วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทความที่ทำให้บรรณารักษ์ ดูมีค่า

     
บทความที่ทำให้บรรณารักษ์ ดูมีค่า
โลกปัจจุบันและตลาดงานปัจจุบัน ยังขาดคนเหล่านี้อยู่มาก ทางรัฐบาลเองก็ส่งเสริมการสร้างแหล่งเรียนรู้ ทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ขนานใหญ่ แล้วใครเล่าใครจะไปทำงาน ถ้าไม่ใช่ผู้ที่จบในสาขาเหล่านี้

         บรรณารักษศาสตร์ , บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ , สารนิเทศศึกษา, สารสนเทศศาสตร์ จะชื่อใดก็ตาม ล้วนแต่มีกำเนิดและมีเนื้อหาหลักวิชาตรงกันทั้งสิ้น คือการสร้าง นักวิชาชีพ หรือ มืออาชีพ ในด้านการจัดการข้อมูลข่าวสารให้เกิดระบบ ตั้งแต่การแสวงหาสารสนเทศ การจัดเก็บ การนำออกมาใช้ การให้บริการ ซึ่งงานลักษณะนี้ สาขาวิชาชีพอื่นๆไม่สามารถจะทำแทนกันได้ ต้องเป็นผู้ที่จบในศาสตร์เหล่านี้จริงๆเท่านั้น

       
  ดังนั้นหน้าที่จริงๆของบรรณารักษ์จึงไม่ใช่การจัดชั้นหนังสือ แต่เป็นการจัดการให้หนังสือแต่ละเล่มอยู่อย่างเป็นระบบในห้องสมุด โดยการวิเคราะห์และกำหนดสัญลักษณ์ คือเลขหมู่ให้หนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันอยู่ด้วยกัน สร้างเครื่องมือช่วยค้นให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหนังสือที่ตัวเองต้องการได้ เช่นการค้นจากคอมพิวเตอร์ และให้บริการตอบคำถาม แก่ผู้ใช้ที่สงสัยเกี่ยวกับสารสนเทศต่างๆ

        วิชาในหลักสูตรนี้ จะมีทั้งวิชาด้านการวิเคราะห์เนื้อหา และการจัดการสารสนเทศประเภทต่างๆเป็นวิชาหลักเพื่อให้สามารถจำแนกแยกแยะว่าสารสนเทศเนื้อหาแบบใดควรจะจัดการย่างไรให้เหมาะสมกับผู้ใช้ และวิชาด้านเทคนิคต่างๆ ซึ่งในปัจุบันต้องเรียนวิชาด้านคอมพิวเตอร์ทั้งการทำเว็บไซต์ การวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ ฯลฯ รวมถึงวิชาด้านการประชาสัมพันธ์ และการให้บริการอีกด้วย
ด้วยเนื้อหาวิชาลักษณะนี้ผู้ที่จบออกไปจึงสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับสารสนเทศที่ไม่ใช่หนังสือได้หลากหลาย ดังนั้นเราจึงพบว่า ผู้ที่จบบรรณารักษ์ สามารถไปทำงานเป็น นักจัดการข้อมูลในศูนย์ข้อมูลต่างๆได้ หรือจะเรียกให้โก้ๆก็ต้องเรียกว่าศูนย์สารสนเทศขององค์กร ต่างๆ มีหลายๆคนก็ไปเป็นนักข่าว , ฝ่ายข้อมูลบริษัทโฆษณา , เว็บมาสเตอร์, เจ้าหน้าที่บริการงานทั่วไป, นักวิชาการสารสนเทศ, อาจารย์ กระทั่งเป็นเจ้าของร้านทอง ก็เป็นร้านทองIT

        จุดเด่นของสาขาบรรณารักษ์ฯ ก็คือการสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานลักษณะต่างๆได้อย่างหลากหลายนั่นเองอีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดงานมาก โดยเฉพาะตำแหน่งบรรณารักษ์ฯ เนื่องจากคนสนใจน้อยแต่ความต้องการ และการพัฒนาห้องสมุดมีมากนั่นเอง


        คราวนี้มีมหาวิทยาลัยใดบ้างล่ะที่เปิดสอน ในปัจจุบัน หลักสูตรในสาขาด้านนี้ มีอยู่หลายมหาวิทยาลัยและมีชื่อเรียกขานต่างกัน อาจจะแบ่งได้ดังนี้
สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์หรือ สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ เช่น คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร, คณะศิลปศาสตร์ มธ. , คณะมนุษยศาสตร์ มศว., คณะมนุษยศาสตร์ฯ ม.ทักษิณ ฯลฯ

       
 สาขาสารสนเทศศาสตร์ เช่น คณะมนุษยศาสตร์ฯ มข., คณะมนุษศาสตร์ มช., คณะสารสนเทศศาสตร์ ม.มหาสารคาม, คณะมนุษยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์, คณะเทคโนโลยีสังคม ม.เทคโนโลยีสุรนารี ฯลฯ

        สาขาสารนิเทศศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

       
 ซึ่งทั้งหมดล้วนมีรากเหง้าที่มาจาก สาขาบรรณารักษ์ทั้งสิ้น คณาจารย์ส่วนใหญ่ จะสังกัดภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และจบด้านบรรณารักษศาสตร์เป็นส่วนใหญ่
นอกจากระดับปริญญาตรีแล้ว ยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท เอก ทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย

           ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น