วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีของห้องสมุดเสมือน


เทคโนโลยีของห้องสมุดเสมือน 

ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาให้เป็นห้องสมุดเสมือนจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ 3 ประการดังนี้

1.      การจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมและจัดเก็บสารสนเทศ และสะดวกในการบริการส่งสารสนเทศแก่ผู้ใช้ ทรัยพากรสารสนเทศของห้องสมุดเสมือนจำเป็นต้องอยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสะดวกในการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูล ตลอดจนการส่งข้อมูลระยะไกล เป็นการเปลี่ยนรูปแบบสิ่งพิมพ์แบบเดิมให้อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ ทำได้โดยการจัดเก็บในรูปดิจิตัล ได้แก่ ซีดีรอม หรือจัดเก็บในฮาร์ดดิสต์

2.      ระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายของห้องสมุดกับผู้ใช้และแหล่งสารสนเทศอื่น ๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกับห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศ   อื่น ๆได้ทั่วโลก

3.      การส่งเอกสารสารสนเทศแก่ผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ต้องการโดยไม่ต้องมายังห้องสมุด มี 4 วิธีการคือ ทางไปรษณีย์, จดหมายอิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร และทางอินเตอร์เน็ต

        ห้องสมุดในต่างประเทศได้เตรียมรับมือเพื่อเข้าสู่ยุคสารสนเทศไร้พรมแดนมา นานแล้ว เริ่มแรกหน่วยงาน OCLC, RLIN, WLN, และ UTLASได้ร่วมกับหอสมุดแห่งชาติและห้องสมุดสมาชิกหลายแห่งสร้างฐานข้อมูลทางบรรณานุกรมเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้จากฐานข้อมูลเหล่านั้น จากผลการสร้างฐานข้อมูลขึ้นมา ปรากฏว่าสถิติการยืมระหว่างห้องสมุดเพิ่มมากกว่าเดิม แต่การเข้าถึงด้วยวิธีนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น เพราะว่าผู้ใช้ก็ยังต้องการเอกสารฉบับสมบูรณ์ (Full text) มากกว่าการอ่านจากบรรณานุกรมอย่างเดียวแน่นอน (วาสนา อภิญญาวงศ์ 2538, 27)



การเตรียมตัวของห้องสมุดในต่างประเทศ ที่พร้อมเข้าสู่การเป็นแหล่งสารสนเทศที่ไร้พรมแดนนั้นจะต้องได้รับการพัฒนาในด้านต่อไปนี้

1.      บุคลากร ได้สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในด้านวิชาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้จัดให้มีการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะเป็นการเชิญผู้มีความรู้ความชำนาญจากหน่วยงานเดียวกันหรือจากหน่วยงานภายนอกออกมาเป็นวิทยากรฝึกอบรม หรือส่งบุคลากรไปฝึกอบรมภายนอกสถานที่

2.      เอกสาร จัดหาคู่มือ เช่น บทสรุปคำสั่งการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เอกสารประกอบขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือเอกสารแนวคำถาม-คำตอบ เป็นต้น และทางหน่วยงานอาจจัดทำจดหมายข่าวเพื่อเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ

นอกจากนี้ Virtual Library จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และกระบวนการทางการสื่อสาร   ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีการแต่งตั้งให้ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวเข้าร่วมเป็นกรรมการหรือเป็นที่ปรึกษาระบบใหม่นี้ (Tennant, 1995) Virtual Library ต้องมีระบบการเข้าถึงโดยมีทางเลือกที่เข้าใจง่ายและหลากหลาย สมรรถนะในการค้นหาสารสนเทศต้องมีประสิทธิภาพ การออกแบบในส่วนต่าง ๆ ของระบบต้องทำให้ผู้ใช้ใช้ง่าย นอกจากนี้ควรคำนึงถึงซอฟท์แวร์ที่จะนำเข้ามาใช้ และการร่วมมือกันบรรจุสารสนเทศลงในข่ายงานต่าง ๆ ด้วย

ที่มาhttp://pioneer.netserv.chula.ac.th/~spoungpa/book2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น