วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ห้องสมุดในยุคปัจจุบันเป็นมากกว่าที่อ่านหนังสือ

 ห้องสมุดแต่แรกเริ่มนั้นเป็นเสมือนที่จัดเก็บหนังสือ มีบรรณารักษ์เป็นผู้จัดการดูแล บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์นี้ค่อน
ข้างจำกัดอยู่เฉพาะในวงวิชาการเท่านั้น ภาพบรรณารักษ์ในใจของผู้ใช้บริการคือคุณป้าดุ ๆ ไว้ผมมวย สวมแว่นตาหนาเตอะ และมักพูดจาไม่
ค่อยเข้าใจ

             แต่ในปัจจุบันห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์และบทบาทใหม่แล้ว เนื่องจากโลก ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่าง
รวดเร็ว ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารทำให้โลกแคบลง คนมีความต้องการในการบริโภคสารสนเทศในการดำรงชีวิตประจำ
วันมากขึ้น ห้องสมุดและบรรณารักษ์จึงต้องเปลี่ยนแปลงตนเองให้ทันยุคทันเหตุการณ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการให้รวดเร็ว
และตรงตามความต้องการ โดยห้องสมุดจะต้องมีความทันสมัย บรรณารักษ์จะต้องเป็นที่รอบรู้ รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ ทันสมัย พร้อมที่
จะช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้บริการตลอดเวลา ด้วยบุคลิกภาพที่ทันสมัย ยิ้มแย้ม และเป็นมิตร
 
 ลักษณะของห้องสมุดยุคใหม่ในบทบาทของห้อง
สมุดอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

1. มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ
เทคโนโลยีการสื่อสาร เข้ามาเกี่ยวข้องในการ
ดำเนิน งานของห้องสมุดทั้งในด้านกระบวนการทำ
งาน และ ด้านการบริการผู้ใช้

2. มีระบบโปรแกรมอัตโนมัติในการจัดการงานด้าน
ต่าง ๆ ของห้องสมุด ได้แก่ งานจัดหา
งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ งานบริการยืม -
คืน งานสืบค้นข้อมูล และ งานด้านวารสาร

3. มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอล
ได้แก่ ข้อมูลที่เป็น ตัวอักษร รูปภาพ เสียง และ
ภาพเคลื่อนไหว โดยจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบฐาน
ข้อมูล ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการ
ข้อมูลผ่านเครือข่าย

4. มีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อมูล การจัดเก็บ การค้นหา และการเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่าย (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2545 : 95 )

5. มีการให้บริการข้อมูลในลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกัน ผู้ใช้สามารถที่จะเปิดอ่านข้อมูลพร้อมๆ กัน ได้ในเวลาเดียวกัน ต่างสถานที่กัน โดย
ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

6. ผู้ใช้สามารถที่จะใช้ข้อมูลได้โดยตรง เป็นเนื้อหาเต็มรูปแบบ โดยไม่ต้องมาที่อาคาร ห้องสมุด เนื่องจากสามารถเปิดอ่านได้โดย ผ่าน
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

อาจอง กีระพันธ์ (อ้างถึงใน วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ, 2543) ได้กล่าวถึงบรรณารักษ์ในปัจจุบันว่าต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นตัวกลางหรือสื่อกลาง ที่จะทำให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกด้วยการ เป็นผู้จัดระบบอย่างดีไว้ให้ผู้ใช้
2. เป็นเหมือนครูแนะแนวการอ่าน หรือ แนะนำวิธีการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบแก้ปัญหาได้ อย่างถูกต้อง
3. เป็นแพทย์ หรือ พยาบาลที่ช่วยขจัดปัญหา หรือ รักษาผู้ใช้ที่ต้องการความรู้ในทุกรูปแบบ
4. เป็นภัณฑรักษ์ ที่อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ และเผยแพร่วัฒนธรรมอันเป็นสมบัติ ทางสติปัญญาของมนุษย์ให้กระจายไป เป็นการ
สืบทอดสู่คนรุ่นใหม่

สืบเนื่องจากห้องสมุดมีการพัฒนาไปตามสภาพปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศของโลกยุคข่าวสาร บรรณารักษ์จึง
ต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนี้
1. เป็นนักจัดการ บรรณารักษ์ต้องมีความรู้ในด้านการจัดการ การคัดเลือกข้อมูลที่เหมาะสม ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
2. เป็นผู้ให้คำปรึกษา บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากข้อมูลในยุคสารสนเทศมีเป็นจำนวนมาก
จึงต้องมีการแนะนำแหล่งใช้บริการข้อมูลที่ทันสมัยแก่ผู้ใช้บริการ
3. เป็นผู้ให้คำแนะนำ บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้แนะนำการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะต้องมีการแนะนำวิธีการใช้ การสืบค้นข้อมูล เป็นต้น
4. เป็นนักบริหาร บรรณารักษ์ต้องรู้จักบริหารห้องสมุดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ที่ผู้ใช้นึกถึงเป็นอันดับแรกในการเข้าใช้ เนื่องจากในปัจจุบัน
มีสถานที่ต่าง ๆ มากมายที่เป็นแหล่งดึงดูดความสนใจของผู้คนให้ไปเข้าใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า แหล่งท่องเที่ยวต่างๆซึ่งผู้ใช้
บริการนอกจากจะได้รับความเพลิดเพลินแล้ว ยัง ได้รับความรู้อีกด้วย เช่น ห้างสรรพสินค้าบางแห่งมีการจัดห้องสมุดไว้ในภาย เช่น TK Park
อุทยานการเรียนรู้ ณ เซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า ชั้น 6 หรือ อุทยานสัตว์น้ำ Siam Ocean World ที่สยามพารากอน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าสถานที่
เหล่านี้ ดึงดูดความสนใจของผู้คนได้ ไม่น้อย ดังนั้นห้องสมุดซึ่งเป็นสถานที่หนึ่ง ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการให้ความรู้ จะต้องมีการบริหารจัด
การให้ห้องสมุด มีความแตกต่างไปจากเดิม ให้ทัศนคติเกี่ยวกับห้องสมุด จากที่เคยเป็นแหล่งวิชาการล้วนๆ เป็นแหล่งที่ใช้สำหรับการ
ศึกษาค้นคว้าเท่านั้น ให้เปลี่ยนไปในรูปแบบที่ผู้ใช้เกิดความรู้สึกว่า การได้เข้าไปใช้ห้องสมุด ก็ได้รับความรู้ และ ความบันเทิง ไม่แพ้ห้าง
สรรพสินค้า หรือ แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ โดยบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารจัดการให้ห้องสมุด กลายเป็นห้องสมุดมีชีวิต ขึ้นมา
5. มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ บรรณารักษ์ต้องรู้จักใช้เครื่องมือ และสารสนเทศทุกรูปแบบโดยเฉพาะสื่อในรูปแบบอิเล็ก
ทรอนิกส์ และนำมาให้บริการแก่ผู้ใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับโลกยุคพัฒนาไร้พรมแดน ซึ่งเป็นโลกข่าวสารที่บรรณารักษ์ จะต้องเสนอให้แก่ผู้ใช้
ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และมีความทันสมัย
6. เป็นนักวิจัย และประเมินผลงาน บรรณารักษ์ ไม่มีหน้าที่บริการเท่านั้น จำเป็นต้องเป็นนักวิจัยด้วย เพื่อจะได้นำผลวิจัยมาปรับปรุง แก้ไข
เปลี่ยนแปลงงานให้ทันสมัย และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ตลอดจนรู้จักประเมินผลงาน ทั้งส่วนตัวและของผู้ร่วมงานเพื่อการพัฒนา
งานให้มีคุณภาพ (วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ, 2543 : 4)
7. เป็นนักพัฒนา บรรณารักษ์ ต้องมีการพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ใฝ่หาความรู้ตลอด เวลา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รวมถึงการ
พัฒนาตนเองให้มีทักษะในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงาน ให้ทันต่อโลกที่มี
การเปลี่ยนแปลงไป
8. เป็นนักการตลาด บทบาทของบรรณารักษ์ในปัจจุบันจะต้อง เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการให้ บริการเชิงรุก แทนการตอบสนองผู้ใช้ในเชิงรับ
โดยบรรณารักษ์จะต้องรู้ความต้องการของผู้ใช้ ว่า ผู้ใช้ต้องการอะไร แล้วดำเนินการจัดหามาให้บริการแก่ผู้ใช้ และกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการ
ใช้บริการ เพื่อให้ห้องสมุด เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญที่อยู่ในใจของผู้ใช้เสมอ
9. เป็นนักบูรณการ บรรณารักษ์ต้องมีความสามารถในการนำความรู้มาผสมผสานกับระบบ เทคโนโลยี และนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิด
ประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด

ผู้เขียนได้อ่านบทความจากเว็บไซต์ http://www.bunnarak.com/ index.php? topic =82.0 เรื่อง “Ten Rules for the New
Librarians“.... ข้อปฏิบัติ 10 ข้อเพื่อการเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่” แล้วเกิดความประทับใจเป็นอย่าง อยากนำมาฝากให้อ่านกัน ซึ่งมีราย
ละเอียดดังนี้
1. Ask questions (ตั้งคำถาม) ในขณะที่ถูกสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ อย่าให้คนสัมภาษณ์ถามเราอย่างเดียว บรรณารักษ์ยุคใหม่ควร
จะต้องรู้เรื่องของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น ถามคำถามว่าตอนนี้ห้องสมุดมีโครงการไอทีมากน้อยเพียงใด และมีแผนนโยบายของห้องสมุดเป็น
อย่างไร
2. Pay attention (เอาใจใส่) แล้วก็เวลาสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ ก็ขอให้มีความเอาใจใส่และสนใจกับคำถาม ที่คนสัมภาษณ์ถาม
ด้วยไม่ใช่ยิงคำถามอย่างเดียว ในการเอาใจใส่นี้อาจจะแทรกความคิดเห็นของเราลงไปในคำถามด้วย
3. Read far and wide (อ่านให้เยอะและอ่านให้กว้าง) แน่นอน บรรณารักษ์เราต้องรู้จักศาสตร์ต่างๆ รอบตัวให้ได้มากที่สุด
4. Understand copyright (เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์) เรื่องลิขสิทธิ์ถึงแม้ว่าตัวเรื่องจริงๆ จะเกี่ยวกับกฎหมาย แต่มันมีความเกี่ยวข้องกับ
ห้องสมุด โดยตรงในเรื่องของการเผยแพร่สารสนเทศต่างๆ
5. Use the 2.0 tools (ใช้เครื่องมือ 2.0) ตรงๆ เลยก็คือการนำเอา web 2.0 มาประยุกต์ใช้กับการให้บริหารในห้องสมุด หรือบาง
คนอาจจะ เคยได้ยินเรื่อง library 2.0 ก็ว่างั้นแหละ ตัวอย่างของการเอาเครื่องมือด้าน 2.0 ลองอ่านจากบทความ “10 วิธีที่ห้องสมุดนำ
RSS ไปใช้“
6. Work and Play (ทำงานกับเล่น) อธิบายง่ายๆ ว่าทำงานอย่างมีความสุข บรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างน้อยต้องรู้จักการประยุกต์การทำ
งานให้ ผู้ทำงานด้วยรู้สึกสนุกสนานกับงานไปด้วย เช่น อาจจะมีการแข่งขันในการให้บริการกัน หรือประกวดอะไรกันภายในห้องสมุดก็ได้
7. Manage yourself (จัดการชีวิตตัวเอง) บางคนอาจจะบอกว่าทำไมบรรณารักษ์ต้องทำโน่นทำนี่ “ฉันไม่มีเวลาหรอก” จริงๆ แล้ว
ไม่ใช่ว่าไม่มีเวลาหรอก แต่เพราะว่าเขาไม่จัดการระเบียบชีวิตของตัวเอง ดังนั้นพอมีงานจุกจิกมาก็มักจะบอก ว่าไม่มีเวลา ดังนั้นบรรณารักษ์
ยุคใหม่นอกจากต้องจัดการห้องสมุดแล้ว การจัดการตัวเองก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
8. Avoid technolust (ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี) ห้ามอ้างว่าไม่รู้จักเทคโนโลยีโน้น หรือเทคโนโลยีนี้ บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้อง
หัดใช้เทคโนโลยีให้ได้เบื้องต้น (เป็นอย่างน้อย)
9. Listen to the seasoned librarians (รับฟังความคิดเห็นของบรรณารักษ์ด้วยกัน) อย่างน้อยการรับฟังแบบง่าย ๆ ก็คือ คุย
กับเพื่อนร่วมงานดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ในการบริการ บรรณารักษ์ต้องช่วยเหลือกัน อย่างต่อมานั่นก็คือ การอ่านบล็อกของบรรณารักษ์ด้วย
กันบ้าง บางทีไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ขอให้ได้ฟังความคิดเห็นกันบ้าง
10. Remember the Big Picture (จดจำภาพใหญ่) ภาพใหญ่ในที่นี้ ไม่ใช่รูปภาพนะแต่เป็นมุมมองของความเป็นบรรณารักษ์
อุดมการณ์บรรณารักษ์ จรรยาบรรณและสิ่งต่างๆ ที่จะช่วยเราให้คิดถึงความเป็นบรรณารักษ์


               เห็นไหมว่าการจะเป็นบรรณารักษ์ในยุคปัจจุบันนั้นค่อนข้างลำบาก จากความเจริญก้าวหน้าของโลกที่ดำเนินต่อเนื่องไปอย่าง
ไม่หยุดนิ่ง ส่งผลให้ห้องสมุดในฐานะแหล่งความรู้สาธารณะที่สำคัญแห่งหนึ่ง ต้องมีการพัฒนา ปรับเปลี่ยน เพื่อให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลง
ซึ่งในปัจจุบันห้องสมุดได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการดำเนินงานของ
ห้องสมุด เพื่อให้กระบวนการทำงานลดความซ้ำซ้อนลง มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น มีการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบใหม่
ที่อยู่ในรูปของดิจิตอล โดยผู้ ใช้สามารถที่จะเรียกใช้ข้อมูลได้โดยตรงเนื้อหาเต็มรูปแบบ โดยไม่ต้องมาที่อาคารของห้องสมุด เป็นต้น นอก
จากนี้บรรณารักษ์ผู้ทำงานในห้องสมุด ก็ต้องมีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อที่จะให้
คำปรึกษา คำแนะนำแก่ผู้ใช้ ให้ผู้ใช้ได้สิ่งที่ต้องการมากที่สุด ซึ่งห้องสมุดจะเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งในโลกของยุคเทคโนโลยี
สารสนเทศก็จะต้องมีการพัฒนาไปพร้อมกันทั้งระบบงานของห้องสมุดและตัว บรรณารักษ์เอง

               สำหรับผู้เขียนเองมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมประจำปีของ สมาคมบรรณารักษ์รัฐสภาเอเชีย – แปซิฟิก หรือ IFLA
(International Federation of Library Associations and Institutions) มาหลายครั้ง ซึ่งในปี 2010 นี้ได้จัดขึ้น ณ กรุงสตอกโฮล์ม
(Stockholm) และเมืองโกเธนเบิร์ก (Gothenberg) ราชอาณาจักรสวีเดน (Sweden) ระหว่างวันที่ 4 – 17 สิงหาคม 2553 ทำให้ได้พบ
เห็นว่าห้องสมุดนั้นเป็นมากกว่าที่อ่านหนังสือจริง ๆ

               รัฐบาลของเขาให้ความสำคัญต่อการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) เป็นอย่างมาก ห้องสมุดประชาชนของเขาเป็น
ทุกอย่างให้กับประชาชนอย่างอย่างแท้จริง คนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าใช้ประโยชน์จากห้องสมุด จากในภาพที่นำมาให้ดู จะเห็นได้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองนำลูกหลานไปใช้เวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกันในห้องสมุดประชาชน มีการจัดมุมไว้สำหรับเด็กและพ่อแม่ผู้ปกครองโดยเฉพาะ
เพื่อค้นคว้าหาความรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน มีเครื่องอำนวยความสะดวกไว้ให้อย่างครบครัน มีที่สำหรับให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อน ที่ตกแต่ง
ไว้อย่างสวยงานเหมือนในเทพนิยาย ทำให้เด็กมีความรู้สึกผ่อนคลาย เกิดการเรียนรู้และความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

               สำหรับผู้สูงอายุนั้น ห้องสมุดเป็นเหมือนแหล่งนัดพบ ทำให้มีโอกาสได้มาเจอะเจอและร่วมดื่มกาแฟ รับประทานอาหารว่าง พูด
คุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้อ่านหนังสือพิมพ์ หรือวารสารที่ตนเองชอบและสนใจ มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่ห้อง
สมุดจัดให้ ทำให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นไม่รู้สึกเหงาหรือว้าเหว่ สำหรับประชานที่อยู่ห่างไกลออกไปหรือไม่มีโอกาสได้เข้าไปใช้
ห้องสมุดประชาชน ก็มีโอกาสที่จะได้ใช้บริการจากห้องสมุดเคลื่อนที่ ซึ่งได้จัดสลับสับเปลี่ยนกันไปในทุกพื้นที่ ตามเวลาที่ได้กำหนดไว้
ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์สำหรับการประกอบอาชีพ
เช่น เกษตรกร สามารถที่จะมาค้นคว้าหาข้อมูลเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาที่ไม่ซับซ้อนได้โดยไม่ต้องพึ่งพาหน่วยงานของ
รัฐบาล นอกจากนี้แม่บ้านที่ไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านยังสามารถหาความรู้ความบันเทิงได้ เช่น มีตำราอาหารต่างๆ นวนิยาย หรือ
วารสาร เป็นต้น 

ที่มา  http://www.librarianmagazine.com/VOL4/NO2/07.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น