วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ห้องสมุดในฝัน ที่สามารถเป็นจริงได้


ห้องสมุดในฝัน ที่สามารถเป็นจริงได้


ห้องสมุดที่อยากให้เป็นจริงได้ในบ้านเรา ก็คือ Yonsei University Library เขามีสโลแกนของมหาวิทยาลัยว่า  the first & the best  ด้วยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศเกาหลี และเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ที่สถาปนาขึ้นในปี 1885 แล้วการเป็น Yonsei University Library จะทำหน้าที่ให้ดีอย่างนี้ได้อย่างไรเพื่อจะสนับสนุนสโลแกนดังกล่าว  นี่ก็ถือว่าที่นี่เป็นห้องสมุดในฝันของบ้านเราก็ได้นะ และห้องสมุดในฝันนี้ก็สามารถจะทำให้เป็นจริงได้  หากว่าเราพร้อมอย่างเขา ทั้งงบประมาณ ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ  เพราะหากว่าเราจัดไว้อย่างพร้อมและน่าใช้  แต่หากผู้ใช้ไม่ได้มีความรู้สึกว่าอยากเข้ามาใช้ก็เท่านั้น  และหากองค์ประกอบทั้งหมดไปด้วยกัน ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ  โดยเฉพาะในมุมมองของพัฒนาการบริการห้องสมุดให้เป็นหน่วยสนับสนุนการเรียน การสอน ที่ดีได้อย่างไร

ด่านแรกที่เราตัดสินใจว่าจะเข้าไปดีหรือไม่  ก็น่าจะเป็นอาคาร  อาคารห้องสมุดที่ดี ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะเน้น electronic  แต่อาคารก็จะต้องกว้างและโปร่ง  เดินเข้าไปแล้วรู้สึกโอ่โถง  สบายตา สบายกาย และสบายใจและอยากจะอยู่นาน ๆ  และมีบรรยากาศเหมือนกับอยู่ในศูนย์การค้าใหญ่ และสามารถทำกิจกรรมและมีอาหารให้รับประทานระหว่างอยู่ที่นั่นด้วย นอกจากนี่จะต้องมีโซนที่ผู้ใช้สามารถเลือกตามความชอบของตัวเองด้วยว่าอยากจะศึกษาหาความรู้ อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ หรือว่าอยากจะนันทนาการ  หรือจะทำหลาย ๆอย่างไปด้วยกัน  ที่นี่ก็มีทางเลือกให้ทั้งหมด  เลือกได้ตามความชอบจะทำให้มีความรู้สึกอยากใช้เวลาอยู่ที่นี่ได้นาน ๆ  และมีความสุขที่จะเข้ามาใช้บริการ

ถัดมากจะเป็นประตูทางเข้า ก็เหมือนกับบ้านเรา แต่มีจำนวนมาก เป็นการยินดีต้อนรับด้วยความเต็มใจ และมีเคาน์เตอร์ให้บริการอยู่ด้านข้าง  คอยให้บริการและแนะผู้ใช้ที่เพิ่งจะเดินเข้าไป  การเข้าใช้ก็แสนจะง่ายโดยผู้ใช้ก็ใช้สมาร์ทการ์ดวางลงก็สามารถเข้าได้สบสย ๆ เหมือนกับเดินทางด้วยรถไฟฟ้า และไม่มีเสียงดังของเหล็กกั้นประตูทางเข้า 
และในส่วนของการให้บริการ  Yonsei University Library  บริการของเขาน่าสนใจมาก ๆ  

 Research Support Services เป็นบริการช่วยการค้นคว้าเพื่อการวิจัยยนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยในมหาวิทยาลัย โดยมีบุคลากรในสาขาวิชาเฉพาะต่าง ๆ เป็นบรรณารักษ์ หรือที่เรียกว่า (Subject librarians) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำและสาธิตการสืบค้น ช่วยการวางแผนการสืบค้น  เพราะภารกิจของมหาวิทยาลัยเน้นการวิจัยเป็นหลักด้วย

One-stop services Center เป็นการนำเอาบริการต่าง ๆ มารวมไว้ที่แห่งเดียวเช่น บริการนำส่งเอกสาร (DDS) บริการยืมระหว่างห้องสมุด (ILL) บริการรับคืน การรับหนังสือจอง บริการศิษย์เก่า (Alumni Services) ดูไปก็คล้ายกับบ้านเรา  แต่บริการของเขาเขาชัดเจนในเรื่องการสื่อสารกับผู้ใช้  คือมาจุดเดียวคุณก็ได้ทุกอย่างที่ปรารถนา  

e-book/e-journal/e-newspaper มีให้บริการมากมายบนเว็บไซด์ห้องสมุด โดยรวมทุกชื่อที่ได้รับมาจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน และทำให้สามารถสืบค้นบทความในวารสารเหล่านั้นได้พร้อมกัน และใช้จอขนาดใหญ่ระบบสัมผัสช่วยให้เพลิดเพลิน
ในการสืบค้น

 Memoboard  เป็นบริการการของห้องสมุดที่สุดยอดมากในความคิด  ถือเป็นบริการรูปแบบใหม่ที่นำสารสนเทศที่สื่อเปิดอ่านได้ที่จอสัมผัส และสามารถส่งข้อความแบบปกปิดให้เฉพาะคนก็ได้เช่นกัน  หรืออยากจะประกาศแจ้งของที่พบในห้องสมุด (Lost&Found) ก็นำมาประกาศที่เดียวกันด้วย และสีสันสดใสเหมาะกับความต้องการของวัยรุ่น
Magic Mirror เป็นแนวคิดคล้าย ๆ ห้องสมุดหลายแห่งในประเทศไทย
ที่นำข้อมูลทันสมัยไปติดตามหน้าห้องน้ำ แต่ที่ห้องสมุดนี้นำเทคโนโลยีมาติดตั้งในกระจกเงา เพื่อผู้ผ่านไปมามักจะส่องกระจกดูตนเองว่าเป็นอย่างไร  ก็จะได้รับรู้ข่าวสารโดยบังเอิญ  ข้อมูลหรือข่าวสารที่นำมาเป็นตัววิ่งคัดสรรมาจากข้อมูลเว็บไซด์เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา พยากรณ์อากาศ เป็นต้น  ส่วน Newspaper ก็เช่นเดียวกัน แทนที่จะบอกรับหลายฉบับ ก็นำหนังสือพิมพ์ฉบับอิเล็คทรอนิกส์นำเสนอผ่านจอสัมผัส สามารถเปิดอ่านได้ตามสะดวก จะอ่านปัจจุบันหรือย้อนหลังก็ได้ และยังมี Digital Books หรือ e-book ให้ผู้อ่านได้ยืนอ่านหนังสือจากหน้าจอที่ได้มาจากการสแกนหนังสือใหม่มานำเสนอผ่านหน้าจอสัมผัสได้ เป็นการบริการแบบสะดวกจริง ๆ  ซึ่งหากจะทำได้ก็ต้องลงทุนสูงพอควร

 นอกจากนี้ในห้องสมุดยังมีการการจองที่นั่ง   ทุกที่นั่งในห้องสมุดก่อนไปนั่ง ใครจะไปใช้ห้องแบบไหน ก็ต้องจองก่อน และที่สำคัญก็คือเปิดบริการ 24 ชั่วโมงได้ทุกวันตามวันที่ห้องสมุดเปิดให้บริการ

U Table หรือโต๊ะแลกเปลี่ยนข้อมูล  แชร์ไฟล์กันได้โดยใช้หน้าจอแทนโต๊ะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เป็นการเรียนรู้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี  และนอกจากนี้ก็ยังสามารถเล่นเกมส์และชาร์ทโทรศัพท์ได้ด้วย
MOD ให้บริการ (Multimedia On Demand) เป็นบริการมัลติมีเดียตามคำร้องขอ  ประกอบด้วย ภาพยนต์  VDO Clip ภาพนิ่ง ตัวอักษร และ IPTV ซึ่งแสดงภาพบน LCD ขนาด 32 นิ้ว และควบคุมโดยจอขนาดเล็ก 8 นิ้วบนโต๊ะ เนื้อหาใน MOD นั้นจะเป็น e-book/e-newspaper ซึ่งผู้ใช้ก็สามารถค้นหา และยืนอ่านได้จากหน้าจอ LCD แบบสัมผัส สามารถพลิกหน้าหนังสือได้เหมือนการอ่านหนังสือจริง
และที่น่าสนใจอีกบริการ ก็คือ  Global PC Island เป็นกลุ่มคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งภาษาต่าง ๆ ไว้เพื่อให้บริการนิสิตต่างชาติ ทั้งแถบตะวันตกและเอเชียเอง

และส่งท้ายด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยผ่อนคลายผู้ใช้ด้วยเกมส์ต่าง ๆ รวมถึงมุมบ่อปลาที่เราสามารถเล่นกับปลาในบ่อได้ด้วยปลายนิ้วสัมผัสและเพลิดเพลินไปกับการจับปลาให้ได้สักตัวก็ยังดีนี่คือห้องสมุดที่ต้องการความเป็นหนึ่งด้วยการใช้เทคโนโลยีตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อีกแห่งหนึ่ง  ที่ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ถึงความสะดวกสบายและได้ตามต้องการ  และหากว่าบ้านเรามีผู้สนับสนุนอย่างจริงจังอย่างยักษ์ใหญ่ SUMSUNG บ้านเขา  ก็คงจะดีไม่น้อยเลยทีเดียว

 ส่วนระบบความปลอดภัยก็ดีเยี่ยม เขามีกล้อง cctv ในห้องสมุดหลายตัว และในที่ลับตาคนหน่อยก็จะมีปุ่มขอความช่วยเหลือ เช่น ในห้องน้ำ โดยในห้องควบคุมจะมีเจ้าหน้าที่ประจำ คอยตรวจดูความเคลื่อนไหวจากกล้อง cctv  อยู่ตลอดเวลา หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดจะได้เข้าช่วยเหลือได้ทันเวลา

 นี่เป้นที่นั่งอ่านที่แสนจะสบาย และเป็นส่วนตัว  สามารถเลือกได้ตามใจชอบ  
และเป็นอีกหนึ่งเกมส์  เกมส์จับปลาที่มีให้เลือกได้หลายจุด

ที่มาhttp://clm.wu.ac.th/wordpress/?p=386

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น