วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

OPAC 2.0



OPAC 2.0

ความสำคัญของการสืบค้น OPAC
  1. เพื่อทราบว่าห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการหรือไม่
  1. เพื่อทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศก่อนตัดสินใจคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ
  1. เพื่อทราบเลขเรียกหนังสือ สถานที่จัดเก็บ และสถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศก่อนที่จะไปหาตัวเล่มบนชั้น
  1. เพื่อใช้บริการอัตโนมัติต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ได้แก่ การจอง การยืมต่ออัตโนมัติ การตรวจสอบข้อมูลการยืม และการรวบรวมรายการบรรณานุกรม
ตัวอย่างโปรแกรมที่สามารถใช้ใน OPAC 2.0
โปรแกรม PMB
- มีระบบการยืมทรัพยากรสารสนเทศ (Loaning)
- มีระบบการจองหนังสือที่ต้องการ (Holding)
- มีระบบจัดการสมาชิก หรือ ผู้ยืม (Borrowers)
- มีระบบการรายงานเฉพาะงาน เช่น เมื่อสมาชิกยืมหนังสือ สามารถสั่งให้โปรแกรมพิมพ์ใบเสร็จการยืมและเวลาคืนให้สมาชิกได้ทันที เป็นต้น สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานการยืม-คืน ของสมาชิกห้องสมุดและเจ้าหน้าที่ห้องสมุดได้
- มีการจัดการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด เช่น การลงรายการหนังสือ วารสาร สื่อ หรืออื่นๆ สามารถกำหนดกลุ่มผู้ใช้ว่า นักศึกษามีสิทธิการยืมได้ 7 วัน สามารถยืมติดต่อกันได้ 2 ครั้ง อาจารย์มีสิทธิการยืมได้ 15 วัน สามารถยืมต่อกันได้ 2 ครั้ง เป็นต้น ซึ่งสามารถกำหนดรายละเอียดได้ตามความต้องการ เพื่อกำหนดให้เหมาะสมกับการบริหารงานของห้องสมุดนั้น ๆ
- มีระบบจัดการรายการระเบียนฉบับ (กำหนดเลขบาร์โค้ดให้กับหนังสือแต่ละเล่ม สำหรับการบริการยืม-คืนของห้องสมุด)
- มีระบบการจัดการบาร์โค้ด สามารทำ Barcode ได้ทันที
- สามารถนำเสนอรายงานการยืมคืนและการค้างส่งทรัพยากรห้องสมุดของสมาชิกห้องสมุดได้
- สามารถนำเสนอรายงานการจองหนังสือได้
- สามารถกำหนดรูปแบบการรายงานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งต้องใช้ความรู้ด้าน SQL
3.2.2) สามารถจองหนังสือที่สมาชิกห้องสมุดต้องการได้
4.2) สามารถเปรียบรูปแบบการแสดงผล (Theme or Template) ได้
4.3) สามารถเลือกภาษา Select Your Language ตามต้องการได้
โปรแกรม VuFind
  1. Search with Faceted Results มีระบบสืบค้นที่ยืดหยุ่น เช่น สามารถสืบค้นแบบจำกัดขอบเขตได้
  1. Live Record Status and Location with Ajax Querying แสดงผลทันที ด้วยเทคโนโลยี AJAX ทำให้การสืบค้นมีลูกเล่นน่าสืบค้น
  1. More Like This Resource Suggestions สามารถแนะนำ และวิจารณ์หนังสือเล่นนั้นนั้นได้ด้วย
  1. Save Resources to Organized Lists สามารถบันทึกรายการที่ต้องการลงในรายการส่วนตัวได้
  1. Browse for Resources สามารถสืบค้นตามหมวดของรายการสารสนเทศได้
  1. Author Biographies สามารถแสดงผลข้อมูลชีวประวัติของผู้แต่ง หรือ ผู้เขียนได้
  1. Persistent URLs บันทึก URL เพื่อใช้ในคราวต่อไป หรือส่งต่อให้คนอื่นได้
  1. Zotero Compatible สามารถรองรับกับโปรแกรม Zotero เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลที่สืบค้นไปจัดทำรายการบรรณานุกรม
  1. Internationalization รองรับการแสดงผลหลายภาษา
  1. Access Your Data: Open Search, OAI, Solr สามารถใช้งานร่วมกับ Open Search, OAI และ Solr ได้
โปรแกรม OpenBiblio

            OPAC (Online Public Access Catalog) คือ เป็นฐานข้อมูลรายการบรรณานุกรมที่หน่วยงาน สถาบันหรือแหล่งบริการสารสนเทศนั้นๆ จัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาและชี้แหล่งทรัพยากรให้กับผู้ใช้ในการค้นหาหนังสือ บทความวารสาร โสตทัศนวัสดุ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว และค้นหาได้ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากแหล่งบริการสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้ระบบออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต การสืบค้นสามารถทำได้ง่าย เช่น การค้นด้วยชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ โดย OPAC 2.0 ได้มีการนำมาใช้ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติซึ่งเป็นระบบการทำงานของห้องสมุดที่มีการนำเอาอุปกรณ์ประมวลผล ซึ่งประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มาใช้ เพื่อการจัดการงานของห้องสมุดในลักษณะผสมผสาน มีการทำงานร่วมกันหรือเชื่อมโยงกัน ระหว่างระบบงานต่าง ๆ ของห้องสมุด ได้แก่ งานจัดหา งานทำรายการ งานบริการยืม-คืน และงานสืบค้นข้อมูล และการจัดการวารสาร การสืบค้นหนังสือหรือข้อมูลต้องสะดวก รวดเร็ว พาผู้ใช้ไปยังข้อมูลที่เขาสนใจได้อย่างง่ายดาย มีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ มีเครื่องมือในการช่วยเหลือให้ใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น รวมถึงเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในรายการต่างๆ ได้


PMB พัฒนาขึ้นในประเทศฝรั่งเศส เพื่อใช้ในการจัดการเอกสาร เป็นระบบที่พัฒนาเป็นภาษาฝรั่งเศสและใช้งานผ่านระบบเว็บ มีระบบงานที่สำคัญ ได้แก่ ระบบงาน ยืม-คืน ระบบสืบค้นสารสนเทศออนไลน์ ระบบงานทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ ระบบงานควบคุมวารสาร และระบบงานการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล รองรับมาตรฐานการลงรายการแบบ MARC การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย Z39.50 สามารถสร้างบาร์โค้ดได้เอง และสามารถใช้ได้บนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ หรือวินโดวส์

คุณสมบัติของโปรแกรมหรือโมดูล (Module) การทำงานหลัก มีดังนี้
1) ใช้การจัดเก็บข้อมูลแบบ UNIMARC (ตามมาตรฐานของ ISO 2709) ซึ่งมีความคล้ายกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS ซึ่งจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ MARC21 และสามารถดึงข้อมูลออกมาแล้วนำมาแปลงลงใน PMB ได้โดยไม่เกิดปัญหา
2) มีระบบ Authority Management คือ ระบบการตรวจสอบ เช่น เมื่อเวลากรอกชื่อผู้แต่ง อาจมีการพิมพ์สะกดชื่อผิดพลาดสำหรับชื่อผู้แต่งคนเดียวกัน เช่น อำนวย ปิ่นทอง และ อำนาย ปิ่นทอน ดังนั้น PMB จึงมีระบบจัดการการพิมพ์ชื่อผู้แต่ง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการพิมพ์เพื่อจัดเก็บข้อมูล ซึ่งจะส่งผลต่อการสืบค้นรายการ และเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาในภายหลัง
3) มีระบบการจัดการที่ดี โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
3.1) ระบบสำหรับเจ้าหน้าที่ (Staff) มีดังนี้
3.1.1) มีระบบการจัดการการบริการยืม-คืน (Circulation) ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
3.1.2) มีระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เรียกว่า Cataloging มีดังนี้
3.1.3) มีระบบการทำรายงาน Report มีดังนี้
3.2) ระบบสำหรับผู้ใช้ทั่วไป หรือ ระบบการสืบค้น OPAC
3.2.1) สามารถสืบค้นรายชื่อของทรัพยากรห้องสมุดได้
4) การปรับแต่งตามความเหมาะสมกับผู้ใช้ (A User-Friendly Configuration)
4.1) สามารถกำหนดค่า Parameter ในการเปิด-ปิดการใช้งานได้
5) ความเข้ากันได้ของระบบมาตรฐาน คือ สามารถ นำเข้าหรือส่งออกรายการทางบรรณานุกรม (Bibliographic Records) ตามรูปแบบการลงรายการแบบ UniMARC
6) มีระบบการสืบค้น OPAC
7) มีระบบการจัดการวารสาร

VuFind เป็นโปรแกรมเสริมของระบบห้องสมุดอัตโนมัติประเภท Open Source ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข และลิขสิทธิ์ของ GPLโปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยแนวความคิดของห้องสมุดยุคใหม่ที่ต้องการสร้างความน่าสนใจในสารสนเทศ โดยทำหน้าที่เป็นโปรแกรม Browers เพื่อใช้สำหรับแสดงผลการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะ ซึ่งช่วยทำให้ระบบสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้โปรแกรม VuFind ยังสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างระบบกับผู้ใช้บริการมากขึ้น หรือสามารถให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการจัดการรายการสารสนเทศได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการสนใจ หรือจะเป็นการกำหนด Tag เองได้

ความสามารถของโปรแกรม VuFind

OpenBiblio เป็น Open Source Software ในการจัดบริหารจัดการห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ (Integrated Library System : ILS) ซึ่งได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานสากล สามารถรองรับการทำงานในโมดูลต่างๆ การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Cataloging) การสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Access Cataloging : OPAC) การยืม-คืน (Circulation) และการจัดทำ Label รวมถึงรายงาน (Reports) ติดตั้งและใช้ง่ายไม่ซับซ้อน ประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่าย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจโดยเฉพาะสำหรับห้องสมุดขนาดกลางและขนาดเล็ก พัฒนาด้วยภาษา PHP ลิขสิทธิ์โดย GNU General Public License (GPL)
การสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศในระบบ OpenBiblio นั้น สามารถสืบค้นได้จาก 3 ทางเลือก ได้แก่ Title (ชื่อเรื่อง) คือ สืบค้นจากชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ Author (ชื่อผู้แต่ง) คือ สืบค้นจากชื่อผู้รับผิดชอบในการสร้างสรรค์ทรัพยากรสารสนเทศ และ Subject (หัวเรื่อง) คือ สืบค้นจากหัวเรื่องหรือคำสำคัญ
เมื่อทำการสืบค้น หน้าจอจะปรากฏข้อมูลรายละเอียดรายการบรรณานุกรมฉบับเต็มของทรัพยากรสารสนเทศรายการนั้นๆ เช่น ISBN ลักษณะทางกายภาพ พิมพ์ลักษณ์ ปีที่พิมพ์ สารบัญ เป็นต้น ผู้ใช้สามารถตรวจสอบสถานภาพของรายการนั้นๆ ว่ายังว่างอยู่หรือไม่ หรือมีการถูกยืมออกไปแล้ว


ที่มา
เขียนบน  โดย gallaya
http://gallaya.wordpress.com/2012/09/08/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-7-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99-2555/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น