วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

9 สิ่งที่บรรณารักษ์ควรรู้


9 สิ่งที่บรรณารักษ์ควรรู้

   *
     ยุคปัจจุบัน ถือกันว่าเป็นยุคแห่งสังคมสารสนเทศ ที่ข้อมูล ข่าวสารมีมากมายหลากหลาย ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งในรูปที่จับต้องได้เช่น หนังสือ วีดีโอ เทปเสียง ภาพถ่าย แผนที่ และที่เป็นดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ท  ฐานข้อมูล ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เกิดขึ้นทุกวัน วันละมากๆ มีทั้งคุณภาพ และด้อยคุณภาพ บางครั้งมีระเบียบแบบแผน บางทีก็กระจัดกระจายไม่เป็นระบบ ทั้งๆที่ข้อมูลเหล่านี้มีคุณค่าต่อการตัดสินใจ ในชีวิตประจำวัน การศึกษาวิจัย และการดำเนินธุรกิจ แต่บางครั้งเราก็ไม่สามารถนำเอาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ดังนั้น บรรณารักษ์ (Librarian) และนักสารสนเทศ (Information Specialist) จึงเป็นวิชาชีพ หรือ อาชีพ ที่ทำหน้าที่ในด้านการจัดการข้อมูลข่าวสารให้เกิดระบบ ตั้งแต่การแสวงหาสารสนเทศ การจัดเก็บ การนำออกมาใช้และการให้บริการ
    บรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ นอกจากมีความรู้ในตำราวิชาชีพแล้ว ยังมีสิ่งต่าง ๆ ที่ควรรู้เพื่อประสิทธิภาพในการให้บริการมุ่งเน้นให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุดดังต่อไปนี้
        1. Pay attention (เอาใจใส่) บรรณารักษ์ควรมีความเอาใจใส่และสนใจกับคำถามของผู้มาใช้บริการ
        2. Read far and wide (อ่านให้เยอะและอ่านให้กว้าง) บรรณารักษ์ต้องรู้จักศาสตร์ต่างๆ รอบตัวให้ได้มากที่สุด
        3. Understand copyright (เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์)
เรื่องลิขสิทธิ์ถึงแม้ว่าตัวเรื่องจริงๆ จะเกี่ยวกับกฎหมาย แต่มีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุดโดยตรงในเรื่องของการเผยแพร่สารสนเทศต่างๆ
       4. Work and Play (ทำงานกับเล่น)
        บรรณารักษ์ต้องรู้จักการประยุกต์การทำงานให้ ผู้ทำงานด้วยหรือผู้ใช้บริการรู้สึกสนุกสนานกับงานไปด้วย เช่น อาจมีการจัดกิจกรรมภายในห้องสมุด เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีร่วมกัน
       5. Manage yourself (จัดการชีวิตตัวเอง)
      บรรณารักษ์นอกจากต้องจัดการห้องสมุดแล้ว ต้องจัดการระเบียบชีวิตของตัวเอง ก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
        6. Avoid technolust (ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี)
       บรรณารักษ์ต้องไม่อ้างว่าไม่รู้จักเทคโนโลยีโน้น หรือเทคโนโลยีนี้ บรรณารักษ์ต้องหัดใช้เทคโนโลยีให้ได้เบื้องต้น (เป็นอย่างน้อย) เช่น การใช้ Internet ในการสืบค้นข้อมูล การใช้โปรแกรมห้องสมุด โปรแกรม Microsoft Office ฯลฯ
        7. Listen to the seasoned librarians (รับฟังความคิดเห็นของบรรณารักษ์ด้วยกัน)
      อย่างน้อยการรับฟังแบบง่ายๆ ก็คือ คุยกับเพื่อนร่วมงานดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ในการบริการ บรรณารักษ์ต้องช่วยเหลือกัน อย่างต่อมานั่นก็คือ การอ่านบล็อกของบรรณารักษ์ด้วยกันบ้าง บางทีไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ขอให้ได้ฟังความคิดเห็นกันบ้าง
    8. Remember the Big Picture (จดจำภาพใหญ่)
   ภาพใหญ่ในที่นี้ ไม่ใช่รูปภาพแต่เป็นมุมมองของความเป็นบรรณารักษ์ เช่นมุมมองของบรรณารักษ์ต้องพร้อมให้บริการข้อมูล หรือสารสนเทศต่าง ๆ แก่ผู้มาใช้บริการ อุดมการณ์บรรณารักษ์ ที่มุ่งเน้นให้ผู้มาใช้บริการได้รับข้อมูลตรงตามความต้องการ  จรรยาบรรณและสิ่งต่างๆ ที่จะช่วยเราให้คิดถึงความเป็นบรรณารักษ์
      9. Service Mind (มีหัวใจให้บริการ)
   การมีหัวใจให้บริการ เป็นสิ่งที่สำคัญ บรรณารักษ์ ต้องมีความกระตือรือร้นต่อการให้บริการ รวมทั้งการยิ้มแย้มแจ่มใส การให้การต้อนรับด้วยไมตรีจิตที่ดี
   บรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ หากนำสิ่งที่บรรณารักษ์ควรรู้ทั้ง 9 ข้อมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน จะส่งผลให้เป็นบรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ ที่ดี มีคุณภาพ

ที่มา : http://kmlite.wordpress.com/2010/03/19/v3i2-09/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น