วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิธีการจัดการความรู้

วิธีการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ให้ประสบผลสำเร็จ จะต้องมีการให้คำปรึกษาหารือกันเพื่อลงมือปฏิบัติ หาที่ปรึกษา
ด้านการลงมือทำมาช่วยเหลือ  โดยให้เริ่มทำในกลุ่มเล็ก ๆ ไปก่อน  ใช้วิธีการง่าย ๆ ก่อน  แล้วจึงค่อย ๆ
 ขยายไปใช้วิธีการที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น  สิ่งสำคัญก็คือต้องให้เกิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 
(Knowledge Sharing) ระหว่างกันของบุคคลในองค์กร
                
วิธีการใดก็ตามที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนางานของกลุ่มหรือของตน ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์หรือความรู้ที่เกิดจากการทำงาน ถือเป็นการจัดการความรู้ทั้งสิ้น  ซึ่งมีวิธีการจัดการความรู้มากมายหลายวิธี   ควรใช้วิธีที่มีความง่ายในช่วงเริ่มต้น  แล้วค่อย ๆ ใช้วิธีการที่ยากหรือซับซ้อนขึ้นตามลำดับและความจำเป็น   ในที่นี้จะแนะนำวิธีการจัดการความรู้อย่างง่าย 2 วิธีการคือ

1.       การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิธีการทำงานแบบ Best Practice 
                วิธีทำงานที่เป็น best practice คือ วิธีทำงานที่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติอันดีเยี่ยม  เป็น
วิธีที่เกิดผลงานในลักษณะที่มีผลสัมฤทธิ์สูง มีประสิทธิภาพสูง หรือมีคุณภาพสูง
                องค์กรขนาดใหญ่ต้องหา best practice ของการทำงานเรื่องต่าง ๆ นำมากำหนดเป็น
มาตรฐานการทำงาน  จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมเจ้าของ best practice กับทีมงานอื่น ๆ 
  ให้ทีมงานอื่น ๆ สามารถปฏิบัติงานตามเป็นมาตรฐานแบบอย่างได้  และยิ่งกว่านั้น ต้องส่งเสริมให้มี
การพัฒนา best practice ใหม่ขึ้นให้เป็นวิธีการที่ดีกว่าเดิม เป็นวงจรเรื่อยไปไม่สิ้นสุด
                ในองค์กรรวบรวม และนำวิธีการทำงาน และประสบการณ์ทำงานโดยวิธีการที่เป็น best practice  เขียนเป็นเอกสารขึ้นไว้บน intranet หรือ website ขององค์กรให้พนักงานใช้ password เข้ามาดูได้ตลอดเวลา จะช่วยอำนวยความสะดวกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพนักงาน

2.       การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน “ชุมชนนักปฏิบัติ” (Community of Practice ; CoP)
                ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice) อาจเป็นชุมชนที่มีความสนใจในปัญหาเดียวกัน เรื่องเดียวกัน  ชุดความรู้ชุดเดียวกัน  แต่อาจทำงานอยู่ในต่างหน้าที่กัน หรือเผชิญกับปัญหาคนละปัญหากัน 
               
 วิธีการแลกเปลี่ยนของชุมชนนักปฏิบัติที่ธรรมดาที่สุดคือ  การนัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสม่ำเสมอ เช่น กำหนดประชุมทุกวันพุธ เวลา 12.00-13.00 น.  เอาอาหารเที่ยงมารับประทานร่วมกัน หรือทานกาแฟร่วมกัน  และมีคนมาเล่าประสบการณ์ของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำให้เกิดประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ซึ่งกันและกัน 
               
 หรือการใช้วิธีการทำ website  ขึ้นมา  แล้วเปิดโอกาสให้สมาชิกใน CoP ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการซึ่งกันและกันผ่านทางกระทู้คำถามต่างๆ และก็มีผู้ที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์มาช่วยกันตอบคำถาม  และแชร์ความรู้ร่วมกัน

ที่มา http://portal.in.th/inno-sayan/pages/1138/
ผู้แต่ง นาย สายยันต์ แสงสุริยนต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น