วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ภาพลักษณ์ของบรรณารักษ์ยุคใหม่

บรรณารักษ์ยุคใหม่ในสายตาของ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์
ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ได้กล่าวถึงภาพลักษณ์ของบรรณารักษ์ยุคใหม่ ในการบรรยายหัวข้อ ไอทียุคใหม่ ในการประชุมวิชาการประจำปี 2551 ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3-5 กันยายน ณ โรงแรมเอเชีย ท่านว่า
  • บรรณารักษ์จะต้องตื่นตัว และเปลี่ยนความคิดจากการเป็นผู้จัดหนังสือ เป็นผู้จัดรวบรวม เรียบเรียง และนำเสนอความรู้ให้กับผู้ใช้บริการทุกระดับเพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานต่อ
  • จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้อินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บ สืบค้น และค้นคืนข้อมูลข่าวสาร และสาระความรู้มาให้บริการแก่ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว และตรงกับความต้องการ
  • บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องเป็นนักบริหารมืออาชีพ และเป็นปราชญ์ในด้านการจัดการสารสนเทศและความรู้
  • บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องมีความเชี่ยวชาญในวิชาการอื่นๆ ด้วย อาจจะต้องมีการสิ่งใหม่เกิดขึ้นโดยที่พัฒนาบรรณารักษ์ปริญญาโท ปริญญาเอก จากผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นๆ (เหมือนต่างประเทศ)  เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญในสาขา ซึ่งในการพัฒนานั้นต้องสร้างสมรรถนะพื้นฐานให้ได้ด้วย

จากแนวคิดของ ดร.ครรชิต สิริพรมีทัศนะ ว่า
ในการพัฒนาบรรณารักษ์ให้เป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่นั้น มี 2 ระดับ คือ
1. ระดับบุคคล
2. ระดับองค์กร
การพัฒนาระดับบุคคล  ซึ่งบรรณารักษ์ที่รักการเรียนรู้ รักที่ติดตามข่าวสารบ้านเมือง จับประเด็น พิจารณาความสอดคล้อง และกลั่นกรองข้อมูล จะก้าวสู่ความเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่โดยไม่ยาก
สำหรับการพัฒนาบรรณารักษ์ยุคใหม่โดยองค์กรนั้น เป็นแรงสนับสนุนที่ช่วยสร้างบรรณารักษ์ยุคใหม่ได้หลายวิธี เช่น
  • การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น การแนะนำความรู้ใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การสนับสนุนการศึกษาต่อ อาจไม่ใช่แค่ให้ไปศึกษาต่อได้ แต่อาจจะมีทุนสนับสนุนหรือกู้ยืม
  • การส่งเสริมให้ศึกษาต่อในสาขาอื่นในระดับเดียวกัน (ปริญญาที่ 2) เพื่อนำมาใช้สร้างความเป็นผู้เชี่ยวชาญ
  • การสนับสนุนการศึกษาดูงาน การอบรมเชิงวิชาการ การประชุมสัมมนา
  • การส่งเสริมให้เข้าร่วมการประชุมระดับประเทศและนานาชาติ สนับสนุนการแสดงผลงานในการประชุม หรือเผยแพร่บทความในวารสารนานาชาติ เช่น มีทุนสนับสนุน เป็นค้น
  • การส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ลองสำรวจดูศักยภาพพื้นฐานของบรรณารักษ์ในหน่วยงานว่าสามารถใช้โปรแกรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เช่น การ ZIP file การสแกนภาพ  การใช้คำสั่งใน Acrobat Reader  ใช้โปรแกรมการพิมพ์  การใช้คำสั่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อ wireless ฯลฯ  ทั้งนี้เพื่อวัดระดับและจัดหลักสูตรการอบรมเสริมในส่วนที่บุคลากรยังขาดอยู่ ซึ่งเรื่องต่างๆ นั้นเป็นเรื่องที่บรรณารักษ์ควรรู้ไว้เพื่อให้บริการได้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้ที่เปลี่ยนไปในยุคไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ให้โอกาสในการปฏิบัติงานที่ท้าทาย ได้ฝึกทักษะทางด้านการบริหาร
  • สนับสนุนให้บรรณารักษ์ทำงานร่วมกับอาจารย์และคณะวิชา
  • กระตุ้นและจูงใจ
แล้วท่านหล่ะคะมีทัศนะเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของบรรณารักษ์ห้องสมุดยุคใหม่อย่างไร

ที่มา  http://www.gotoknow.org/posts/209681

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น