วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หากเปรียบห้องสมุดเป็นร่างกายมนุษย์…


วันนี้ขอนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับ หากเปรียบห้องสมุดเป็นร่างกายมนุษย์…  เจอเรื่องเรื่องดีๆ เกี่ยวกับแวดวงห้องสมุดเลยนำมาให้ชาวหอสมุดได้อ่านกันคะ จากบทความบทความชื่อว่า “How a Library Works” โดย Jeff Scott  เนื้อหาจะเป็นอย่างไรคลิกอ่านกันคะ
บทความนี้ได้เปรียบเทียบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายมนุษย์
กับการทำงานด้านต่างๆ ภายในห้องสมุด เช่น งานบริหาร, งานเทคนิค….
Management : The brainงานบริหาร – สมอง, เป็นงานที่คอยดูแลและวางแผนในการทำงานต่างๆ รวมถึงตัดสินใจว่าสิ่งไหนควรทำ หรือสิ่งไหนไม่ควรทำ และในงานบริหารหรืองานจัดการส่วนใหญ่ต้องใช้ความคิดดังนั้น จึงเปรียบการบริหารให้เป็น “สมอง” ของมนุษย์
Collection Development : The eyes
งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ – ตา, เป็นงานที่คอยจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมเข้าห้องสมุด ดังนั้นงานนี้จึงต้องอาศัยการหาแหล่ง การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศเป็นหลัก ถ้าคัดเลือกสื่อไม่ดีเข้าห้องสมุด ห้องสมุดก็จะมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีไม่ด้วย ดังนั้นงานนี้จึงเปรียบได้กับ “ตา” ของมนุษย์
Reference : The mouthงานบริการตอบคำถามและอ้างอิง – ปาก, เป็นงานที่ต้องพูดสื่อสารกับผู้ใช้ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ และบริการส่วนนี้มักจะมีผู้เข้าใช้บริการอยู่พอสมควรในการสอบถามปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับห้องสมุด หรือปัญหาเกี่ยวกับสารสนเทศ ดังนั้นจึงเปรียบงานตอบคำถามให้เป็น “ปาก” ของมนุษย์
Circulation : The heart
งานบริการยืมคืน – หัวใจ, งานบริการที่สำคัญที่สุดของห้องสมุด นั่นก็คืองานบริการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ เพราะเป็นงานที่จะต้องพบปะกับผู้ใช้ตรงๆ รวมถึงแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงงานบริการจำเป็นจะต้องบริการด้วยใจ ดังนั้นหากเทียบอวัยวะที่สำคัญสุด ก็คงหนีไม่พ้น“หัวใจ” ของมนุษย์
Technical Services : The digestion system
งานเทคนิค – ระบบย่อยอาหาร, งานเทคนิคที่กล่าวนี้ รวมถึงงานวิเคราะห์ งานซ่อมแซมหนังสือ และอื่นๆ ด้านเทคนิคครับ ถ้าเปรียบสารสนเทศเป็นอาหาร เมื่อปากเราได้กินอาหารเข้ามาก็ต้องผ่านกระบวนการมากมายกว่าที่อาหารเหล่า นั้นจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นเดียวกัน เมื่อหนังสือเข้าาที่ห้องสมุดต้องผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น จัดหมวดหมู่ ให้หัวเรื่อง และอื่นๆ กว่าหนังสือจะขึ้นชั้นให้บริการ ดังนั้นระบบที่ซับซ้อนเช่นนี้จึงเปรียบได้กับ “ระบบย่อยอาหาร” นั่นเอง
Programming : The muscles
งานด้านโปรแกรมห้องสมุด – กล้ามเนื้อ, งานโปรแกรมของห้องสมุดได้แทรกอยู่ทุกงานของห้องสมุดโดยไม่แบ่งแยก และทำงานกันอย่างสอดคล้องกัน ดังนั้นจึงคล้ายการทำงานของ“กล้ามเนื้อ” ของมนุษย์
ดังนั้นส่วนประกอบต่างๆ ของ อวัยวะมนุษย์ จะมีการทำงานอย่างสอดคล้องกัน ซึ่งแน่นอนคะว่า ต้องเหมือนกับห้องสมุดที่ทุกฝ่ายต้องทำร่วมกัน ทุกส่วนงานงานย่อมมีความสำคัญ เพื่อให้ได้สุขภาพที่ดี – ห้องสมุดที่สมบูรณ์
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับกับเรื่องที่นำเสนอในครั้งนี้ คราวหน้าจะหาเรื่องดีๆ มาฝากกันเช่นเคยคะ
———————————-
เข้าถึงข้อมูลได้จาก : http://www.libraryhub.in.th/2010/09/10/compare-library-librarian-and-human-organ/

1 ความคิดเห็น:

  1. ดีเลย เพราะถ้าเปรียบเเบบนี้ร่างกายเรามีความสำคัญมาก งานห้องสมุดก็มีความสำคัญเช่นกัน

    ตอบลบ