วยครับ สร้างบรรยากาศ
 “e-book จะแทนที่หนังสือ ในมุมมองของบรรณารักษ์ท่านคิดอย่างไรบ้างคับ”  ผลสรุปมีดังนี้- ลดโลกร้อนได้เยอะ ทำให้เด็ก ๆ ไม่ต้องหิ้วหนังสือน้ำหนักเยอะ ๆ ครับ มีอีกเยอะครับประโยชน์
- แทนกันไม่ได้หรอก เพราะผู้ใช้หลายคนชอบที่จะสัมผัสตัวเล่มหนังสือ เรื่อง E-book เป็นแค่ตัวเสริมในการบริการ
- ต่างเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งรูปแบบ การใช้ การทำงาน และกลุ่มเป้าหมาย ไม่มีอะไรแทนที่อะไรได้ทั้งหมด
- อย่าลืมเรื่องลิขสิทธิ์
- มีได้ ใช้ได้ แต่แทนกันไม่ได้หรอก
- หนังสิออ่านได้ทุกที่ แต่ E-Book ถ้าไม่มีเครื่องมือก็อ่านไม่ได้
 “ความเสี่ยงของห้องสมุดมีอะไรบ้าง” ผลสรุปมีดังนี้- ด้านคน (คนไม่พอ,ขาดทักษะการทำงาน) ด้านการทำงาน (อุบัติเหตุในการทำงาน) ด้านงบ (ได้งบประมาณจำกัด,งบไม่พอ,ข้าวของแพงขึ้นทุกปี) ด้านการบริหาร (ไม่ได้รับการสนับสนุน,ผู้บริหารหรือคนนอกไม่เข้าใจงานของเรา)
- ตัวอย่างการแบ่งประเภท เช่น ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพ, ความเสี่ยงด้านการเรียนการสอน, ความเสี่ยงด้านบริหารจัดการ, ความเสี่ยงด้านสารสนเทศ, ความเสี่ยงทางกายภาพ/อุบัติภัย, ความเสี่ยงด้านจรรยาบรรณ, ความเสี่ยงของการปฏิบัติงาน, ความเสียหายด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อม
- ในภาวะโลกวิกฤติแบบนี้ อย่าลืมระบุความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วม
- ความเสี่ยงด้านการลงทุน ทุ่มเทกับทรัพยากรไปมากมาย แต่ผู้ใช้ไม่มาใช้
เป็นไงบ้างคะกับเรื่องที่นำเสนอวันนี้..เอาเป็นว่าถ้ามีประเด็น เรื่องที่น่าสนใจ น้องแตงจะนำมาเสนอชาวบล๊อกหอสมุดกลางกันอีกนะคะ^__^
*********************************
ที่มาแหล่งข้อมูล:   http://www.libraryhub.in.th/2011/01/15/summary-librarian-in-thailand-at-facebook-2-54/.

1 ความคิดเห็น:

  1. ชอบบทความนี้ค่ะ ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ นอกจากนี้ยังได้รับรู้ข่าวสาร ข้อเสนอแนะต่างๆเพื่อที่เราจะได้นำมาแก้ไขปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้น

    ตอบลบ