วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

1. Not everything is available on the internet
อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีทุกอย่าง – แม้ ว่าข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะมีมหาศาลเพียงใด แต่ในบางเรื่องเราก็ไม่สามารถค้นบนอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เอกสารทางด้านปะวัติศาสตร์ หรือหนังสือเก่าๆ บางเล่มที่เราอยากอ่าน แต่ก็ไม่สามารถค้นได้ในอินเทอร์เน็ต


2. Digital libraries are not the internet
ห้องสมุดดิจิทัลไม่ใช่อินเทอร์เน็ต – อัน นี้เกิดจากความเข้าใจผิดของคนบางกลุ่มที่บอกว่า อินเทอร์เน็ตคือห้องสมุดดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเด็นนี้เค้าเปรียบเทียบว่าบนอินเทอร์เน็ตมีการจัดเก็บ Web Sources แต่ห้องสมุดดิจิทัลมีการจัดเก็บแบบ Online Collections


3. The internet isn’t free
หนังสือบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ฟรีอย่างที่คิด – ใน บางครั้งที่เราเข้าไปดูคลังหนังสือออนไลน์ที่บอกว่าฟรี ไม่เสียค่าบริการ ความเป็นจริงแล้วเว็บเหล่านี้ฟรีเฉพาะเอาหนังสือมาฝากไว้บนเว็บให้คนอื่น โหลด แต่คนที่โหลดหนังสือเหล่านี้นั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบกับเรื่องความใช้จ่าย ในการดาวน์โหลด ยกตัวอย่างเช่น Project Gutenberg ที่รวบรวมหนังสือมากมายไว้ แต่พอจะดาวน์โหลดก็ต้องเสียเงินอยู่ดี


4. The internet complements libraries, but it doesn’t replace them
อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของห้องสมุดที่ควรจะมี แต่ก็ไม่สามารถแทนที่ได้ สาเหตุคล้ายๆ ข้อ 2 เพราะว่าสารสนเทศที่จัดเก็บเป็นคนละรูปแบบ เช่น ความจริง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
5. School Libraries and Librarians Improve Student Test Scores
ห้องสมุดทางการศึกษาและบรรณารักษ์ที่ ทำงานในห้องสมุด ทางการศึกษามีส่วนช่วยให้เด็กเรียนดีขึ้น – อันนี้ได้มาจากการศึกษากรณีตัวอย่างเรื่องการใช้ห้องสมุดเพื่อพัฒนาการศึกษา ของ Illinois School Libraries


6. Digitization Doesn’t Mean Destruction
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ได้หมายความว่าจะต้องลด ภาระงาน – มี กรณีศึกษาเกี่ยวกับ Google Book Search ที่ทาง google เองในช่วงแรกพัฒนาเองแต่ก็เกิดความผิดพลาดหลายส่วน จนต้องดึงห้องสมุดหลายๆ ที่เพื่อเข้ามาปรับปรุงและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการสืบค้นสารสนเทศ เนื่องจาก google มีความชำนาญเรื่องการใช้โปรแกรมในการค้นหาเว็บ แต่ในกรณีหนังสือ Google Book Search นั่นเอง


7. In fact, digitization means survival
ความเป็นจริงแล้วการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลจะเน้นไปใน ความหมายของการรักษาสารสนเทศให้อยู่ได้นาน – มี กรณีศึกษาจากเรื่อง libraries destroyed by Hurricane Katrina เนื่องจากห้องสมุดแห่งนี้ถูกทำลายโดยภัยธรรมชาติซึ่งแน่นอนว่าห้ามกันไม่ได้ ดังนั้นจากข้อ 6 ความหมายที่แท้จริงของการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลจึงหมายถึงการช่วย ชีวิตสารสนเทศไว้นั่นเอง เพราะถ้าข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเกิดภัยอะไรก็ตามข้อมูลก็จะดำรงคงอยู่ไม่ถูกทำลายง่ายๆ แน่นอน


8. Digitization is going to take a while. A long while.
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลใช้เวลาปรับนิดเดียวแต่ยาว นาน – เหมือน ขัดๆ กันอยู่ใช่มั้ยครับ จริงๆ แล้วอยากที่รู้ว่าการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ยากครับก็คือการสแกนตัว หนังสือลงไปในคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เวลานิดเดียว แต่จำนวนของหนังสือที่มีมากมายมหาศาล ดังนั้นการปรับข้อมูลทุกอย่างให้เป็นดิจิทัลคงต้องใช้เวลาหลายสิบปีเลยครับ


9. Libraries aren’t just books
ห้องสมุดไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสืออย่างเดียว – ใน ห้องสมุดไม่ได้มีสารสนเทศประเภทหนังสือเพียงอย่างเดียวนะครับ ความรู้ในการประกอบวิชาชีพ ทักษะในการทำงาน บริการตอบคำถาม เหล่านี้ถือว่าเป็นสารสนเทศที่มีคุณค่าอีกลักษณะหนึ่ง ลองนกภาพตามนะครับว่า ความรู้จากตำรา กับความรู้จากทักษะอย่างไหนน่าจะช่วยเพื่อนๆ ในการทำงานมากกว่ากัน เอาตัวอย่างใกล้ตัวดีกว่า เช่นหนังสือตำราเรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น กับบล็อกนี้แล้วกัน อิอิ

10. Mobile devices aren’t the end of books, or libraries
อุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ได้เป็นจุดที่สิ้นสุดของหนังสือ และห้องสมุด – เนื่อง จากอุปกรณ์พวกนี้ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เช่น มีคือ kindle ของ amazon สามารถดู E-book ได้ก็จริง แต่อุปกรณ์เหล่านี้มีข้อจำกัด เช่น ราคา, เวลาในการใช้งาน, หนังสือที่ต้องโหลดเข้ามา, และอื่นๆ อีกมากมาย เห็นมั้ยหล่ะครับ อุปกรณ์พวกนี้ไม่สามารถแทนห้องสมุดได้ยังไง


11. The hype might really just be hype
การผสมผสานมันก็แค่ผสมผสาน – มี การพูดถึงความเป็น paper book กับ E-book ว่าโลกนี้จะไม่มี paper book คงไม่ได้เพราะว่าคนยังเคยชินกับความรู้สึกในการใช้กระดาษมากกว่าการใช้ อุปกรณ์ตัวเล็กไว้สำหรับอ่าน ดังนั้นหากทั้งสองสามารถรวมกันได้ ก็ควรจะรวมกัน ไม่ใช่ว่าพอ E-book มาก็ยกเลิก paper book ทิ้ง มันก็อาจจะทำให้ดูไม่ดีก็ได้


12. Library attendance isn’t falling – it’s just more virtual now
การเข้าใช้ห้องสมุดไม่ได้มียอดที่ลดลง แต่มีการเข้าใช้ทางเว็บไซต์ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันการศึกษา


13. Like businesses, digital libraries still need human staffing
เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ ห้องสมุดดิจิทัลก็ยังคงต้องใช้คนในการจัดการและดำเนินงานอยู่ดี


14. We just can’t count on physical libraries disappearing
เราไม่สามารถนับจำนวนการสูญเสียของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดทางกายภาพได้ – เพราะ เนื่องจากการปรับเปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์ทางกายภาพเป็นสานสนเทศดิจิทัลมมี ค่าเท่ากัน ดังนั้นการที่ห้องสมุดสูญเสียหนังสือที่เป็นเล่ม แต่ได้มาซึ่งสารสนเทศดิจิตอลจึงเป็นสิ่งที่แทนกันได้ และไม่ได้เรียกว่าสูญเสีย

15. Google Book Search “don’t work”
แค่หัวข้อคงไม่ต้องบรรยายแล้วหล่ะครับ ตรงไปตรงมาดี เพราะว่า Google Book Search ทำงานไม่ดีพอ


16. Physical libraries can adapt to cultural change
ห้องสมุดที่เป็นกายภาพสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้


17. Physical libraries are adapting to cultural change
จากข้อ 16 เมื่อสามารถทำได้ ดังนั้นห้องสมุดทางกายภาพจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการตลอดเวลา เพื่อ ปรับตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรม


18. Eliminating libraries would cut short an important process of cultural evolution
การที่เรากำจัดห้องสมุดถือว่าเป็นการตัดกระบวนการทางสังคมออก – ห้อง สมุดถือว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมในการศึกษาและ วัฒนธรรมแห่งความรู้ ดังนั้นการตัดความสำคัญของห้องสมุดก็เท่ากับว่าเราตัดความสำคัญทางการศึกษา ออกด้วย


19. The internet isn’t DIY
อินเทอร์เน็ตไม่ใช่คุณเองก็ทำได้ – ต้อง ยอมรับอย่างนึงว่าอินเทอร์เน็ตเกิดเพราะคุณ แต่เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเราไม่สามารถกำหนดหรือสั่งการมันได้ เช่น search engine ที่มันทำงานได้เพราะว่าโปรแกรมในบางครั้งการค้นหาที่มีความหมายแบบขั้นลึก โปรแกรมก็ไม่สามารถค้นหาให้ได้เหมือนกัน เอาตรงๆ ก็คือ เวลาค้นกับ search engine มันจะได้คำตอบตรงๆ และตายตัว อยากรู้อย่างอื่นเพิ่มเติมก็ต้องค้นใหม่ แต่ถ้าเป็นบรรณารักษ์ในการตอบคำถาม คำตอบที่ได้มาจะเน้นไปในแนวทางความรู้สึกซึ่งผู้ใช้สามารถค้นได้ง่ายกว่า


20. Wisdom of crowds is untrustworthy, because of the tipping point
ความรอบรู้ของอินเทอร์เน็ตยังไว้ใจไม่ได้ เนื่องจากการแพร่กระจายอาจจะนำมาซึ่งภาวะของข่าวลือ


21. Librarians are the irreplaceable counterparts to web moderators
บรรณารักษ์ไม่สามารถเปลี่ยนจากคนนั่ง counter เป็น web moderators – ถึงแม้ว่าห้องสมุดจะกลายเป็นห้องสมุดดิจิทัลแต่ก็ต้องมีบรรณารักษ์คอยจัดการ content เนื้อหาอยู่ดี

22. Unlike moderators, librarians must straddle the line between libraries and the internet
บรรณารักษ์เป็นคนช่วยประสานช่องหว่างระหว่างห้องสมุดกับอินเทอร์เน็ตครับ


23. The internet is a mess
อินเทอร์เน็ตคือความยุ่งเหยิง – ครับแน่นอนว่าอินเทอร์เน็ตคงไม่มานั่งจัดหมวดหมู่ หรือ หัวเรื่องเหมือนห้องสมุดหรอกครับ อิอิ


24. The internet is subject to manipulation
อินเทอร์เน็ตมีหัวเรื่องที่เกิดจากการผสมผสานหลากหลาย วิธี นึงใน web 2.0 ก็คือ การใช้ Tag clould เข้ามากำหนดความนิยมของหัวเรื่อง ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการ spam tag กันมากขึ้นจึงทำให้เนื้อหาที่ได้มาบางครั้งไม่ตรงกับจุดประสงค์ของเรา


25. Libraries’ collections employ a well-formulated system of citation
ห้องสมุดมีระบบการจัดการที่เป็นระบบมากกว่าบนอินเทอร์เน็ต จาก 2 ข้อด้านบน คงพิสูจน์แล้ว


26. It can be hard to isolate concise information on the internet
มันยากที่จะแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกจากกันในอินเทอร์เน็ต สังเกต ได้จากแต่ละเว็บไซต์จะมีการเชื่อมโยงจนบางครั้งข้อมูลในหลากหลายมาก เกินไป จนเราไม่สามารถที่จะพิจารณาว่าจะเชื่อข้อมูลจากที่ไหน


27. Libraries can preserve the book experience
ห้องสมุดสามารถอนุรักษ์หนังสือได้อย่างมีประสบการณ์ช่ำชอง อันนี้คงไม่มีใครเถียงนะครับ แต่อย่างที่เคยเขียนไปคือห้องสมุดอาจจะเปลี่ยนบทบาทเป็นพิพิธภัณฑ์หนังสือก็ ได้


28. Libraries are stable while the web is transient
ห้องสมุดเป็นอะไรที่เก็บข้อมูลได้มั่นคง แต่อินเทอร์เน็ตเก็บอะไรชั่วคราว – เห็นด้วยนะครับเพราะว่าบางครั้งพอเราค้นอะไรในอินเทอร์เน็ตวันนี้อาจจะเจอ แต่พอวันรุ่งขึ้นผลการค้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง


29. Libraries can be surprisingly helpful for news collections and archives
ห้องสมุดสามารถสร้างประโยชน์ในการสร้าง collection ใหม่ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ – ความ สามารถดังกล่าวมาจากห้องสมุดเฉพาะ เพราะว่าห้องสมุดเหล่านี้จะเน้น collection พิเศษที่เกี่ยวกับตัวเอง รวมถึงถ้า collection นั้นยังไม่มีห้องสมุดไหนเคยทำ องค์กรที่เกี่ยวข้องก็จะสนับสนุนในการจัดการห้องสมุดสาขาวิชานั้นๆ
30. Not everyone has access to the internet
ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น การติดต่อในอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อ, จุดกระจายสัญญาณเครือข่าย, สถานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต


31. Not everyone can afford books
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีหนังสือ – อธิบาย ง่ายๆ ว่า บางคนก็ไม่สามารถเป็นเจ้าของหนังสือได้ ดังนั้นแล้วคนเหล่านั้นจะอ่านความรู้ต่างๆ ได้อย่างไร ห้องสมุดจึงเป็นตัวช่วยให้คนสามารถเป็นเจ้าของหนงสือได้ร่วมกัน


32. Libraries are a stopgap to anti-intellectualism
ห้องสมุดช่วยหยุดช่องว่างของความไม่มีความรู้ – พูดง่ายๆ ว่าห้องสมุดช่วยสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า


33. Old books are valuable
ใน ยุคที่ใกล้เข้าสู่โลกดิจิทัล เกิดไอเดียใหม่สำหรับห้องสมุด นั่นก็คือ พิพิธภัณฑ์หนังสือ(book museum) เพราะว่าหนังสือรุ่นใหม่ๆ จะอยู่ในรูปดิจิทัล ส่วนหนังสือเก่าที่ทรงคุณค่าก็เก็บไว้ใส่พิพิธภัณฑ์แทน



แหล่่งที่มา
http://arcm.rmu.ac.th/kmcorner/?p=758
Posted by Nuntnapas on 15/ตุลาคม/2012 in ชุมชนบรรณารักษ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น