วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



การสร้างแบรนด์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย.



การสร้างแบรนด์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย.
ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายประการ โดยเฉพาะปริมาณผู้ใช้ที่ลดลง และการประเมินคุณภาพที่เข้มข้นมากขึ้น เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ห้องสมุดหลายแห่งได้ให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ เพื่อสร้างชื่อเสียงและการยอมรับจากผู้รับบริการ ดังนั้นแบรนด์จึงเป็นมากกว่าชื่อ ตราสินค้า(Brand name) แต่ยังรวมถึงความรู้สึก ภาพลักษณ์ ประสบการณ์ ที่บริโภคกับสินค้ามีปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื้อด้วย เมื่อแบรนด์มีผลต่อการตัดสินใจที่จะใช้บริการ สามารถครองใจผู้บริโภคหรือเกิดความภักดีต่อแบรนด์ จนต้องใช้ซ้ำ และบอกต่อ ซึ้งการสร้างแบรนด์ไม่ได้จำกัดที่ตัวสินค้า หากแต่รวมถึงองค์กรอีกด้วย
คุณลักษณะมี2 ลักษณะคือ
  1. คุณลักษณะที่จับต้องได้ (Tangible Attributes) ซึ้งสามารถใช้ประสารทสัมผัสรับรู้ในลักษณะที่แยกเดี่ยวและรวมกัน เช่น การสัมผัสถึงรสชาติและกลิ่นหอมของกาแฟ เป็นต้น
  2. คุณลักษณ์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Attributes) ของสินค้า ที่เกิดความรู้สึกของผู้บริโภคที่เกิดจากการสัมผัส คอบครองแบรนด์ ทั้งที่รับรู้เพียงคนเดียวและที่มีผู้อื่นมองเห็น เช่น ความรู้สึกว่ามีระดับเมื่อเดินเข้าร้านกาแฟ เป็นต้น
การสร้างแบรนด์ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
  1. การสร้างกลยุทธ์ของแบรนด์
-          การกำหนดกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ (Target consumer identification) คือการกำหนดว่าองค์กร หรือบริษัทจะทำอะไร ในขอบเขตขนาดไหน และทำไปเพื่อใคร โดยควรจะมีการวิเคราะห์ SWOT เพื่อศึกษาหาจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง
-          กำหนดวิสัยทัศน์ของแบรนด์ (Brand vision) คือเป้าหมายเชิงนโยบายของแบรนด์
-          กำหนดจุดยืนของการวางตำแหน่งของแบรนด์ (Brand positioning) คือการสร้างจุดยืนที่เราสร้างชื่อเสียงเริ่มจาก ความเชื่อ หรือคุณค่า
-          กำหนดคุณสมบัติของแบรนด์ (Brand attribute) โดยประกอบด้วยคุณสัมบัติ 3 ประการ คือ สร้างอรรถประโยชน์ได้ สร้างอรรถรสคุณค่าความรู้สึกต่อกลุ่มเป้าหมาย และสร้างอัตลักษณ์ให้มีความแตกต่างโดดเด่นชัดเจน
-          กำหนดพันธะสัญญาของเบรนด์(Brand promisa)
-          การสร้างระบบเอกลักษณ์ของเบรนด์(Brand identity)
  1. การแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ
-          ปฏิบัติการภายในองค์กร(Internal branding ) คือการนำกลยุทธ์มาถ่ายทอดให้เกิดพฤติกรรม นำเอาคุณสัมบัติของแบรนด์มาพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒธรรมขององค์กร
-          ปฏิบัติภายนอกองค์กร (External branding) การนำกลยุทธ์มาถ่ายทอดให้เกิดเป็นแผนการตลาด หรือเป็นการนำแบรนด์สู่ตลาด
การสร้างแบรนด์ให้กับห้องสมุดมหาวิทยาลัย
                การสร้างแบรนด์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย มีกระบวนการเช่นเดียวกันกับการสร้างแบรนด์ขององค์กร แต่ต่างกันตามบริบทของแต่ละห้องสมุด ที่จะต้องสอดคล้องกับทิศทางของมหาวิทยาลัยควรตะหนักในการสร้างแบรนด์ดังนี้
  1. การสร้างกลยุทธ์ของแบรนด์
-          สำรวจสภาพปัจจุบัน ว่าห้องสมุดในเวลานี้อย่างไร ผู้ใช้มีความคาดหวัง และความรู้สึก ต่อห้องสมุดอย่างไร แล้วนำมาวิเคราะห์และกำหนดขอบข่ายของการดำเนินห้องสมุด กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
-          การกำหนดวิสัยทัศน์ จะต้องชัดเจน และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
-          ห้องสมุดจะต้องแข่งขันกับตัวเอง เพราะระบบประกันคุณภาพที่เข้มข้นมากขึ้นในปัจจุบัน และพฤติกรรมของผู้ใช้ที่เปลี่ยนไป
-          กำหนดคุณสมบัติของแบรนด์ ต้องช่วยกันระดมสมองจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาคุณสมบัติที่แท้จริง
-          กำหนดพันธะของแบรนด์ ห้องสมุดจะต้องสร้างความเชื่อมั่น หรือสัญญาว่า เมื่อผู้ใช้เข้ามาสัมผัสกับห้องสมุดแล้วจะต้องได้รับสิ่งใดแน่นอน
-          สร้างระบบเอกลักษณ์ของแบรนด์ ตราสัญลักษณ์  ป้ายต่าง ๆ สื่อประชาสัมพัน์ เป็นต้น
  1. การแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ
-          ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังภายในองค์กร โดยเฉพาะตัวบรรณารักษ์ ซึ่งเป็นตัวแทนของแบรนด์ เช่นการบริการด้วยรอยยิ้ม เต็มใจ กระตือรือร้น และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้
-          สร้างแบรนด์ให้กับห้องสมุดมหาวิทยาลัย ทำให้บริการพื้นฐานที่มีอยู่เดิม เช่น การยืม-คืน ตอบคำถามและการช่วยค้นคว้า ดีขึ้น ง่ายขึ้นและมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
-          สร้างสรรค์งาน เพื่อขับเคลื่อนให้แบรนด์เป็นที่ยอมรับ เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์ห้องสมุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น