วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ห้องสมุดดิจิตอล


  
  ห้องสมุดดิจิตอล

       ห้องสมุดดิจิตอล (Digital library) ใช้ในความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า ห้องสมุดเสมือน (Virtual library) และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic library) แต่มีความแตกต่างคือเป็นห้องสมุด ที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full – text) ได้โดยตรงมีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลเช่นเดียวกับ ห้องสมุดแบบดั้งเดิม   ซึ่งข้อมูลที่อยู่รูปแบบดิจิตอลมีหลายรูปแบบได้แก่ ข้อมูลที่แปลงมาจากข้อมูลในสิ่งพิมพ์ ข้อมูลที่สร้างขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลข้อมูลจากซีดีรอม ข้อมูลในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และจากฐานข้อมูลออนไลน์
            ทรัพยากรในห้องสมุดดิจิตอลมาจากหลายสื่อทั้งที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และข้อมูลดิจิตอลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในห้องสมุดมีการผสมผสานการให้บริการข้อมูลจากสื่อทุกประเภททั้งรูปแบบของการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการจัดการ
ระบบงานห้องสมุดและการพัฒนาห้องสมุด ดิจิตอลเพื่อจัดเก็บและให้บริการข้อมูลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้โดยตรง
ความหมายในทางเทคโนโลยีของทรัพยากรที่อยู่ในห้องสมุดแบบดั้งเดิมคือสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่เป็นวัสดุเรียกว่า Physical objectsคือเนื้อหาเรียกว่า Contents ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลหรือ Data ในหลาย items และข้อมูล อธิบายรายละเอียดของข้อมูลหรือ Dataนั้น ๆ เรียกว่า Metadata หรือ Properties.

  ดังนั้นในความหมายของห้องสมุดดิจิตอล ประกอบด้วย
          
1. ห้องสมุดที่มีการจัดหาหรือสร้างข้อมูล Information contents ให้เป็น Digital objects.
          
 2. ห้องสมุดที่มีการจัดการข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลที่เรียกว่า เป็น Digital objects เริ่มจากมีการจัดการ การเผยแพร่ข้อมูลและการใช้ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลักหรือในหลาย ๆ แหล่งจัดเก็บข้อมูล (Repositories) ผ่านระบบเครือข่าย
          
3. ผู้ใช้เรียกใช้ข้อมูลได้โดยตรงเป็นเนื้อหาเต็มรูปโดยผู้ใช้ไม่ต้องมาที่อาคารห้องสมุดและไม่ใช้ข้อมูลผ่านผู้ให้บริการ
หรือบรรณารักษ์
         
4. ห้องสมุดดิจิตอล มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เทคโนโลยีการสื่อสาร การจัดการสารสนเทศ  และการติดต่อกับผู้ใช้
         
5. ห้องสมุดดิจิตอลมีการจัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบในลักษณะ Metadata เพื่อความสะดวก ในการค้นหาและเพื่อให้การจัดการข้อมูลดิจิตอลมีมาตรฐานในการใช้ข้อมูลดิจิตอลร่วมกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ลักษณะของห้องสมุดดิจิตอล
      องค์ประกอบของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) บุคลากร (Staff) และทรัพยากรที่จัดเก็บในรูปดิจิตอล (Collection) ซึ่งทำให้การจัดการระบบสารสนเทศห้องสมุด มีลักษณะดังต่อไปนี้ 
       
 
       1. มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปดิจิตอลเรียกว่า digital object 
หรือเรียกว่า Collection of information objectsได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร  รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว (Language – based, Image – based, Sound – based, Motion – based) จัดเก็บไว้ในแหล่งจัดเก็บข้อมูล (Repository) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่ใช้จัดเก็บข้อมูล (Server)
      
  2. มีการบริหารจัดการในลักษณะขององค์กร เช่นเดียวกับการจัดการห้องสมุดโดยมีการคัดเลือก การจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล และมีเครื่องมือช่วยค้นที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้
        
3. มีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อมูล การจัดเก็บ การค้นหา การเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่าย
        
4. มีการบริการข้อมูลในลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกัน (fair use)
        
5. มีการแนะนำการใช้ข้อมูลแก่ผู้ใช้และการอ้างอิงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
   
     6. มีวัฎจักรของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ การสร้างข้อมูลดิจิตอล (Creation) การเผยแพร่ข้อมูล (Dissemination)การใช้ข้อมูล (Use) และการอนุรักษ์ข้อมูล (Preservation)
ความแตกต่างของห้องสมุดแบบเดิมและห้องสมุดดิจิตอล
        การทำงานของห้องสมุดแบบเดิมผู้ใช้จะมาใช้ทรัพยาสารนิเทศ  เช่นหนังสือ วารสาร   สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ในสถานที่จัดเก็บทรัพยากรคือห้องสมุด  หรือใช้ค้นรายการบรรณานุกรมก่อนที่จะหาทรัพยากรที่ต้องการ เป็นห้องสมุดที่เน้น
การมี Collection บริการภายในอาคารสถานที่
       ส่วนห้องสมุดดิจิตอลมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก (Server) โดยผู้ใช้เข้าใช้ข้อมูลได้โดยตรงผ่านระบบเครือข่ายหรือค้นผ่านรายการสืบค้น (Catalog) โดยมีองค์ประกอบ การทำงานของห้องสมุดดิจิตอลได้แก่ การสร้างและจัดหา (Creat and capture) การจัดเก็บและจัดการข้อมูล (Storage and Management ) การสืบค้น (Search / Access) การเผยแพร่ข้อมูล (Distribution) และการพิจารณาในแง่ลิขสิทธิ์ของข้อมูลก่อนที่จะนำไปใช้
กระบวนการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล
        การพัฒนาห้องสมุดดิจิตอลเป็นการวางแผนการจัดการข้อมูลดิจิตอลที่ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจนตามโครงการหรือแผนงานที่วางไว้โดยการพัฒนาโครงการห้องสมุดดิจิตอลจำเป็นจะต้อง พิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้
   
   1. วัตถุประสงค์และความจำเป็นของการพัฒนา
      2. เนื้อหาที่ต้องการจัดเก็บ
      3. ขนาดของโครงการที่จะพัฒนา เนื่องจากเกี่ยวข้องกับงบประมาณ
      4. อุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในโครงการและการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      5. กำหนดผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านเพื่อพัฒนางานตามโครงการ
โดยมี ขั้นตอนการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ดังรูปและมีรายละเอียด ดังนี้
        1. การคัดเลือกและจัดหาทรัพยากรและการสร้าง collection (Information Acquisition and Collection) รวมถึงการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล เป็นขั้นตอนของการคัดเลือก (Selection) และการแปลงข้อมูล (Digitization) ให้อยู่ในรูป digital objects ซึ่งอยู่ในรูปของ digital publishing และ multimedia objectsกรอบของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล คือการสร้าง information contents ให้เป็น digital objects โดยใช้เทคโนโลยี Object-oriented technology. มีการสร้างข้อมูล digital objects ไว้ในรูป แฟ้มข้อมูลเช่น SGML,HTML, XMLContent Reproductions เป็นการสร้างข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น digital images, searchable texts, recorded-sound files, moving-images files โดยสัมพันธ์กับการทำ administrative และ structural metadata เพื่อบอกรูปแบบของข้อมูลที่จัดเก็บว่าเป็นtext – image files หรือ multimedia objects.
       
2. การทำดรรชนีข้อมูลที่จัดเก็บและการจัดเก็บข้อมูลไว้ใน collection (Infprmation Indexing and Organization) เป็นการจัดเก็บข้อมูลเป็นหมวดหมู่และหัวเรื่องในลักษณะการทำ Metadata และการจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเป็นขั้นตอนของการทำ Calaloging,/Indexing./Storing,/Organizing ข้อมูลในรูป digital objectsข้อมูลที่จัดเก็บจะมีการกำหนดรายละเอียดไว้ในรายการบรรณานุกรมของข้อมูล ที่เรียกว่า descriptive metadata. หรือbibliographic records. ได้แก่
             
 2.1 ข้อมูลในรูป MARC format ได้แก่ 245 Title statement 856 Electronic acces
              2.2 ข้อมูลในรูป Metadata ตามมาตรฐานการประชุมร่วมกันของ Dublin Core มี 15 elements ได้แก่ 1. Title 2. Creator 3. Subject 4. Description 5. Publisher 6. Contributor 7.Date 8. Type 9. Format 10.Identifier 11. Source 12. Language 13.Relaton 14. Coverage 15.Rights

     
 3. การเผยแพร่ข้อมูลและการนำมาใช้ (Information Dissemination and Utilization) เป็นการเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะที่ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ด้วยตนเอง (User-centered) เพื่อความสะดวกและการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ประกอบด้วยการสืบค้น หรือเข้าถึงข้อมูลเช่นการ query, search, retrieval.
        
นอกจากนี้การพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องดังนี้
         1. เทคโนโลยีการคัดเลือดและการสร้างเนื้อหา / Contents processing technology ได้แก่ เทคโนโลยีการสร้างข้อมูลดิจิตอล การจัดเก็บและการค้นหา รวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในการแปลงข้อมูล โดยมีเทคนิคการแปลงข้อมูล (Digitization) พร้อมอุปกรณ์จัดเก็บ (Storage)
       
 2. เทคโนโลยีในการเข้าถึงหรือการสืบค้นข้อมูล โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เช่นการทำดรรชนี และเครื่องมือช่วยค้น (Indexing and search)
        
3. เทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้เรียกใช้ข้อมูลได้ง่าย ซึ่งช่วยปรับปรุงพฤติกรรมการใช้ข้อมูลของผู้ใช้ เช่น หน้าจอ Web sites หรือ Interfaces : GUI (graphical user interface) ความหลากหลายของสารสนเทศ ทำให้ผู้ใช้ผู้ใช้เรียกใช้ข้อมูลจากweb sites ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น
      
 4. การทำแบบจำลองโปรแกรม  เพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน เช่นการทำ Rapid Prototyping เป็นการพัฒนามาตรฐานของข้อมูลให้ใช้ร่วมกันได้โดยใช้หลักการของ Software engineeringลักษณะการใช้งานห้องสมุดดิจิตอล เป็นการเข้าถึงเนื้อหาของข้อมูลโดยตรง ผ่าน Web site มีประโยชน์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ข้อมูลที่มีคุณค่าโดยเฉพาะข้อมูลเก่าแก่ที่หายาก ทำให้ผู้ใช้หลายคนเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ในเวลาเดียวกัน และทำให้ผุ้ใช้เข้าถึงเนื้อหาของข้อมูลได้โดยตรง ดังรูป
         การพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล
          เป็นการใช้แนวคิดในการจัดการระบบงานห้องสมุดมาใช้ในการจัดการข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล โดยใช้หลักการของการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งต้องศึกษาความพร้อมทั้งด้านความต้องการของผู้ใช้ ความจำเป็นสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมกำลังคนเทคโนโลยีความคุ้มค่าในการลงทุนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ข้อมูลในองค์กรและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยใช้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องร่วมกันในการสร้างแหล่งความรู้ของสังคมรูปแบบใหม่ การพัฒนาห้องสมุดดิจิตอลจะสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือของบุคลากรหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูล ความพร้อมทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้และงบประมาณ
           ความจำเป็นในการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล
        เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและความต้องการของผู้ใช้ในการใช้ข้อมูลร่วมกันผ่านเครือข่ายที่จะได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ เป็นการอนุรักษ์ความรู้ และแหล่งความรู้ทางปัญญาเพื่อประโยชน์ของการอนุรักษ์คุณค่าทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์หากห้องสมุดของไทยมีโครงการความร่วมมือในการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอลมากขึ้นก็จะเป็นประโยชน์มากในทุกด้าน
      หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e - Book คือ อะไร
            e - Book (electronic book) หมายถึง หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปาล์ม หรือเครื่องอ่าน e-book โดยเฉพาะ มีลักษณะเด่กว่าหนังสือที่เป็นกระดาษที่สามารถแสดงผลด้วยภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวได้ นอกเหนือจากข้อความที่เป็นตัวอักษร อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่าน
        ปัจจุบันนอกจากห้องสมุดจะให้บริการในรูปสิ่งพิมพ์แล้ว ยังมีการบอกรับเป็นสมาชิกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในบางสาขาวิชา ลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาความรู้อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัล สามารถอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมีการเรียกใช้ทางอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะ เรียกว่า e-book reader
การทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) 
       การทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) เป็นหนังสือที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่พิมพ์เนื้อหาสาระของหนังสือบนกระดาษ หรือจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถเปิดอ่านได้จากจอภาพคอมพิวเตอร์ เหมือนกับเปิดอ่านจากหนังสือโดยตรง แต่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความสามารถมากมาย เช่น ข้อความภายในหนังสือสามารถเชื่อมโยงกับข้อความภายในหนังสือเล่มอื่นได้ โดยเพียงผู้อ่านกดเม้าส์ในตำแหน่งที่สนใจแล้ว www Browsers จะทำหน้าที่ดึงข้อมูลที่เชื่อมโยงมาแสดงให้อ่านหนังสือได้ทันที

         หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความ อักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหวเสมือนวิดีโอนอกจานี้สามารถสอบถามและสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จากจอคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว สามารถอ่านหนังสือ หรือสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั่วโลก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นแฟ้มข้อมูลประเภทข้อความ (Text file) สามารถเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยโปรแกรมแท็กซ์เอติเตอร์ หรือเวิร์ดโปรเซสเซอร์ทั่วไปก็ได้ ข้อความที่เขียนต้องเป็นไปตามหลักภาษา HTML (Hypertext Markup Language) โดยภายในแฟ้มประกอบด้วยข้อความที่ต้องการให้อ่าน และข้อความกำกับเมื่อดูด้วยโปรแกรม Browsers จะเห็นเฉพาะข้อความจริงเท่านั้น
ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) และไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia)

       
 ไฮเปอร์เท็กซ์ ( Hypertext) เป็นระดับย่อยของไฮเปอร์มีเดีย ไฮเปอร์เท็กซ์นำเสนอเนื้อหาที่เป็นข้อความ ในขณะที่ไฮเปอร์มีเดียนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบสื่อประสม เทคนิคไฮเปอร์มีเดียเป็นเทคนิคที่สำคัญ เพราะเป็นเทคนิคที่ใช้กับสื่อผสมอื่น ๆ ได้ทุกชนิด คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบสื่อต่าง ๆ ได้ทั้งเสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ในขณะเดียวกันไฮเปอร์เท็กซ์ นำเสนอเฉพาะเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรหรือข้อความเท่านั้น ทั้งไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypretext) และไฮเปอร์มีเดีย (Hypremedia) ต่างมีบทบาทสำคัญใรระบบห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) ต่างต้องใช้ทั้ง รูปแบบในการช่วยนำเสนอขณะค้นหาข้อมูลของผู้ใช้
ที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/296358

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น