วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์


http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2011/04/libraryhub_begin.png
ปล. บทความนี้เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ในวารสารโดมทัศน์ของธรรมศาสตร์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 2
ชื่อบทความว่า คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib – Libraryhub
เอาเป็นว่าใครหาอ่านจากตัวเล่มไม่ได้ก็อ่านได้บนบล็อกผมเลย ด้านล่างนี้เลยครับ
คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib – Libraryhub”
มีคนเคยบอกผมว่า ?หากเราไม่เริ่มที่จะทำอะไรสักอย่าง สิ่งๆ นั้นก็จะไม่มีทางเกิด….? เมื่อผมได้ฟังประโยคนี้แล้ว ผมได้หันกลับมามองย้อนการทำงานของตัวเอง ในช่วงนั้นผมเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ห้องสมุดตำแหน่งเล็กๆ ในห้องสมุดแห่งหนึ่ง ผมถามตัวเองว่า ?ทำไมวงการบรรณารักษ์ถึงไม่มีศูนย์กลางของข่าวสารด้านวงการห้องสมุดเลย หรือ ทำไมถึงหาบทความอ่านเกี่ยวกับเรื่องบรรณารักษ์ยากจัง? เมื่อคิดแล้วในสมองของผมมันก็ตอบกลับมาว่า ?จริงๆ เราน่าจะมีเว็บไซต์เพื่อวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์บ้างนะ? นี่คือความคิดเล็กๆ ในวันนั้นที่ทำให้มีเว็บไซต์ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ในวันนี้
เริ่มคิดเริ่มค้นหา
ใครๆ ก็คิดว่าอยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง แต่ปัญหาหนึ่งที่หลายๆ คนเจอ คือ ไม่มีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมและไม่มีความรู้เรื่องการออกแบบเว็บไซต์ ผมเองก็ประสบปัญหาเดียวกันครับ เมื่อตั้งโจทย์ขึ้นว่าอยากมีเว็บไซต์แต่ทำเว็บไซต์ไม่เป็น ที่พึ่งหนึ่งของผมก็คือห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลเรื่องการสร้างเว็บไซต์เริ่มต้นขึ้นผ่านไปหนึ่งเดือนหนังสือหลายเล่มที่อ่านจบไปก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย การเข้าไปดูเว็บไซต์อื่นๆ ก็เป็นเพียงแค่รูปแบบที่ทำให้ผมจินตนาการเว็บไซต์ส่วนตัวให้ดูอลังการมากมายแต่ทำไม่ได้จริง เมื่อใกล้พบกับความสิ้นหวังก็มีแสงสว่างหนึ่งปรากฎขึ้นมา ผมได้พบกับเพื่อนคนหนึ่งในเว็บไซต์และรู้ว่าเขาสามารถทำเว็บไซต์ได้จึงขอคำปรึกษา ซึ่งเขาให้คำแนะนำมากมาย รวมถึงแนะนำคำว่า ?บล็อก (Blog)? ให้ผมรู้จัก
ช่วงนั้นมีบล็อกมากมายที่ให้บริการฟรีบนเว็บไซต์ เช่น Gotoknow, Exteen, OKnation, Blogspot, WordPress ฯลฯ ผมจึงไม่รอช้าที่จะเข้าไปเล่นและใช้งานบล็อกหลายๆ ที่ และสิ่งที่ทำให้ผมรู้ คือ การเขียนบล็อกมันง่ายจริงๆ แทบจะไม่ต้องเข้าใจเรื่องการเขียนโปรแกรมเว็บไซต์เลยก็ว่าได้ จากบล็อกต่างๆ เหล่านั้น ผมจึงเลือกWordpress เพื่อใช้เป็นบล็อกหลักของผม
ชื่อบล็อกสำคัญไฉน
เพื่อให้ทุกคนรู้จักบล็อกของเรา สิ่งที่ต้องคิดตามมาคือ ชื่อบล็อก การตั้งชื่อบล็อกมีแนวทางในการเลือกชื่อบล็อกมากมาย เช่น เอาชื่อหน่วยงานตัวเอง เอาชื่อจริงของตัวเอง หรือแม้กระทั่งการเอาชื่อนามปากกาของตัวเองมาใช้ ซึ่งสำหรับผมแล้วการใช้ชื่อ Projectlib ดูเหมือนว่าจะเป็นชื่อที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด เนื่องจากบล็อกของผมไม่ได้สังกัดใครดังนั้นจึงไม่มีชื่อหน่วยงาน และการเอาชื่อจริงมาใช้ก็ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากมีคนนำชื่อจริงผมไปจดทะเบียนโดเมนเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากจุดประสงค์และการสื่อสาร ผมจึงเลือก Projectlib มาใช้ด้วยความหมายว่า Project หมายถึง โครงการ และ Lib มาจาก Library ซึ่งหมายถึงห้องสมุด เมื่อนำมารวมกันเป็น Projectlib นั่นหมายถึงโครงการสำหรับห้องสมุดนั่นเอง
หัวใจของการสร้างชุมชนแห่งนี้
เมื่อได้พื้นที่ในการเขียนและได้ชื่อบล็อกในการสื่อสาร สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คืออุดมการณ์ในการเขียนบล็อก ซึ่งเรื่องนี้ผมเขียนในบล็อกของผมเองหลายครั้งแล้ว และก็ขอนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านอีกครั้ง เพราะนี่คือจุดประสงค์ที่แท้จริงของการทำบล็อก Projectlib และ Libraryhub 10 ข้อนี้เป็น 10 ข้อจากใจผม ซึ่งมีดังนี้
1. วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดในประเทศไทยต้องพัฒนาและปรับปรุงตนเองมากกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้
2.
ห้องสมุดถือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของคนในสังคม
3.
การนำสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวมาประยุกต์ใช้การทำงาน เช่น การนำ MSN มาใช้เพื่อตอบคำถามออนไลน์ ฯลฯ
4.
การอ่านมากๆ ทำให้สมองของเราแข็งแรง พัฒนาความรู้ และต่อยอดได้เยอะขึ้น
5.
ลบภาพบรรณารักษ์ยุคเก่า และสร้างภาพลักษณ์บรรณารักษ์ยุคใหม่
6.
งานด้านบรรณารักษ์ และห้องสมุดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ด้วย
7.
อยากบอกว่าข่าววงการบรรณารักษ์ทั่วโลกมีมากมาย แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครนำเสนอเลย
8.
งานห้องสมุดมีมากกว่าแค่นั่งเฝ้าหนังสือ
9.
ห้องสมุดก็มีเรื่องสนุกๆ มากมาย ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายๆ คนคิดนะครับ
10.
สำคัญที่สุดแล้วคือ ผมรักวิชาชีพนี้มาก และเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก

ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น