วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ


joomla-dev_cycle.png
















โครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
     สืบเนื่องจากการที่ห้องสมุดในประเทศไทยเริ่มก้าวสู่การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติอย่างเป็นรูปธรรมในช่วง พ . ศ . 2530 – 2531 โดยมีห้องสมุดประมาณ 20 แห่ง โดยแต่ละแห่งได้จัดทำฐานข้อมูลบรรณานุกรมของห้องสมุด ซึ่งส่วนใหญ่จัดทำบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ และใช้โปรแกรม Micro CDS/ISIS ซึ่งยูเนสโกให้ใช้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ต่อมาในปี พ . ศ .2533 ไอดีพีได้จัดซื้อและติดตั้งโปรแกรมระบบห้องสมุดสำเร็จรูปให้กับสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ ระบบ SEA-URICA โดยใช้ระบบการจัดทำรายการสืบค้น และระบบการสืบค้นสารสนเทศแบบออนไลน์ ระบบ URICA ถือเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบแรกที่นำเข้าสู่วงการห้องสมุดอัตโนมัติของประเทศไทย ต่อมามีห้องสมุดมหาวิทยาลัยหลายแห่งจัดซื้อระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำเร็จรูปซึ่งพัฒนาโดยบริษัทในต่างประเทศมาใช้ ตัวอย่างเช่น ระบบ DYNIX TINLIB INNOPAC หรือ C2 เป็นต้น ในการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติดังกล่าว นอกจากจะใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ระบบห้องสมุดอัตโนมัติแล้ว ห้องสมุดจะต้องจัดสรรงบประมาณสำหรับเป็นค่าบำรุงรักษาระบบอย่างต่อเนื่องทุกปี รวมทุกห้องสมุดแล้วไม่น้อยกว่าปีละ 30 ล้านบาท นับเป็นงบประมาณจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะคงภาวะเช่นนี้อีกนานหากห้องสมุดต่างๆ ยังไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า  
     สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อให้สถาบันการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการใช้งาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ห้องสมุดอัตโนมัติ และค่าบำรุงรักษา ให้กับมหาวิทยาลัย/สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และเพื่อรองรับการขยายตัวของ วิทยาลัยต่างๆ โรงเรียน และหน่วยงานอื่น ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมนี้ ได้มีมหาวิทยาลัย/สถาบัน ขอเสนอโครงการเข้าร่วมพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ประกอบด้วย
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ใช้ .NET
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ใช้ JAVA 
  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยใช้ .NET  
ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับมหาวิทยาลัย/สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาลัยต่างๆ และสถาบันการศึกษาอื่น ได้ใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่เป็นของคนไทยพัฒนาขึ้นเอง และเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อระบบใหม่ และบำรุงรักษา โดยที่ความสะดวกสบายไม่แตกต่างกันมาก และเป็นการยกระดับความพร้อมของห้องสมุดในการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างไร้ข้อจำกัด อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาทางวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศโดยรวม

ที่มาจาก http://www.thailis.or.th/index.php?option=com_content&view=category&id=40&Itemid=38

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น