วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ห้องสมุดมนุษย์


     
ห้องสมุดมนุษย์


   ห้องสมุดมนุษย์และเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทยได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทยตั้งแต่วันที่  25 พฤษภาคม และ 18 สิงหาคม 2553 ตามลำดับ แต่ข้อมูล/ข่าวสารอาจจะยังไม่แพร่หลาย บทความนี้ จึงขอนำเสนอ ความเป็นมา กรอบแนวคิดของการพัฒนา รูปแบบในการพัฒนา ประสบการณ์ ข้อเสนอแนะ และข้อสรุปสำหรับผู้บริหาร  เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาห้องสมุดมนุษย์และเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทยสืบไป

1. ความเป็นมา
 1.1 ความเป็นมาในการพัฒนาห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย
           การพัฒนาห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทยมาจำกผลของข้อสรุป 3 ประการต่อไปนี้
 1.1.1 ผลจากการกำหนดแนวคิดหลักในงานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาครั้งที่ 28 โดยผู้เขียนได้ข้อสรุปคือ “แนวคิดใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องสมุด(New Ideas on Learning Promotion in Libraries)” สำหรับการจัดงานสัมมนาฯ จัดระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2553 ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจำกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เครือข่าย NARINET บริษัทห้างร้านผู้สนับสนุน และผู้เข้าร่วมสัมมนา ผู้สนใจจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต่างๆทั่วประเทศ แม้ว่าจะจัดงานในช่วงปลายปีงบประมาณ
 1.1.2 ผลการแสวงหารูปธรรมของแนวคิดใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องสมุด ซึ่งสรุปข้อค้นพบได้ว่า การจัดห้องสมุดมนุษย์(Human Library : HL) คือนวัตกรรม(innovation)และการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์(Paradigm shift)ในการจัดห้องสมุด โดยผู้เขียนค้นพบที่เวบไซต์ livinglibrary.com และต่อมาเปลี่ยนเป็น humanlibrary.com ของ Ronni Abergel ในระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2553
 1.1.3 ผลลัพธ์ทดจากการทดลองจัดห้องสมุดมนุษย์(Human Library) ใน มทร.อีสาน นครราชสีมา โดยผู้เขียนได้ใช้วิจัยปฏิบัติการในการทดลองจัดห้องสมุดมนุษย์(หสม.)ครั้งแรกของประเทศไทย ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2533 เป็นส่วนหนึ่งของการทำหน้าที่เป็นวิทยากรับรรยายเรื่อง “แนวคิดใหม่ในการจัดห้องสมุดมีชีวิต” ใหแก่ผู้เข้าประชุมสัมมนาปฏิบัติการซึ่งเป็นครูบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสังกัด อบจ.นครราชสีมา จัดระหว่างวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2553 ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ผลลัพธ์ปรากฏว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับดี/มาก (คงศักดิ์ สังฆมานนท์, 2553)

1.2 แรงบันดาลใจในการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย(หสมท)
            แรงบันดาลใจในการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย มาจากเหตุผล 3 ประการ คือ
 1.2.1 หสม. ได้รับการสรรค์สร้างขึ้นแล้ว (HLs have been created.)  หมายความว่า ห้องสมุดมนุษย์ได้รับการจัดตั้งขึ้นแล้ว แม้ว่าการจัดตั้งครั้งแรก(เมื่อ 25 พ.ค.53) จะเป็นห้องสมุดมนุษย์ขนาดเล็ก แต่ก็มีโครงสร้างหรือองค์ประกอบที่ชัดเจน คือ มีโครงการจัดตั้ง ซึ่งกล่าวถึงหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ(ขั้นวางแผนและเตรียม-ทีมงาน(staff), รายการหนังสือมีชีวิต(living books catalog), ผู้อ่าน(readers), และ วัสดุอุปกรณ์-สถานที่ตั้ง(location) ขั้นปฏิบัติ ขั้นประเมิน และขั้นสรุป-สะท้อนผล) และประโยชน์ที่จะได้รับ เหนือสิ่งอื่นใด ผู้เกี่ยวข้องเกือบร้อยละ 100 มีความพึงพอใจในระดับดีมากทุกครั้ง นับว่านวัตกรรมห้องสมุดมนุษย์นี้ เป็นสิ่งที่น่าสนใจในการพัฒนาและใช้เป็นสื่อสร้างเสริมวัฒนธรรมและสังคมแห่งการเรียนรู้อีกช่องทางหนึ่งซึ่งใช้งบประมาณน้อยแต่มีคุณค่าสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้วิทยาทาน/ความรู้ (knowledge contribution) เป็นการสร้างกุศลสำหรับผู้เป็นหนังสือมีชีวิต(living books) และแรงบันดาลใจสำหรับผู้อ่าน(inspirations for readers) ขณะนี้  สวท.มทร.อีสาน(โดยผู้เขียน) ได้จัดกิจกรรมห้องสมุดมนุษย์มาแล้ว 12 ครั้ง และเครือข่ายก็มีการจัดตั้งขึ้นแล้ว(อย่างไม่เป็นทางการ) 2 แห่ง คือ (1) ห้องสมุดมนุษย์โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ และ (2)ห้องสมุดมนุษย์โรงเรียนพระทองคำวิทยา ดังนั้น หสม.และหสมท.ควรได้รับการพัฒนาเป็นวิทยบริการแก่สังคมอย่างต่อเนื่องต่อไป
1.2.2 หสม.จะไม่เดินคนเดียว (HLs will never walk alone.) หมายถึง อุดมคติที่ว่าการดำเนินการจัดห้องสมุดมนุษย์ในแต่ละครั้งจะไม่จัดตามลำพัง แต่จะมีความช่วยเหลือ/สนับสนุนจำกสมาชิกเครือข่ายที่อยู่ใกล้เคียง ดังนั้นการสร้างเครือข่ายความรวมมอระหวางห้องสมุดมนุษย์(Human Library in Thailand Network: HLTN) เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนและส่งเสริมกัน จึงเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นที่ควรได้รับการพัฒนาขึ้นสำหรับวงการห้องสมุดมนุษย์ของประเทศไทย
 1.2.3 หสม.และ หสมท.จะก้าวหน้าต่อไป (HLs & THLNs will go ahead.) หมายถึง อุดมคติที่ว่าการดำเนินการพัฒนาการจัดห้องสมุดมนุษย์จะไม่จัดครั้งเดียวแล้วเลิก แต่จะมีการจัดอย่างต่อเนื่อง โดยความช่วยเหลือ/สนับสนุนจากสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย(Thailand Human Library Network: THLN) ที่อยู่ใกล้เคียง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนและส่งเสริมกัน เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับวงการห้องสมุดมนุษย์

2. กรอบแนวคิดในการพัฒนา
 2.1 กรอบแนวคิดในการพัฒนาห้องสมุดมนุษย์
 การพัฒนาห้องสมุดมนุษย์ให้สำเร็จด้วยดี มาจากองค์ประกอบอย่างน้อย 4 ประการ ดังต่อไปนี้
 2.1.1 มีผู้จัด(Organizer) หมายถึง การมีบุคคลผู้ทำหน้าที่เขียนโครงการการจัดตั้งหรือพัฒนาห้องสมุดมนุษย์ และดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ซึ่งจะต้องมีการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในข้อต่อๆไปอย่างต่อเนื่อง ปกติผู้เหมาะกับหน้าที่นี้คือบรรณารักษ์หรือนักวิชาการศึกษาประจำห้องสมุด ผู้ซึ่งจะต้องเตรียมแฟ้มรายการหนังสือมีชีวิต แฟ้มลงทะเบียนหนังสือมีชีวิต แฟ้มเก็บข้อมูลการยืม-คืน และแฟ้มสรุปผลและปรับปรุง
 2.1.2 มีผู้หนังสือมีชีวิต(Living books) หมายถึง การมีบุคคลผู้ทำหน้าที่เป็นหนังสือมีชีวิตเพื่อถ่ายทอดหรือเล่าเรื่องราวหรือความรู้ที่ตนชำนาญ/เชี่ยวชาญโดยความสมัครใจและไม่หวังผลตอบแทนเป็นค่าจ้าง  ซึ่งควรมีหลากหลายสาขา ดังสำนวน “ยิ่งมากยิ่งดี” การรวบรวมหรือเสาะหาหนังสือมีชีวิตมาเปิดบริการนับเป็นภาระมากพอควร เพราะต้องใช้เวลาในการติดต่อ และบุคคลผู้เป็นหนังสือมีชีวิตอาจจะมีภารกิจในช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม
 2.1.3 มีผู้อ่าน(Readers) หมายถึง การมีกลุ่มเป้าหมายหรือบุคคลผู้จะทำหน้าที่ยืมหนังสือมีชีวิตมาอ่านด้วยความสนใจและตั้งใจจริง ซึ่งควรมีการเชิญชวนหรือจัดตั้งไว้ส่วนหนึ่งเพื่อให้การจัดห้องสมุดมนุษย์แต่ละครั้งมีความเคลื่อนไหว สีสัน และไม่ล้มเหลว เนื่องจากยังเป็นของใหม่สำหรับสังคมและประเทศไทย
 2.1.4 มีเวลาและสถานที่จัด(Location) หมายถึง การมีบุคคลผู้ทำหน้าที่จัดหาสถานที่ที่เหมาะสม อาจเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งในห้องสมุด หรือในอาคารอื่นที่เหมาะสมต่อการจัดกิจกรรม(Activity/Event)แต่ละครั้ง และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจัด ตามปกติจะนิยมจัดช่วงละ 2-4 ชั่วโมง ในเวลาที่หนังสือมีชีวิตจะอุทิศให้ได้ เช่น ช่วงกลางวันหรือช่วงเย็นของวันทำงานปกติ หรือช่วงกลางวันของวันหยุดบางวัน สรุปกรอบแนวคิดเชิงระบบขององค์ประกอบในการพัฒนาห้องสมุด
2.2 กรอบแนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย
 กรอบแนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทยเพื่อความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมนุษย์ต่างๆ ตั้งอยู่บนระบบของกรอบแนวคิดว่า ปัจจัยป้อนเขา(Input)ประกอบด้วย แรงขับจาก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พศ.2542 ฉบับปัจจุบันที่เน้นให้มีการปฏิรูปการศึกษาโดยมุ่งพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เขามีทักษะในการแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ห้องสมุดจะช่วยได้ในฐานะหน่วยงานสายสนับสนุนโดยการจัดให้มีห้องสมุดมนุษย์ขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พบหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางวาจากับหนังสือมีชีวิตที่หลากหลาย หากห้องสมุดสามารถดำเนินการจัดห้องสมุดมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนก็จะสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน และหากมีการดำเนินการในระดับมหภาคหรือทั้งประเทศ ย่อมจะสามารถพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อีกมิติหนึ่ง  กรอบแนวคิดเชิงระบบในการพัฒนาเครือข่ายฯ 
3. รูปแบบในการพัฒนา
 3.1 รูปแบบในการพัฒนาห้องสมุดมนุษย์
 รูปแบบในการพัฒนาห้องสมุดมนุษย์ จำแนกได้ เป็น 8 รูปแบบ (Abergel, 2009) คือ
 3.1.1 จัดในห้องสมุดสาธารณะ (The Public Library)หมายถึง การจัดห้องสมุดมนุษย์ในห้องสมุดสาธารณะที่เปิดให้สาธารณชนเข้าใช้บริการได้ สำหรับประเทศไทยห้องสมุดสวนมากก็ให้บริการประชาชนทั่วไปอยู่แล้ว
 3.1.2 จัดในโรงเรียน (The School) หมายถึง การจัดห้องสมุดมนุษย์ในพื้นที่ของโรงเรียน ซึ่งอาจจะไม่ใช่ที่ห้องสมุดก็ได้
 3.1.3 จัดในงานตลาดนัดหนังสือ (The Book Fair) หมายถึง การจัดห้องสมุดมนุษย์ในพื้นที่ของการจัดงานแสดงและจำหน่ายหนังสือ เป็นกิจกรรมเสริม
 3.1.4 จัดในรัฐสภา (The Parliament) หมายถึง การจัดห้องสมุดมนุษย์ในพื้นที่ของรัฐสภา เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พบกับผู้แทนประชาชนในฐานะหนังสือมีชีวิตหรือผู้อ่าน
 3.1.5 จัดในเทศกาล(The Festival) หมายถึง การจัดห้องสมุดมนุษย์ในพื้นที่ของเทศกาลต่างๆ เช่น งานแสดงผลงานทางศิลปะ วัฒนธรรม งานวัด งานประชุมสัมมนาต่างๆ ดังภาพตัวอย่าง Human Library in Festival Belluard Bollwerk International ซึ่งจัดโดย Sally de Kunst (Kunst, 2009)เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2553 ณ State Library, Fribourg, Switzerland สำหรับในประเทศไทย มีการจัด หสม.7 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553 ในงานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดอุดมศึกษาครั้งที่ 28 โดยผู้เขียน
 3.1.6 จัดแบบท่องเที่ยวในรถบัส(The Human Library Bus Tour) หมายถึง การจัดห้องสมุดมนุษย์ในพื้นที่บนรถบัสที่จัดกิจกรรมระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว หรือจัดเป็นกิจกรรมห้องสมุดมนุษย์ด้วยการเดินทางท่องเที่ยวบนรถบัสในลักษณะเป็นเส้นทางวงกลม
 3.1.7 จัดแบบออนไลน(The Online Human Library) หมายถึง การจัดห้องสมุดมนุษย์บนระบบออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต หนังสือมีชีวิตและผู้อ่านจะพบกันบนเวบไซต์และหน้าจอคือมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตในวัน-เวลาที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า
 3.1.8 จัดในสถานประกอบการ(The Corporate Human Library) หมายถึง การจัดห้องสมุดมนุษย์ในที่ทำงานหรือสถานประกอบการ กลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรและผู้บริหารในสถานประกอบการนั้นๆ

3.2 รูปแบบในการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย
            ตามความนิยม รูปแบบในการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย อาจจัดได้เป็น 2 รูปคือ
 3.2.1 เครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย(Thailand Human Library Network: THLN)  โปรดดูรายละเอียดในภาคผนวก ก. (สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ : ภาคผนวก ก)
 3.2.2 ชมรมห้องสมุดมนุษย์แห่งประเทศไทย(Thailand Human Library Club: THLC) โปรดดูรายละเอียดในภาคผนวก ก. เช่นเดียวกัน เนื่องจากองค์ประกอบของการเป็น “ชมรม”น่าจะคล้ายคลึงกับ “เครือข่าย”
5. ข้อสรุปสำหรับผู้บริหาร
 5.1 เกี่ยวกับการพัฒนาห้องสมุดมนุษย์
 การจัดห้องสมุดมนุษย์(Human Library) คืออีกช่องทางหนึ่งในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องสมุด ในฐานะที่ห้องสมุดเป็นหน่วยงานสายสนับสนุนเพื่อตอบสนองการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ที่เน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนผ่านการเรียนรู้จากหนังสือมีชีวิต(Living books) ซึ่งได้มาจากการอุทิศเวลาของบุคคลที่มีจิตอาสา/เป็นกุศลที่ต้องการถ่ายทอดวิชาความรู้ผ่านการสนทนาให้กับผู้สนใจ บุคลากรที่จำเป็นคือ ทีมผู้จัด(บรรณารักษ์/นักวิชาการศึกษา/อื่นๆ) บุคคลที่จะเป็นหนังสือมีชีวิต บุคคลผู้สนใจจะอ่าน และสถานที่สามารถใช้ส่วนหนึ่งของห้องสมุดทั่วไปได้ งบประมาณอาจจะใช้เพียงเล็กน้อยสำหรับงานเอกสารและจัดหาของวางสำหรับบริการหนังสือมีชีวิต ประโยชน์ในเชิงวิชาการที่สำคัญคือ สามารถทำเป็นผลงานเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งสำหรับบุคลากรได้ เช่น การทำเป็นงานวิจัย ปฏิบัติการ หรือทำคู่มือการปฏิบัติงาน ดังนั้นการพัฒนาห้องสมุดมนุษย์ขึ้นในหน่วยงานนับว่าสำคัญและมีประโยชน์มาก

5.2 เกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์ในประเทศไทย
             การพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมนุษย์คือ ช่องทางในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิกเครือข่ายกล่าวคือ สมาชิกที่เข้มแข็งกว่าสามารถช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ เช่น การให้ข้อมูล แนวคิด ข้อเสนอแนะ แรงบันดาลใจ และการอุทิศเวลาช่วยเป็นหนังสือมีชีวิตแก่สมาชิกที่ยังไม่เข้มแข็ง เป็นต้น  ดังนั้นการร่วมมือกันพัฒนาเครือข่าย หสมท.จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากเช่นเดียวกัน

ที่มา http://library.oarit.rmuti.ac.th/human-library/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น