วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556




 
 
 

 
 
 
 
*****ยุคปัจจุบัน ถือกันว่าเป็นยุคแห่งสังคมสารสนเทศ ที่ข้อมูล ข่าวสารมีมากมายหลากหลาย ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งในรูปที่จับต้องได้เช่น หนังสือ วีดีโอ เทปเสียง ภาพถ่าย แผนที่ และที่เป็นดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ท ฐานข้อมูล ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เกิดขึ้นทุกวัน วันละมากๆ มีทั้งคุณภาพ และด้อยคุณภาพ บางครั้งมีระเบียบแบบแผน บางทีก็กระจัดกระจายไม่เป็นระบบ ทั้งๆที่ข้อมูลเหล่านี้มีคุณค่าต่อการตัดสินใจ ในชีวิตประจำวัน การศึกษาวิจัย และการดำเนินธุรกิจ แต่บางครั้งเราก็ไม่สามารถนำเอาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ดังนั้น บรรณารักษ์ (Librarian) และนักสารสนเทศ (Information Specialist) จึงเป็นวิชาชีพ หรือ อาชีพ ที่ทำหน้าที่ในด้านการจัดการข้อมูลข่าวสารให้เกิดระบบ ตั้งแต่การแสวงหาสารสนเทศ การจัดเก็บ การนำออกมาใช้และการให้บริการ
*****บรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ นอกจากมีความรู้ในตำราวิชาชีพแล้ว ยังมีสิ่งต่าง ๆ ที่ควรรู้เพื่อประสิทธิภาพในการให้บริการมุ่งเน้นให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุดดังต่อไปนี้
*****1. Pay attention (เอาใจใส่) บรรณารักษ์ควรมีความเอาใจใส่และสนใจกับคำถามของผู้มาใช้บริการ
*****2. Read far and wide (อ่านให้เยอะและอ่านให้กว้าง) บรรณารักษ์ต้องรู้จักศาสตร์ต่างๆ รอบตัวให้ได้มากที่สุด
*****3. Understand copyright (เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์)เรื่องลิขสิทธิ์ถึงแม้ว่าตัวเรื่องจริงๆ จะเกี่ยวกับกฎหมาย แต่มีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุดโดยตรงในเรื่องของการเผยแพร่สารสนเทศต่างๆ
        *4. Work and Play (ทำงานกับเล่น)บรรณารักษ์ต้องรู้จักการประยุกต์การทำงานให้ ผู้ทำงานด้วยหรือผู้ใช้บริการรู้สึกสนุกสนานกับงานไปด้วย เช่น อาจมีการจัดกิจกรรมภายในห้องสมุด เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีร่วมกัน
           5. Manage yourself (จัดการชีวิตตัวเอง)*บรรณารักษ์นอกจากต้องจัดการห้องสมุดแล้ว ต้องจัดการระเบียบชีวิตของตัวเอง ก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

          6. Avoid technolust (ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี)
บรรณารักษ์ต้องไม่อ้างว่าไม่รู้จักเทคโนโลยีโน้น หรือเทคโนโลยีนี้ บรรณารักษ์ต้องหัดใช้เทคโนโลยีให้ได้เบื้องต้น (เป็นอย่างน้อย) เช่น การใช้ Internet ในการสืบค้นข้อมูล การใช้โปรแกรมห้องสมุด โปรแกรม Microsoft Office ฯลฯ
          7. Listen to the seasoned librarians (รับฟังความคิดเห็นของบรรณารักษ์ด้วยกัน)
อย่างน้อยการรับฟังแบบง่ายๆ ก็คือ คุยกับเพื่อนร่วมงานดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ในการบริการ บรรณารักษ์ต้องช่วยเหลือกัน อย่างต่อมานั่นก็คือ การอ่านบล็อกของบรรณารักษ์ด้วยกันบ้าง บางทีไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ขอให้ได้ฟังความคิดเห็นกันบ้าง
          8. Remember the Big Picture (จดจำภาพใหญ่)
ภาพใหญ่ในที่นี้ ไม่ใช่รูปภาพแต่เป็นมุมมองของความเป็นบรรณารักษ์ เช่นมุมมองของบรรณารักษ์ต้องพร้อมให้บริการข้อมูล หรือสารสนเทศต่าง ๆ แก่ผู้มาใช้บริการ อุดมการณ์บรรณารักษ์ ที่มุ่งเน้นให้ผู้มาใช้บริการได้รับข้อมูลตรงตามความต้องการ จรรยาบรรณและสิ่งต่างๆ ที่จะช่วยเราให้คิดถึงความเป็นบรรณารักษ์ 
          9. Service Mind (มีหัวใจให้บริการ)
การมีหัวใจให้บริการ เป็นสิ่งที่สำคัญ บรรณารักษ์ ต้องมีความกระตือรือร้นต่อการให้บริการ รวมทั้งการยิ้มแย้มแจ่มใส การให้การต้อนรับด้วยไมตรีจิตที่ดี
บรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ หากนำสิ่งที่บรรณารักษ์ควรรู้ทั้ง 9 ข้อมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน จะส่งผลให้เป็นบรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ ที่ดี มีคุณภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น