วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความสำคัญของบริการห้องสมุด


สิ่งได้จากการเรียนรู้รายวิชาบริการสารสนเทศ

ความสำคัญของบริการห้องสมุด
  1. เป็นองค์ประกอบที่เกื้อหนุนการพัฒนาห้องสมุด
ในงานบริการห้องสมุด บรรณารักษ์มีหน้าที่จัดเตรียม จัดหา ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงได้สะดวก ตรงกับความต้องการ มีคุณภาพ สำหรับงานบริการถ้าผู้ใช้เปลี่ยน บรรณารักษ์ก็ต้องเปลี่ยนตามผู้ใช้ไปด้วย ซึ่งบรรณารักษ์ต้องคอยให้บริการให้ผู้ใช้ตลอดเวลา ซึ่งบรรณารักษ์ควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ใช้ เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่ห้องสมุด และสร้างความนิยมชมชอบจากผู้ใช้บริการ โดยศึกษาผู้ใช้ต่อความพึงพอใจในงานบริการ เพื่อนำมาพัฒนาห้องสมุดให้ก้าวหน้าไปข้างหน้าด้วยความมั่นคงและเชื่อมั่น
2. ส่งเสริมสนับสนุนในด้านการศึกษา
ห้องสมุดเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้และสื่อการเรียนรู้ต่างๆ  โดยห้องสมุดมี 5 ประเภท ดังนี้
  1. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย  บทบาทของห้องสมุดมหาวิทยาลัยนี้จะส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เป็นหน่วยงานที่  ทุกมหาวิทยาลัยต้องมี
  2. ห้องสมุดโรงเรียน  มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษาเช่นเดียวกับห้องสมุดมหาวิทยาลัย
  3. ห้องสมุดเฉพาะ เป็นห้องสมุดที่ให้บริการสาขาวิชาบางสาขาโดยเฉพาะ เช่นห้องสมุดทางการแพทย์  ซึ่งเป็นห้องสมุดส่งเสริมการศึกษาทางการแพทย์
  4. ห้องสมุดประชาชน สำหรับคนที่ไม่ได้ศึกษาในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยได้เข้าศึกษาค้นคว้าหาความรู้ติดตามข่าวสารที่ต้องการได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลักการของห้องสมุดประชาชนเพื่อพัฒนาศักยภาพคุณภาพชีวิตของประชาชน
  5. ห้องสมุดแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศและความรู้ทุกอย่างที่ผลิตภายในประเทศ ดังนั้นจะทำให้เป็นความรู้สำหรับผู้ใช้บริการได้นำไปใช้ประโยชน์ได้
ในที่นี้ได้มีการวิเคราะห์วิธีการศึกษาห้องสมุดในสถานศึกษาในประเทศไทย ระหว่างห้องสมุดที่ครูบรรณารักษ์ที่จบทางด้านบรรณารักษ์กับห้องสมุดที่เป็นบรรณารักษ์แต่ไม่ได้จบทางด้านสาขานี้มาโดยให้นักเรียนทดสอบในการทำข้อสอบมาตรฐาน แล้วพบว่าครูบรรณารักษ์ที่จบทางด้านบรรณารักษ์ได้ส่งเสริม พัฒนานักเรียนในเรื่องความรู้ทักษะสารสนเทศมีผลความสำเร็จสูงในการผ่านข้อทดสอบมาตรฐานของประเทศ และสูงกว่านักเรียนที่มีครูบรรณารักษ์แต่  ไม่ได้จบทางด้านสาขา จึงทำให้การศึกษาของห้องสมุดโรงเรียนประสบความสำเร็จ มีประสิทธิภาพและคุณภาพใน   การเรียนการสอน
3. ในด้านเศรษฐกิจ
ช่วยให้ผู้ใช้บริการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ โดยที่ผู้ใช้สามารถนำเงินในส่วนที่จะเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปใช้จ่ายในด้านอื่นๆ เพื่อหาความรู้ และความก้าวหน้าให้แก่ตนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งห้องสมุดจะจัดหาทรัพยากรมาให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คิดมูลค่า เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไปบริการให้ประชาชนในชุมชน เป็นต้น จึงทำให้ห้องสมุดเป็นสายตาของประชาชนที่ต้องการทรัพยากรสารสนเทศ
ในยุคเศรษฐกิจ ปี 2010 ส่งผลทำให้ประชาชนลดทานอาหารนอกบ้าน การใช้จ่ายลดลงในการซื้อหนังสือ ซีดี เพราะมีการใช้ทรัพยากรผ่านทางออนไลน์มากขึ้น แต่มีแนวโน้มที่เปลี่ยนไปคือผลการใช้ห้องสมุดมากขึ้น
4. ในทางวัฒนธรรม
สถาบันสารสนเทศหรือห้องสมุดต้องจัดเก็บ ทำนุบำรุง รักษา และส่งเสริมวัฒนธรรมชาติบ้านเมือง เป็นหน้าที่ของห้องสมุดที่จะจัดจัดการบริการที่ต้องให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม เช่น ประเพณีลอยกระทง ห้องสมุดก็ต้องจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีให้กับนักศึกษาได้  ดังนั้นห้องสมุดจึงเป็นองค์กรส่วนกลางของสังคม
5. การเมืองการปกครอง
เป็นการส่งเสริมระบอบการเมืองการปกครองของประเทศ ที่ห้องสมุดต้องจัดหาทรัพากรสารสนเทศเพื่อบริการความรู้ให้แก่ทุกระดับ ซึ่งบทบาทอาจจะไม่จำกัดเพียงแค่จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ แต่อาจจะใช้วิธีการส่งเสริมการจัดกิจกรรม เช่น การจัดกิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้ง,จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อให้คนได้รับการฝึกฝนให้มีนิสัยรักการอ่าน และกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ เป็นต้น
วัตถุประสงค์การบริการห้องสมุด
  1. เน้นให้ผู้ใช้รับสารของสนเทศที่ถูกต้อง สมบูรณ์ ตรงกับความต้องการผู้ใช้ให้มากที่สุด
  2. เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและแหล่งสารสนเทศกับผู้ต้องการใช้สารสนเทศ
  3. ส่งเสริมการถ่ายทอดสารสนเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างผู้ใช้กับแหล่งทรัพยากร
  4. กลั่นกรองสารสนเทศได้สารสนเทศที่มีคุณภาพ
  5. ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้รายบุคคล กลุ่ม และมีบริการที่สามารถสนองตอบความต้องการ
  6. พัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ ความรู้ ความคิด พัฒนาการรู้สารสนเทศในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย
  7. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทั้งภายในและภายนอกสถาบันบริการสารสนเทศ
ทฤษฎีของการบริการห้องสมุด
ทฤษฎีของ Ranganathan
กฎเก่าแต่ก็ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้ในเหตุการณ์ปัจจุบัน
ทฤษฎีของ นักบรรณารักษ์ Gorman
1. หนังสือมีไว้ให้ใช้1. ห้องสมุดมีไว้เพื่อให้บริการมนุษยชาติ เป็นการปรับให้ทันสมัน ต้องพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตลอด
2. ผู้อ่านแต่ละคนได้หนังสือที่ตนจะอ่าน2. ยอมรับการสื่อสารความรู้ในทุกรูปแบบ เนื่องจากมีการสื่อสารที่หลากหลายบรรณารักษ์ต้องพัฒนาและจัดหาให้ผู้ใช้
3. หนังสือทุกเล่มมีผู้อ่าน3. ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดเพื่อเสริมสร้างบริการโดยให้บริการผู้ใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ในปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนคนก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วยดังนั้นผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศไดทุกที่ ทุกเวลา
4. ประหยัดเวลาของผู้อ่าน4. เปิดเสรีในการเข้าถึงความรู้ กล่าวคือมีการทำCatalog เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศตามที่ต้องการ โดยไม่กีดกั้นหรือแบ่งแยกผู้ใช้จึงทำให้เกิด Open Access คือจะไม่ต้องการให้พ่อค้าอยู่เหนืออำนาจห้องสมุดต้องเปิดให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จะเปิดเสรีในการเข้าถึงทั้งภายในและภายนอก
5. ห้องสมุดเป็นสถาบันที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง5. เคารพรับสิ่งที่ผ่านมาและสร้างอนาคตห้องสมุดต้องมีการพัฒนาตลอดเวลา และอนุรักษ์ ทำนุ บำรุง รักษา หนังสือเก่า นำมาปรับปรุงใหม่ให้น่าใช้
ประเภทงานบริการห้องสมุด
1.  บริการพื้นฐาน
1.1      บริการผู้อ่าน
1.2      บริการยืม – คืน
1.2.1   การตรวจสอบและบริการจอง
1.2.2   บริการหนังสือสำรอง
2.  บริการอ้างอิงและสารสนเทศ เป็นบริการที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศได้
2.1  บริการสารสนเทศ จะเป็นบริการตอบคำถาม หรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น บริการยืมระหว่างห้องสมุดบริการจัดส่งเอกสาร บริการทำสำเนา บริการข่าวสารทันสมัย  บริการตอบคำถาม  บริการจัดทำดรรชนีและสาระสังเขปบริการรวบรวมบรรณานุกรม บริการการแปล บริการค้นสารสนเทศออนไลน์ บริการยืมระหว่างห้องสมุด และบริการชี้แนะแหล่งข้อมูล เป็นต้น
2.2   บริการสอนการใช้ เป็นบริการที่สอนการใช้ ทักษะการใช้เทคโนลียีสารสนเทศ เช่น บริการสอนแนะนำเฉพาะบุคคล เป็นบริการสอนแนะนำการใช้และการค้นคว้า และให้บริการเป็นกลุ่มเป็นบริการที่ทางห้องสมุดจัดบุคลากรนำชมห้องสมุด บริการสอน แนะนำการใช้เครื่องมือการค้น และบริการสอนการค้นคว้า
2.3   บริการแนะนำ เป็นบริการเสริมที่ช่วยเหลือผู้ใช้ เช่นบริการแนะนำการอ่าน บริการการอ่านบำบัด บริการปรึกษาแนะนำทำรายงาน และบริการแนะนำและช่วยการวิจัย เป็นบริการหลักที่เข้ามาในห้องสมุด เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นทางด้านการวิจัย ดังนั้นห้องสมุดต้องมีการปรับเปลี่ยน และจัดบริการเพื่อสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยทันที
3.   บริการเฉพาะกลุ่ม จะเน้นบริการกลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่มด้อยโอกาส กลุ่มเด็ก กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น
อาคารห้องสมุด
การจัดพื้นที่ห้องสมุด และอาคารห้องมุดในแง่หลักการตลาด โดยห้องสมุดจะยึดความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก ดังนี้
  1. อาคาร
    1.1  ต้องโดดเด่น เป็นที่เชิดหน้าชูตา
    1.2  อาคารห้องสมุดจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
2. ป้าย สัญลักษณ์
ลักษณะภายในและภายนอกของอาคารต้องมีป้าย สัญลักษณ์ที่บ่งบอกที่ชัดเจน  ซึ่งภายในจะแสดงป้ายเกี่ยวกับงานบริการต่างๆ ของห้องสมุด และภายนอกบางห้องสมุดมีการจัดป้ายประชาสัมพันธ์ หรือข่าวสารของห้องสมุดเป็นที่สะดุดตาให้ผู้คนได้เกิดความน่าสนใจ
3.  คำคม
ห้องสมุดจัดให้มีคำคมติดตามขอบชั้นวางหนังสือ ภายในตัวอาคาร
ห้องสมุด The Mafia
ที่มา : http://707043wallaya.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น