วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิชาสารสนเทศท้องถิ่นเรียนอะไร – สำคัญหรือไม่


http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2011/06/libcamp_vimaporn.png
การบรรยายเริ่มจากเรื่องของการศึกษาวิชาสารสนเทศท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
ซึ่งวิชานี้ ถือว่าเป็นวิชาเอกบังคับของนิสิตภาคบรรณฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีเลยก็ว่าได้
ทำไมถึงต้องเป็นวิชาเอกบังคับ (เด็กเอกบรรณฯ ต้องเรียน)
- เกิดจากการปรับเปลี่ยนหลักสูตรของภาควิชาและจุดเน้นของคณะที่ต้องการผลิตบัณฑิตที่เข้าใจและสามารถจัดการข้อมูลท้องถิ่นได้ นอกจากนี้ทางภาควิชาได้คาดหวังในเรื่องของการค้นคว้าหาข้อมูลที่อยู่ในท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ และรักษาประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนในพื้นที่ด้วย
ประวัติความเป็นมาของวิชานี้ - ภาคบรรณฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีเปิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 (นานใช่มั้ยหล่ะครับ)  และแต่เดิมวิชานี้ถือว่าเป็นวิชาเลือกของเอกบรรณฯ เท่านั้น แต่พอมีการปรับหลักสูตรใหม่ในปี พ.ศ. 2551 จึงเห็นควรให้วิชานี้เปลี่ยนสถานะเป็นวิชาเอกบังคับ โดยเพิ่มเริ่มเรียนเป็นวิชาเอกบังคับครั้งแรกเมื่อเทอมที่แล้วนี้เอง (ปล. ประวัติของภาควิชานี้อ่านได้จาก http://www.libis.ubru.ac.th/history.php)

๑๑
หลักสูตรการเรียนการสอนในวิชานี้เทอมนึงก็จะมี 16 สัปดาห์ โดยนักศึกษาจะได้เรียนในหัวข้อต่างๆ เช่น
- พื้นฐานความรู้ของเรื่องสารสนเทศท้องถิ่น (ค้นได้จากไหนบ้าง มีที่มาอย่างไร)
-
แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น (เน้นที่ข้อมูลจากตัวบุคคล)
-
การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
-
การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่น
-
โจทย์งานศึกษาข้อมูลในท้องถิ่นของตนเอง (2-3 สัปดาห์)
-
นำเสนอผลงานสารสนเทศท้องถิ่นที่ได้ไปค้นคว้า
-
การเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่น
เพื่อให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ อาจารย์จึงได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องการทำฐานข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่นด้วย การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการ รวบรวม และค้นหาทำให้สารสนเทศท้องถิ่นมีการพัฒนาต่ออย่างยั่งยืน
อีกเรื่องที่นักศึกษาจะต้องเข้าใจและเรียนรู้ คือ การทำเครือข่ายสารสนเทศท้องถิ่น (ใครมีดีอะไรเราต้องรู้จัดนำมาใช้)
หลังจากที่บรรยายเรื่องการศึกษาไปส่วนหนึ่งแล้ว วิทยากรทั้งสองจึงขอเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นในชุมชน ซึ่งสรุปข้อมูลได้ว่า
- มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับอุบลฯ ค่อนข้างน้อย
-
ชาวบ้านไม่ค่อยให้ความร่วมมือในเรื่องการรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นเนื่องจากกลัวคนอื่น copy ผลงาน
-
ในแง่คิดของรัฐเราอยากให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ ในแง่คิดของชาวบ้านกลัวคนลอกเลียนแบบ
-
ภูมิปัญญาบางอย่างมันคงอยู่ในชีวิตประจำวันจนทำให้ชาวบ้านลืมเก็บสั่งสมองค์ความรู้
-
กศน มีโครงงานที่เกี่ยวกับอาชีพในท้องถิ่นมากมาย น่าจะนำมาทำเป็นคลังความรู้ได้
ทำไมต้องเรียน
- สร้างความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง
-
แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่หลากหลายและคงอยู่กับคนในชุมชน

ที่มา

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น