วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเปลี่ยนแปลงบทบาทห้องสมุด..

 

การเปลี่ยนแปลงบทบาทห้องสมุด..


“การเปลี่ยนแปลง” คือ? ความท้าทาย หรือ ความหวาดกลัว วิถีใหม่ที่ดีกว่า หรือ ความร้าวฉาน การลดค่าใช้จ่าย หรือ การสิ้นเปลือง เรียนรู้หลักพื้นฐานการจัดการการเปลี่ยนแปลง และกรณีศึกษาการจัดการการเปลี่ยนแปลงบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ห้องสมุด มหาวิทยาลัยฮ่องกง มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับที่ 1 ของภูมิภาคเอเชีย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 200 อันดับแรกของภูมิภาคเอเชียของ QS Asian Universities Ranking 2009 และ อันดับที่ 93 จาก Top 200 Colleges and Universities in the world/top200
การเปลี่ยนแปลงองค์กร Dr. Anthony Ferguson เน้นสิ่งสำคัญก่อนอื่นใด คือ การเข้าใจปัจจัยพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลต่อผู้รับผิดชอบการจัดการการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้แก่
  1. คนที่ต่างกันย่อมมีปฏิกิริยาต่อต่างกัน บางคนชอบ/ไม่ชอบ บางคนยอมรับ/ปฏิเสธและต่อต้าน ดังนั้นจึงต้องสร้างพันธมิตรกับคนที่ปฏิเสธและต่อต้าน สนับสนุนพันธมิตรเพื่อให้รู้จักกันยิ่งๆ ขึ้น
  2. ทุกคนต้องการบรรลุความต้องการพื้นฐาน ต้องการจัดการชีวิตตัวเอง และมีส่วนร่วมในการจัดการความเปลี่ยนแปลงและต้องการรู้ว่าจะเกิดอะไรกับตัวเอง ฉะนั้นการเข้าใจความต้องการคนเหล่านี้และทำให้เกิดผลจึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งลงมือ
  3. การเปลี่ยนแปลงมักเกิดขึ้นคู่กับการสูญเสียเสมอ ซึ่งเส้นโค้งของความสูญเสียเริ่มจาก ตระหนก โกรธเคือง ปฏิเสธ ยอมรับ และบำบัด ซึ่งการเข้าใจว่าคนเราผ่านเส้นทางการเปลี่ยนแปลงช้าเร็วต่างกัน และใช่ว่าทุกคนจะผ่านไปได้เป็นสิ่งที่ต้องทำ
  4. จัดการความคาดหวังด้วยความเป็นจริง ความหวัง คำมั่นที่ให้ไว้ต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริง เราจึงต้องสร้างความมั่นใจให้กับคนที่จะได้รับผลของการเปลี่ยนแปลงว่าสิ่งที่สัญญาไว้จะเป็นจริง
  5. ขจัดความกลัวให้ได้ โดยใส่ใจความรู้สึกและหาทางบรรเทาความกลัวด้วยความจริงจังและจริงใจ
สิ่งที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยได้เรียนรู้ คือ
ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ตั้งแต่การไม่ได้ให้ภาพจริงถึงสิ่งที่รออยู่สำหรับบุคลากรที่ต้องการพบกับการเปลี่ยนแปลง การคาดเดาเองว่าเพื่อนร่วมงานเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น และผู้ปฏิบัติงานไม่ใช่คนตัดสินใจแต่กลายเป็นผู้บริหารระดับสูงซึ่งไม่ได้อยู่หน้างาน ขาดความรู้สึกการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซึ่งผู้บริหารไม่มีข้อสงสัยเรื่องผลดีจากการเปลี่ยนแปลง แต่ผู้ปฏิบัติงานขาดหลักฐานช่วยสร้างความเชื่อมั่น
สิ่งที่ควรทำ คือ สร้างความชัดเจนให้มากขึ้น
สิ่งที่ทำถูกต้อง คือ การตั้งคณะกรรมการพัฒนาบุคลากรเริ่มการจัดทำประเด็นที่ต้องดำเนินการ จำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรมที่กรรมการพนักงานสัมพันธ์จัดขึ้นค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น และกรรมการพนักงานสัมพันธ์จัดประชุมเพื่อให้ฝ่ายบริหารรายงานสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
ส่วนมุมมองว่าแต่ละคน แต่ละที่มีธรรมชาติ และปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ การเข้าใจปัจจัยพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลง และแม้ว่าความสูญเสียนั้นจะเกิดขึ้นควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้มันคุ้มค่ามากที่สุด แต่เจ็บปวดน้อยที่สุด
ที่มาจาก http://blog.lib.kmitl.ac.th/?p=6229

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น