วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไอซีทีในสถานศึกษา


 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม ที่สามารถประมวลผลข้อมูลข่าวสารได้เร็ว และสื่อสารกันได้สะดวก เทคโนโลยีที่กล่าวถึงจึงรวมเรียกว่า ICT - Information Computer and Telecommunication จึงมีบทบาทที่สำคัญต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะการประยุกต์ในระบบการศึกษาสมัยใหม่ คณะที่ปรึกษาประธานาธิบดีอเมริกัน ได้ทำรายงานพิเศษเสนอต่อประธานาธิบดีในหัวข้อเรื่อง "การใช้ไอทีเพื่อเปลี่ยนการเรียนรู้" ซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ และก็มีหลายอย่างที่ตรงกับความคิดที่ทางมหาวิทยาลัย และทบวงมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการแล้ว 
นโยบายของทบวงมหาวิทยาลัยเน้นการขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ ให้มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการดำเนินการจัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะ ICT เข้ามามีส่วนร่วมในการกระจายการศึกษา 
การใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยเพื่อลดข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ ของการจัดการศึกษา ดังนี้
ลดข้อจำกัดทางด้านระยะทาง สามารถขยายการเปิดวิทยาเขตไปยังท้องถิ่นและจังหวัดต่าง ๆ ได้ ทำให้นิสิตนักศึกษามีที่เรียนที่ใกล้บ้านมากขึ้น ลดปัญหาสภาพภูมิศาสตร์ และการเดินทาง ระยะทาง เพราะมีการใช้เครือข่ายยูนิเน็ต การสร้างระบบการเรียนการสอนสองทางแบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ มีห้องเรียนเครือข่าย ห้องเรียนเสมือนจริง 
ลดข้อจำกัดในเรื่องเวลา ทำให้สามารถเปิดวิทยาเขตได้เร็ว มีการทำงานในระดับวิทยาเขตเป็นแบบเชื่อมโยงถึงกัน การศึกษาผ่านไอทีทำให้บริการแบบ 24x7 ได้ การเข้าถึงข่าวสารข้อมูลทำได้ตลอดเวลา 
ลดข้อจำกัดในเรื่องบุคลากร มหาวิทยาลัยในรูปแบบเก่ามักเน้นในเรื่อง สถานที่ อาคาร สิ่งก่อสร้าง แต่แนวคิดการกระจายวิทยาเขตสารสนเทศเป็นมหาวิทยาลัยที่เชื่อมโยงใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยเฉพาะการขาดแคลนบุคลากร อาจารย์ผู้สอน ทำให้กระจายการทำงานไปได้มาก 
ลดข้อจำกัดในเรื่องการลงทุน การลงทุนในด้านการศึกษาที่ใช้ไอทีเข้าช่วย จะทำให้ประหยัดต้นทุนโดยรวม และได้ประโยชน์คุ้มค่า เพราะสามารถกระจายรูปแบบการศึกษาไปยังท้องถิ่น ทำให้ขนาดของวิทยาเขตมีขนาดพอเหมาะ (right size) ลดค่าใช้จ่ายการดำเนินการโดยเฉพาะการเรียนการสอนโดยรวมจะมีต้นทุนที่ต่ำลง 
การใช้ ICT มาช่วยในเรื่องการศึกษายังทำให้เกิดผลสำเร็จในด้านการศึกษาสูงขึ้น ทบวงมหาวิทยาลัยมีเป้าหมายที่สำคัญต่อระบบการศึกษาไทย คือ 
ต้องการให้เข้าถึง และแสวงหาแหล่งความรู้ได้มาก โดยมี world knowledge ที่มากมาย มีการจัดหาระบบฐานข้อมูล และดิจิตอลไลบรารี มีการสร้างเครือข่ายห้องสมุดไทย 
ต้องการให้เรียนรู้ได้เร็ว เน้นการศึกษาที่สามารถเรียนรู้และนำวิทยาการใหม่มาปรับใช้ได้เร็ว มีเปอร์เซ็นต์การสำเร็จการศึกษาสูงขึ้น 
การให้บริการแบบ eService เป็นการบริการแบบ 24x7x365 การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้หลากหลายรูปแบบ 
มีความคล่องตัว การเข้าถึงข่าวสารได้ทั่วถึงโดยใช้ระบบโทรคมนาคมสมัยใหม่ ระบบไร้สาย ระบบการเรียกเข้าสู่เครือข่ายจากบ้าน
ที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/333403

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น