วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์


บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์



บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ในวันนี้ จะเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของประชาชนทั่วไปและผู้เรียนได้อย่างแท้จริง แค่ไหน ต้องใช้ปัจจัยอะไรบ้าง
คำถามนี้ หากจะตอบตรงๆ ก็ต้องทราบก่อนว่า  การเรียนรู้ของประชาชนทั่วไป กับผู้เรียนนั้น แตกต่างกันมาก ทั้งรูปแบบของการค้นคว้า และข้อสงสัยของผู้ใช้บริการเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่หยุดนิ่ง ห้องสมุดและบรรณารักษ์ ที่ใช้เครื่องมือดังกล่าว ก็ต้องคิดค้นเลือกสรรหาเครื่องมือ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และลดภาระงานบริการประจำ ที่ต้องทำด้วยมือ มาเป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้นเท่าที่ทรัพยากรจะมีได้หากจะรวบรวมหน้าที่ของห้องสมุด หรือหน้าที่ของบรรณารักษ์ ทั้งหมดมาประมวลไว้ที่นี้ ก็จะมากความไป จึงใคร่ขอยกเอาแต่เรื่องที่เด่นๆ มานำเสนอไว้ เพื่อให้เกิดความคิดที่อาจนำไปต่อยอดได้ต่อไปบริการที่เด่นของห้องสมุด คือการเก็บหนังสือเก่าที่มีค่าต่อการอ้างอิงไว้ได้ ไม่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีการจัดหาหนังสือใหม่ๆ เข้ามาให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ( เช่น หอสมุดแห่งชาติ)แต่ถ้าจะยกภาระหน้าที่นี้ มาให้กับห้องสมุดสมัยใหม่หรือห้องสมุดอิเลคทรอนิกส์ ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะห้องสมุดเหล่านี้  อาจเป็นห้องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบเครือข่าย ไม่มีที่เก็บกระดาษหรือหนังสือ มีแต่ข้อมูลดิจิตอลและแหล่งเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และโปรแกรมให้บริการต่างๆ ทั้งสืบค้น เรียกดู และเชื่อมโยงกับห้องสมุดอื่นๆ ที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันตลอดเวลา โดยไม่ต้องมีบรรณารักษ์มานั่งประจำ แหล่งที่เก็บหนังสือเก่าที่มีค่า ก็จะเหลือเพียงไฟล์รูปภาพแต่ละหน้าของหนังสือเก่าที่ท่านสามารถขออ่านได้จากที่บ้าน ถ้าเจ้าของหนังสือเล่มนั้นๆ เขายอมให้ห้องสมุดเก่า ที่มีต้นฉบับ นำไปสแกนเผยแพร่หรือสำเนาเก็บไว้อ้างอิงได้ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้อย่างไร  คำตอบคือ เมื่อมีคำถาม และคำตอบ รวมทั้งมีการจัดการความรู้ ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย สืบค้นง่าย และใช้ภาษาเดียวกันในปี พ.ศ. 2556 นี้ มีห้องสมุดใหม่ๆ  เกิดขึ้นหลายรูปแบบ และหลากหลาย ทั่วโลก แต่การเข้าถึง กลับมีวิธีเดียว คือการสืบค้นผ่าน search engine และการเข้าเป็นสมาชิกที่ต้องมี รหัสผ่านและมีค่าใช้จ่ายห้องสมุดที่เป็นระบบปิด จะมีข้อจำกัดคือ มีผู้เข้าดูและใช้บริการได้เฉพาะสมาชิก หากไม่ตอบสนองความต้องการใหม่ๆของสมาชิกได้ ก็จะถูกลืมไปในที่สุด  แต่ห้องสมุด ที่มีจุดเด่น คือ ฟรี เปิดให้บริการคนทุกรูปแบบทุกวัย จะเป็นชุมชนที่มีคนเข้ามาเยี่ยมเยียนตลอดเวลา และมีคนมาตั้งคำถาม คำตอบ นั่นคือวัตถุประสงค์หลักของการจัดการความรู้ต่อคำถามสุดท้าย ที่ถามถึง ห้องสมุดประชาชนกับห้องสมุดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย  ว่าควรจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรนั้น  คำตอบคือ ความแตกต่างกันในด้านขีดความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ต้องการของผู้มาใช้บริการและความสะดวก รวดเร็วขงการให้บริการ

ที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/515661

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น