วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาชีพบรรณารักษ์

ไม่ใช่แค่ "คนเฝ้าหนังสือ" หรอกนะ จำไว้!!!

....บรรณารักษ์สมัยใหม่ ไม่ใช่เพียงแต่รู้เรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่จะยังรู้วิธีการแจกจ่ายข้อมูลที่มีประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสม....


ในปัจจุบันนี้ นับได้ว่าเป็นยุคที่เทคโนโลยีสารนิเทศ
และเทคโนโลยีการสื่อสารได้เจริญ
ก้าวหน้าไปมากกว่ายุคที่ผ่านมา
ห้องสมุดก็ได้มีการเปลี่ยนระบบการจัดการ
และการจัดเก็บเพื่อให้บริการได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบต่างๆ
หากจะเปรียบห้องสมุดเป็นเครื่องจักรที่ทำงานตลอดเวลา
จากยุคหนึ่งสู่อีกยุคหนึ่งจนกระทั่งปัจจุบันนี้
บรรณารักษ์ก็คงไม่ต่างอะไรกับฟันเฟืองน้อยๆตัวหนึ่ง
ซึ่งจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทตัวเองเสียใหม่
ให้ก้าวไปสู่การประยุกต์ใช้ข้อมูลสารนิเทศ
ที่ได้มาให้เหมาะสมกับผู้บริการมากที่สุด
บรรณารักษ์จะต้องให้ความสำคัญในการแบ่งปันทรัพยากร
และเทคโนโลยีอย่างจริงจัง
เพื่อความอยู่รอดในสังคมข่าวสาร
ตามสภาพความจำเป็นของสังคม
ขอ บ่น!!!อันนี้ไม่ได้บอกนะว่าสังคมเมืองหรือว่าสังคมชนบท
ที่อย่าว่าแต่อินเทอเน็ตเลยหนังสือก็แทบจะไม่มีอยู่แล้ว
อาจจะสรุปถึงบทบาทของบรรณารักษ์
ในยุคนี้ที่ต้องปรับเปลี่ยนบทบาทตัวเอง
เพื่อให้สอดคล้องกับความรุดหน้าของเทคโนโลยี
และข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ ดังนี้
บรรณารักษ์จะต้องมีการพัฒนาตนเองเพิ่มขึ้น
ก็เพื่อเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้โดยไม่หยุดนิ่ง นอกเหนือจาก
การปฏิบัติงานในหน้าที่ ซึ่งอาจจะจากการอบรมเพิ่มเติม
เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆทั้งด้าน ฮารด์แวร์และซอฟต์แวร์
และรู้จักนำมาประยุกต์กับการปฏิบัติงานตนเอง
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
บรรณารักษ์ต้องเก่งในการจัดการห้องสมุด
หรือสถาบันบริการสารนิเทศ

จะหยุดอยู่กับที่คอยให้ผู้ใช้บริการเข้ามาใช้อย่างเดียวไม่ได้แล้ว
เราจะต้องหาแนวทางเพื่อประชาสัมพันธ์
โน้วน้าว จูงใจ ให้ผู้ใช้บริการเห็นความสำคัญ
ของห้องสมุดหรือสถาบันบริการสารนิเทศมากขึ้น
เปลี่ยนบทบาทจากบรรณารักษ์จากอะไรที่เดิมๆ
คือ เดิมที่ทำหน้าที่ดูแลรักษา
จัดระบบหมวดหมู่หนังสือจัดหนังสือขึ้นชั้น
จะต้องเปลี่ยนไปจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ
เข้ามาดำเนินการจัดเก็บ รวบรวม ค้นคืนเพื่อการจัดการ
และค้นหาสารนิเทศในระดับประเทศ
และระดับนานาชาติต่อไป

บรรณารักษ์จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์
ที่สามารถนำมาใช้กับงานห้องสมุดและซอฟต์แวร์ที่
ใช้กับงานอื่นๆโดยทั่วไป และสามารถ
นำมาดัดแปลงใช้งานห้องสมุดอื่นๆได้ดีอีกด้วย
บรรณารักษ์จะต้องมีความสามารถในการสืบค้นข้อมูล
ควรใช้ฐานข้อมูลออนไลน์จากสถาบัน
บริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์เป็น
และจัดความร่วมมือกันระหว่างห้องสมุด
ในระบบเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศ
เพื่อให้มีระบบเครือข่ายมากขึ้น
บรรณารักษ์จะต้องรู้จักการบำรุงรักษาสื่ออิเลกทรอนิกส์
คือ นอกจากจะใช้เป็นแล้ว เราก็ควรจะหัดซ่อมแซม
ปรับปรุงมันได้อีกด้วยา เพื่อนำมาบริการให้
กับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
บรรณารักษ์ต้องมีความสามารถในการผลิต
บริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์
ซึ่งต้องยอมรับว่าความสำคัญมากในหลากหลายอาชีพ
เพราะมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการลงทุนต่างๆด้วย
บรรณารักษ์ต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ
เพราะภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือสำคัญ
ในการเรียนรู้ความก้าวหน้า
ในวิชาการต่างๆ ตลอดจนให้บริการสารนิเทศ
ซึ่งผลิตออกมาในรูปแบบสื่อภาษาต่างๆ
เมื่อบรรณรักษ์มีความสามารถในด้านภาษาอื่นๆแล้ว
จะช่วยให้ยกระดับการบริการได้อีกด้วย
บรรณารักษ์ต้องมีความรู้ในสาขาวิชาอื่นๆให้มากขึ้น
โดยอาจจะเลือกศึกษาให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
เพื่อที่จะให้มีความรู้ความสามารถที่จะให้บริการข้อมูลในระดับสูง
และเฉพาะกลุ่มมากขึ้นด้วย
ผลจากการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีทุกวันนี้
บรรณารักษ์จำเป็นจะต้องหันมาทบทวนนโยบายและการทำงาน
โดยทำความเข้าใจในเรื่องการใช้งาน
การพัฒนาและกำหนดหน้าทีของเทคโนโลยีในห้องสมุด
ดังนั้นบรรณารักษ์จึงควรมีความรู้ด้านการจัดการด้วย
เพื่อการแจกจ่ายสารนิเทศอย่างเหมาะสม
โดยพิจารณาว่าอะไรเป็นบริการใหม่ที่อยู่ในความต้องการของผู้ใช้
และจัดเตรียมให้ตรงกับความต้องการอย่างทันเวลา
ซึ่งตรงนี้จะเป็นจุดขายที่ทำให้ห้องสมุด
ของตนเองแตกต่างจากที่อื่นอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น